พลังเสียงภาคประชาสังคม


การทำงานด้วยจิตอาสา ไม่หวังผลประโยชน์แอบแฝง เป็นกระบอกเสียงภาคพลเมือง

บันทึกการเรียนรู้(Topic7)

                               แบ่งบันความรู้ โดย..ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์  เกษสมบรูณ์  หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน มข.
               เก็บออมความรู้โดย..เกศรา  แสนศิริทวีสุข                       นักศึกษา มข.สาขาพัฒนาสุขภาพชุมชน 2.1

                บนความซับซ้อนของวิกฤตการณ์ทางสังคม การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการปฏิรูป เพื่อพยายามลดช่องว่างต่างๆในบริการทางสังคม และการพัฒนาประชาธิปไตย ที่อนุญาตให้มีการแสดงออกโดยเสรี จึงก่อให้เกิดแนวคิดการทำงาน
ภาคประชาสังคม( Civil Society: CS) หรือ NGO เดิม 
                               CS หมายถึง การที่ผู้คนในสังคมมองเห็นปัญหาของสังคมและมีจิตสำนึกร่วมกัน มารวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือองค์กร เพื่อร่วมกันแก้ปัญหา หรือ กระทำการบางอย่างให้บรรลุวัตถุประสงค์  ศ.นพ.ประเวศ วะสี นับเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการจุดประกายการคิดที่มุ่งเน้นไปที่การจะทำอย่างไรที่จะเกื้อหนุนให้ภาคสังคมหรือภาคประชาชนมีความเข้มแข็งและเกิดดุลภาพทางสังคมขึ้น ที่เรียกว่าเป็น "สังคมสมานุภาพ" และในการที่ประชาสังคมจะเข้มแข็งได้ ต้องมีรากฐานจากการมีชุมชนที่
หลากหลายและเข้มแข็งด้วย
                               การทำงานของ CSO (Civil Society Organization) เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศที่พัฒนาแล้วสัดส่วนของ CSO จะสูงโดยเฉพาะที่เนเธอแลนด์(การศึกษาของ Johns Hopkins) ส่วนในแถบเอเชียของเรามี CSO ที่เป็นมูลนิธิที่รู้จักกันทั่วโลก คือ TZU CHI  ก่อตั้งโดยท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยน  ด้วยหลักการ “สอนคนรวย ช่วยคนจน” เพราะผู้ยากไร้ขาดวัตถุปัจจัยในการ
ครองชีพ ส่วนผู้มั่งมีขาดอาหารทางใจ มูลนิธินี้เน้นบริการชุมชน โดยเฉพาะด้านการแพทย์ การศึกษา และการบรรเทาสาธารณภัย เช่น เหตุการณ์สึนามิในบ้านเรา มูลนิธินี้เป็นแห่งแรกที่มาถึงและกลับออกไปหลังสุด  มีการทำงานแบบจิตอาสา มีผลงานต่างๆมากมาย เช่น การสร้าง รพ. รร.  ฯลฯ  มีสาขาและสมาชิกอยู่ทั่วโลกเกือบ 100 ล้านคน ถือเป็นตัวอย่างที่ดีขององค์กรที่ไม่มุ่งหวังผลกำไร  สำหรับมูลนิธิและองค์กรในไทยมีมากมาย แต่ขอยกตัวอย่างเฉพาะที่เป็นโครงการ ในพระอุปถัมภ์  เช่นมูลนิธิสายใจไทย  มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล  มูลนิธิอานันทมหิดล มูลนิธิเด็กโรคหัวใจ  มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก  ฯลฯ ส่วนในแวดวงของชาวระบาดวิทยาก็คงรู้จักมูลนิธิของท่านอาจารย์.สุชาติ เจตนเสน ผู้ก่อตั้งสำนักระบาดวิทยาและที่ปรึกษากรมควบคุมโรค ที่ถือเป็นมูลนิธิหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนานักระบาดไทย
                               การทำงานด้วยจิตอาสา ไม่หวังผลประโยชน์แอบแฝง เป็นกระบอกเสียงภาคพลเมือง มีการจัดเวทีสาธารณะ
ท่ามกลางความสมานฉันท์ เอื้ออาทรต่อกัน ภายใต้ระบบจัดการที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย จะไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคของการเติบโตภาคประชาสังคม และความเข้มแข็งของ CSO คือความเข้มแข็งของประเทศและของประชาธิปไตย

หมายเลขบันทึก: 278633เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2009 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 11:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

การทำงานด้วยจิตใจแน่วแน่ โดยมีความหวังดีไม่คิดแอบแฝงผลประโยชน์ ย่อมเกิดการพัฒนา แต่ไทยเราจะมีสักกี่คนที่จะคิดสร้างประโยชน์โดยมีจิตอาสา

-คงต้องบอกว่าหายากในสังคมปัจจุบันคนที่เสียสละโดยที่ไม่ต้องการผลตอบแทนแอบแฝงต้องมีบ้างในใจลึกๆไม่มากก็น้อย อันดับแรกคิดก่อนเพื่อใคร ผลประโยชน์ที่ได้ มากน้อยเท่า กำไรหรือขาดทุน แต่ก็มีไม่น้อยที่ทำแล้วไม่ต้องการอะไร ไม่มีผลประโยชน์ ทำแล้วเกิดความสบายใจ มีความสุขใจในสิ่งที่ทำ เพื่อเพื่อนมนุษย์ที่ด้อยกว่า ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ไม่มีที่พึ่ง หาทางออกไม่ได้ ขอยกย่องมูลนิธิที่ทำคุณประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ร่วมชาติที่ทำด้วยจิตบริสุทธิ

ขอบคุณนะคะทุกท่านที่เข้ามาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นที่มีประโยชน์

เกศรา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท