ตาเหลิม
นาย วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์

สมอง 2 ซีก


เรามีศักยภาพไม่ได้ทำอะไรได้ด้านเดียว หรือสิ่งเดียวเสมอไปหรอกนะเฟ้ย

.

.

คนเรามีสมองกันอยู่สองซีกครับทุกท่าน อันนี้คงทราบกันอยู่บ้าง  นั่นก็คือ ซีกซาย ซีกขวา โดยแบ่งออกเป็นหลายส่วน ส่วนหน้า ส่วนกลาง ส่วนหลัง  เรียกกันด้วยชื่อประหลาดๆ (ที่ผมเองก็จำไม่ได้เท่าไหร่ ฮ่าๆ)

 

พอมันมีสองซีก เราก็จะเรียกมันเป็นซีกซ้าย แล้วก็ซีกขวาครับ

สมองซีกขวา จะควบคุมการทำงานของร่างกายซีกซ้าย

สมองซีกซ้าย จะควบคุมการทำงานของร่างกายซีกขวา

ผมก็งง เหมือนกันครับ ทำไมสมองเราไม่ควบคุมร่างกายซีกเดียวกับสมองของเราเอง  สงสัยจะบอกเป็นนัยว่า เรามีศักยภาพไม่ได้ทำอะไรได้ด้านเดียว หรือสิ่งเดียวเสมอไปหรอกนะเฟ้ย ...

เอาละครับ ไอ้สมอง(เจ้าก้อนไขมันเนี่ย) จะมีไยประสาทเชื่อมอยู่จำนวนมากมายมหาศาลบานตะไท  เพื่อให้สมองทั้งสองส่วนรับรู้การทำงานซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ ถึงแม้มันจะเชื่อมกัน  แต่สมองทั้งสองซีกจะมีการทำงานที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัด โดยที่

สมองซีกซ้าย เป็นส่วนของการควบคุมการคิด ตรรกะ มีการทำงานออกเป็นรูปธรรม เช่น การคิดเลข การบอกเวลา การนับจำนวน การสรรหาถ้อยคำ การหาเหตุผล เป็นต้น

สมองซีกขวา เป็นส่วนที่จะทำหน้าที่การจินตนาการ การสร้างสรรค์ ความฝัน ความคิดใหม่ๆ แปลกๆ การซึมซาบในดนตรี และศิลปะ เป็นต้น และการที่คนเราสามารถคิดอะไรใหม่ๆ สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้นั้น เกิดจากการของสมองซีกขวานี่เองครับ

เมื่อสมองซีกขวาทำงาน สมองซีกซ้ายจะรับหน้าที่แสดงผลการทำงานออกมาให้คนอื่นเห็น เท่นะเนี่ย ...  


 

สิ่งที่สมองทั้งสองส่วนเหมือนกัน คือ การรับรู้ความเป็นไปภายนอก จะรับรู้ว่าไผเป็นไผ ไผเป็นจังได๋ ผ่านอวัยวะรับรู้ทางประสาทชุดเดียวกัน (เช่น แก้วตา จะรับสะท้อนของโฟตอนเข้าแก้วตา ปรับเปลี่ยนเป็นคลื่นส่งต่อเข้าสมอง อะไรอย่างงี้ มันทำงานเร็วมากเนาะ)  แต่สมองทำงานต่างกันอย่างมากกกกก ก็คือ ในขณะที่สมองซีกซ้ายกำลังทำหน้าที่พูดคุย ใช้เหตุผลต่างๆ สมองซีกขวาก็จะกำลังทำหน้าที่จินตนาการต่างๆ โดยไม่มีการคำนึงถึงกาลเวลา (ถึงว่าบางทีเวลาคุยเพลินๆ เรามักจะลืมเวลาเสมอๆ)

ยังไงซะ สมองทั้งสองด้านควรได้รับการพัฒนาให้เท่าเทียมกัน (ขนาดคนเรายังเท่าเทียมกัน ไม่ถูกแบ่งแยกด้วยสีผิว ฐานะ การศึกษา อาชีพ ศาสนา วัฒนธรรม-สิทธิมนุษชนพื้นฐาน)

แต่ แต่ แต่ การศึกษาของประเทศของผมนี่เน้นการพัฒนาด้านเดียวครับพี่น้อง ... ซึ่งจากที่ทุกท่านทราบกันดีอยู่คงพอจะบอกได้ว่าการจัดการศึกษาส่วนใหญ่ให้กับเด็กในทุกวันนี้ มักมุ่งไปที่การพัฒนาสมองซีกซ้าย เป็นส่วนใหญ่ เด็กต้องท่องจำ เป็นนกแก้วนกขุนทอง(ร้องวู๊) คิดเลขชุดเป็นตับๆ เรียนรู้ด้วยการมีกฎเกณฑ์ ระเบียบ แบบแผน(อย่างมาก) เรียนรู้ภาษา วิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งไอ้เรื่องพวกนี้ เป็นเรื่องของสมองซีกซ้ายทั้งน๊าน ขณะที่สมองซีกขวา ไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควรจะได้รับ

การศึกษาส่วนใหญ่ เท่าที่ทราบและสอบถามจากเยาวชนจำนวนมาก พบว่า ยังมีครูจำนวนมาก ที่เน้นการเรียนการสอนแบบเอาครูเป็นศูนย์กลาง(ของจักรวาล) คำตอบที่ถูกต้อง ต้องมาจากครู หรือ มันต้องถูกแบบหนังสือเรียนเส่ะ จะมาถูกแบบอื่นไม่ได้ คำตอบแบบนี้ต้องคิดแบบนี้ แกคิดแบบอื่นไม่ได้ ผิดนะเฟ้ย เป็นต้น และนั่น ไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียน เด็กนักเรียน ได้มีโอกาสคิดหาคำตอบใดๆ ที่แตกต่างไปจากคำตอบเหล่านี้ ไม่มีการฝึกสงสัย ฝึกคิดและตั้งคำถาม คำตอบที่ถูกที่ต้องมาแบบเดียว... น่ากลัวมาก

การเรียนแบบนี้นี่เอง ที่เป็นการปิดกั้นสมองและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กๆ ทำให้เด็กเกิดความกลัวในการคิดหาคำตอบใหม่ๆ ทั้งๆ ที่คำตอบเหล่านั้นอาจเป็นคำตอบที่ถูกต้องก็ได้ ... ในสภาพการเรียนการสอน และการเรียนรู้ในลักษณะนี้  สมองซีกขวาของเด็ก อาจถูกทำลายไปอย่างสิ้นเชิง (ทำไมต้องสิ้นเชิง ถ้าผมใช้คำว่า สมองซีกขวาอาจถูกทำลายอย่างบัดซบ หรือว่า ถูกทำลายอย่างเลวร้ายที่สุด หรือว่า  ถูกทำลายอย่างไร้ที่ติ จะให้ความหมายที่เปลี่ยนไปต่อท่านผู้อ่านอย่างไร ..อิ อิ)

เด็กๆ น่ะนะ ในช่วง 0-6 ปีเป็นวัยแห่งความคิดฝันจินตนาการ สมองซีกขวาจะได้รับการพัฒนาอย่างมีนัยยะสำคัญ(อย่างมาก) ในช่วงอายุนี้ เด็กในวัยนี้ควรได้รับการพัฒนา และกระตุ้นการพัฒนาของสมองซีกขวาอย่างเต็มที่ (อย่างสุดซึ้ง, อย่างเยอะ) โดยการส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ความคิด จินตนาการของตัวเค้าเอง โดยอย่าลืมว่า การพัฒนาควรมาอย่างเท่าเทียม ในสมองทั้งสองซีก

อาจทำได้โดย เปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษาจากระบบที่เป็นอยู่ เป็นระบบที่ให้เด็กมีอิสระทางความคิด การค้นหาคำตอบมากขึ้น การพัฒนาสมองซีกขวาอาจทำได้โดยการสอนให้เด็กมีกิจกรรมเกี่ยวกับการคิด การจินตนาการ เช่น การเล่านิทาน หาการ์ตูนภาพมาเล่าให้ฟัง การแสดงละคร การเล่นกิจกรรมกับเพื่อน การเล่นที่เหมาะสม (ดูได้จาก PQ - Play Quotient ) การเล่นกีฬา ดนตรี และศิลปะ (วาดรูป วาดเขียน ประดิษฐ์สิ่งของ) เป็นต้น

งานวิจัยตั้งเยอะแยะ ก็บอกว่า เด็กๆ ไม่ควรถูกกีดกันจากนิยาย และนิทาน ทั้งหลาย ถ้าเด็กวัยนี้ถูกกีดกันจากนิยาย นิทาน พบว่าเด็กโตขึ้นมามักจะเป็นคนที่จิตใจไม่มั่นคง อ่อนไหวง่าย ... เพราะการฟังนิทานเด็กจะจินตนาการได้อย่างเต็มที่ และนิทานจะทำหน้าที่คล้ายกับความฝันของเด็กๆ ที่จะช่วยระบายความเก็บกดต่างๆ ในใจ ที่ได้ไม่สามารถได้รับการตอบสนองในชีวิตจริง (เอานิยายเป็นเครื่องระบายอารมณ์ ถึงว่าสิผู้ใหญ่หลายคนก็ติดนิยาย เพราะเอาไว้ระบายความอยากลึกๆ นี่เอง)

ดังนั้น ความรู้แขนงต่างๆ สามารถสอนเด็กได้โดยการชวนคิด ชวนฝัน พวกเด็กๆ จะสามารถเข้าใจความรู้ต่างๆ ได้ดีขึ้น ถ้าสามารถจินตนาการออกมาเป็นเรื่องราวได้ นอกจากการสร้างพัฒนาการโดยใช้นิทานแล้ว การเล่นต่างๆ ที่สมวัยก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้พัฒนาสมองซีกซ้ายของเด็กแรกเกิดถึง 6 ปีได้นะจ๊ะ

ต้องเข้าใจไว้ก่อนว่า เด็กและคนมีความเป็นตัวของตัวเอง มีความชอบ ไม่ชอบสิ่งต่างๆ ไม่เหมือนกัน ดังนั้น จะบอกว่าการเล่นแบบใด หรือของเล่นชนิดใดเหมาะกับเด็กวัยนี้ หรือเด็กคนนี้ คงบอกได้ลำบาก

คุณพ่อคุณแม่สำคัญสุด รองมาก็คุณครูที่โรงเรียน หรือผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ที่จะกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ และต้องอาศัยการสังเกตดูว่าเด็กชอบ ไม่ชอบอะไร ถนัดด้านไหน จากการแสดงออกของเด็กคนนั้นเอง

การเล่น การฝึกสมอง อ่านสามวันก็ไม่จบ เขียนสามปีก็ไม่หมด

แต่ที่สำคัญ ไอ้เราๆ ท่านๆ ที่เป็นผู้ใหญ่นี่แหละ ลองคิดย้อนไปสิว่า สมัยเด็กๆ น่ะ

เราเป็นยังไง

 

ลองทบทวนกันดู ...

 

เอ้า พวกเรา ไปอ่านนิทานกัน , ไปขี่จักรยานกันดีกว่า ฮ่าๆๆๆ   

.

.

.

หมายเลขบันทึก: 278996เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2009 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ

กอยังไม่ได้อ่านบันทึก

แต่มาถามคุณตาเหลิมว่า

คุณตาเหลิม ใช่คุณ Tar (ฮิห้า)?

ค่อยยังชั่วหน่อยค่ะ นึกว่าจะโดนพวกส่งไวรัสส่ะแล้ว อิอิ

ไม่เล่น ฮิห้าค่ะ

เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยค่ะ

ทุกวันนี้พี่ก็สอนเด็กอย่างนี้แหละค่ะ มันส์ทั้งคนเรียนทั้งคนสอน

  • แนวคิดนี้ดีมากเลยค่ะ
  • เราเรียนรู้จากการเล่นได้นะคะ
  • ขณะเดียวกันเราก็รู้สึกสนุกกับการเรียนได้เช่นกันค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะ
  • สุดสายป่าน ต้องเล่น ฮิห้า บ้างแล้วละ
  • แล้วจะรู้ว่ามันขำดี เจอเพื่อนเก่าเพียบเลย
  • Sila Phu-Chaya เรียนรู้จากการเล่น อย่างเป็นสุข
  • ยินดีที่เข้ามาเยี่ยมเหมือนกันครับ
  • ว่างๆ ต้องไปหาอะไรเล่นกันครับ
คุณครูแหม่มและคุณแม่น้องไออุ่น

ใช่ๆๆๆๆๆเลยค่ะเพราะตอนนี้สอนเด็กๆและลูกชายที่บ้านแบบว่าสุดๆเลยเอาหลักการบวกกับจินตนาการของเด็กคูณด้วยการเล่นหารด้วยความต้องการผลลัพธ์คือพัฒนาการที่ดีขึ้นของเด็กๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท