ถึงเวลาที่ PAR กับ CAR ควรเดินทางร่วมกันเพื่อพัฒนาคุณภาพของเด็กไทย


            ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับการวิจัยทางการศึกษา และเสวนาถึงรูปแบบการพัฒนาคุณภาพของนักศึกษาครู
ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยท้องถิ่นกับโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษา..โดยเฉพาะเรื่องของความร่วมมือในการทำวิจัย
            ซึ่งที่ผ่านมามักจะมีประเด็นคำถามที่พูดถึงมากก็คือ..ครูในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา  มีความจำเป็นต้องทำ
การวิจัยด้วยหรือ  ในเมื่อ  ครูเหล่านั้นอาจขาดองค์ความรู้ ขาดประสบการณ์ ไม่มีเวลาในการทำงานวิจัย..เพราะมีภาระการสอน
มากมาย..การทำงานวิจัยจึงเป็นการเพิ่มภาระงานให้กับครู...และอาจทำให้คุณภาพการสอนลดลง

           งานวิจัยควรเป็นหน้าที่ของอาจารย์มหาวิทยาลัย..ระดับอุดมศึกษา มากกว่า...ส่วนครูควรมีหน้าทีสอนแต่เพียงฝ่ายเดียว

            ในขณะที่นักการศึกษาส่วนใหญ่มีความคิดเห็นที่ต่างไปว่า..ครูต้องทำวิจัย โดยให้เหตุผลว่า  สังคมปัจจุบันเป็น
สังคมที่ใช้ความรู้เป็นฐาน ความรู้เป็นอาวุธที่จะนำพาชาติให้ก้าวหน้า..ครูเป็นผู้นำเยาวชนไปสู่ความรู้..ครูจึงต้องรู้และทำวิจัยเป็น
เพื่อได้มาซึ่งองค์ความรู้ที่มีคุณภาพ..สู่ผู้เรียน

           ผมเองก็มีความคิดเห็นว่า..ครอย่างเราต้องทำวิจัยเช่นกัน
           ทำวิจัยเพื่อ...รู้แจ้ง เห็นจริง ในสิ่งที่จะสอนหรือสอนไปแล้ว..ผิดก็จะได้พัฒนาหรือแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ 
           ทำวิจัยเพื่อ..พัฒนาหลักสูตร  พัฒนารูปแบบการสอน พัฒนาสื่อ ให้มีความรู้ ความเข้าใจผู้เรียน
  และชุมชน  เป็นหน้าที่
โดยตรงของครู  และเป็นส่วนหนึ่งกระบวนการเรียนการสอน

           งานวิจัยของครูควรเป็นงานวิจัยในชั้นเรียน ไม่ต้องหรูหรา เลิศลอยเหมือนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทหรือเอกในมหาวิทยาลัย แต่เป็นงานวิจัยที่มีคุณค่าต่อการปฏิบัติงาน เป็นข้อค้นพบ  ที่ผ่านการศึกษาอย่างมีระบบ..องค์ความรู้ที่ได้จะเป็นตัวอย่างที่เพื่อนครูบุคคลอื่นสามารถนำไปพัฒนาใช้กับชั้นเรียนของตนได้...ไม่ยากเกินเหตุจนครูทำไม่ได้

            นักวิชาการในมหาวิทยาลัยเวลามองงานวิจัยของครู  ต้องรู้และเข้าใจในข้อตกลงเรื่องนี้ด้วยจะได้เข้าใจครู  และเห็น
คุณค่าของงานวิจัยของครู..และที่สำคัญถ้าเป็นไปได้ควรลงมาทำงานวิจัยร่วมกับครู..
            คงหมดยุคของการเชิญวิทยากรจากมหาวิทยาลัย  มาบรรยายเรื่องการวิจัยกันแล้ว  ควรเป็นยุคที่อาจารย์มหาวิทยาลัย
กับครูทั้งหลายลงมาร่วมกันทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพของเด็กไทย...
            ทั้งนี้เพราะว่า...อาจารย์มหาวิทยาลัยมากมายด้วยประสบการณ์..แต่ขาดห้องทดลองคือ นักเรียน ในขณะที่ครูมีห้องทดลองที่มากมาย  แต่ขาดคนช่วยเหลือทางด้านวิชาการ..ร่วมมือทำงานกันได้ก็จะเกิดผลดีต่อการศึกษา

 

           ถึงเวลาแล้ว...ที่อาจารย์มหาวิทยาลัยหันมาทำ PAR (Participatory Action Research) วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับครู..ส่วนครูเองก็ทำ CAR (Classroom Action Research) เป็นการวิจัยในชั้นเรียน.

          เมื่อ PAR กับ CAR เดินหน้าไปด้วยกันอย่างพันธมิตรทางการศึกษา  คิดว่าถ้าทำได้การศึกษาไทยคงเดินหน้า
ไปได้ด้วยดี... แม้ว่าบางครั้ง PAR จะนำ CAR บ้างก็ไม่เป็นไร..ขอให้การวิจัยเติบโตก็แล้วกัน..

 

สนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางการศึกษาเพิ่มเติม ได้ที่

http://www.oknation.net/blog/krunoppol

 

หมายเลขบันทึก: 279596เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2009 23:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ครูถ้าไม่ทำวิจัย..แล้วรียนป.โท ป.เอก กันทำไม

แปลกแต่จริง เมื่อเรียนจบมาครูก็ไม่คิดจะทำวิจัย..

ต้องไปเชิญอาจารย์ที่สอนมาอบรมเรื่องวิจัย...

สืบข้อมูลดูจะพบว่า ครูไทยแต่ละคนอบรมเรื่องวิจัยไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง

ประเด็นที่ต้องถามก็คือ..อบรมและเรียนกันอย่างไร..ทำไมไม่มีการทำวิจัย.

มีครูด้วยเป็นจำนวนมากที่ดูถูกดูแคลนครูด้วยกันเอง

ครูในโรงเรียนอาจารย์เป็นวิทยากรหรือบรรยายอะไรจะมีครูในโรงเรียนฟังอย่างสนใจสักเท่าไร

แม้แต่การไปอบรม ประชุม ลงชื่อแล้วก็เร้นกายหายหน้าไปก้มีเยอะแยะไม่ใช่หรือครับ

ทำผลงานก็จ้าง

โรงเรียนที่มี คศ. ๓ คศ. ๔ เยอะๆ นักเรียนอ่านออกเขียนได้ คิดเลขคล่องเพิ่มขึ้นไหมครับ

นักเรียนเป้นคนดีเพิ่มขึ้นไหมครับ

นักเรียน.....

ครูกับงานวิจัย เป็นอะไรที่เกือบจะเรียกได้ว่า อยู่คนละขั้วกันมิใช่หรือครับ เป็นยาขมหม้อใหญ่กันเลยแหละครับ

ครูสอนอยู่โรงเรียนเป็นตั้งแต่ภารโรง เสมียน นักสงคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา......นัก...นัก..ชั่วโมงสอน

อาจารย์มหาวิทยาลัย ชั่วโมงสอนเท่าไรครับ ไม่ต้องเป็นภารโรงครับ ห้องพักมีคนทำความสะอาด เก็บ เช็ด

มีเสมียนพิมพ์งานให้

มันต่างกันมากครับ

มันมีช่องว่างมากครับทั้งระหว่างครูด้วยกันเอง ครูกับอาจารย์มหา'ลัย

ผมไม่ปฏิเสธว่างานวิจัยมีความจำเป็น งานวิจัยมันอยู่ในวิถีชีวิตของทุกคนครับ มันขึ้นอยู่กับว่าใครจะระลึกได้ว่าสิ่งที่ตนทำมันเป็นกระบวนการของการวิจัยหรือเปล่า สังคมไทยปฏิเสธอะไรที่ดีๆ แล้วเลือกเอาความสะดวกสบายเฉพาะหน้า(ซึ่งมันไม่ค่อยจะดีนัก-ความมักง่าย) แล้วก็ยึดถือปฏิบัติเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตจนเกิดความเคยชินก็มากมาย

ส่วนตัวผมขอยืนยันว่า "งานวิจัยเป็นกิจกรรมหนึ่งที่อยู่ในวิถีชิวิตของทุกคนทุกวัยและทุกอาชีพครับ"

เช่นเดียวกันครับอาจารย์ ผมขอบคุณอาจารย์ที่อย่างน้อยอาจารย์ก็เป็นตัวอย่างของครู นักวิจัย นักวิชาการ ขอบคุณ Go to know ขอบคุณเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผมได้มีโอกาสอ่านงานที่อาจารย์เขียน ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท