“โลกและวิทยาการ” หน่วยการเรียนรู้ประวัติศาสตร์กับงานวิจัยโดยใช้แหล่งวิทยาการภายในชุมชน


            การจัดการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เรื่อง “โลกและวิทยาการ” ของผมเป็นส่วนหนึ่งของวิชาพื้นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2551 ที่ผ่านมา
            เป็นหน่วยการเรียนที่มีความมุ่งหวังให้ผู้เรียนได้มีความรู้ความเข้าใจ  สามารถอธิบายและวิเคราะห์ถึงพัฒนาการทางด้านวิทยาการเทคโนโลยี  การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม   เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาสังคมไทย

            เพื่อให้บรรลุถึงผลการเรียนรู้ที่คาดหวังดังกล่าว  ผู้สอนได้ออกแบบการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ร่วมกับวิธีสอนแบบโครงงาน  และวิธีสอนที่ใช้แหล่งวิทยาการภายในชุมชน

            วิธีสอนแบบโครงงาน  เป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลาย ๆ สิ่งที่อยากรู้คำตอบให้ลึกซึ้งหรือเรียนรู้เรื่องนั้น ๆ ให้มากยิ่งขึ้นโดยใช้วิธีการที่ศึกษาอย่างมีระบบเป็นขั้นเป็นตอน  มีการวางแผนในการศึกษาอย่างละเอียด  ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้  จนได้ข้อสรุปหรือผลสรุปที่เป็นคำตอบในเรื่องนั้น ๆ การสอนแบบโครงงานจึงเป็นการสอน
ที่ฝึกให้นักเรียน คิด ทำ อย่างเป็นระบบ  เป็นงานวิจัยเล็ก ๆ ของนักเรียน  ฝึกกันบ่อย ๆ ย่อมพัฒนาไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม

ชิ้นสำคัญได้ในอนาคต

            สำหรับแหล่งวิทยาการภายในชุมชนนั้นภาษาอังกฤษใช้คำว่า Community Resource นั้น ในความหมายของนักวิชาการไทย ได้ให้นิยามไว้หลายคำ เช่น แหล่งความรู้  แหล่งความรู้ชุมชน แหล่งวิชาในชุมชน  แหล่งทรัพยากรในชุมชน  แหล่งการศึกษานอกโรงเรียน  เป็นต้น

            แหล่งวิทยาการภายในชุมชนในการศึกษาครั้งนี้  ได้แก่ หลักฐานทางด้านวัตถุ  เครื่องมือ  เครื่องใช้  หลักฐานจากคำบอกเล่าจากผู้รู้เห็นเหตุการณ์  รวมไปถึงเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมา  โดยนำมาใช้ประกอบกับการศึกษาข้อมูลทางด้านเอกสาร

            ผมมอบหมายให้นักเรียนศึกษาชุมชนของตน โดยใช้ชื่อกิจกรรมศึกษานวัตกรรมชุมชนกับนักวิจัยชุมชนรุ่นเยาว์  เป็นกิจกรรมวิจัยชุมชน ไปสืบไปค้นถึงการสะสมความรู้ของคนในชุมชน..การเกิด  การถ่ายทอด..การพัฒนา..และการสูญหาย เป็น
การศึกษานวัตกรรมเปรียบเทียบจากชุมชนต้นแม่น้ำเพชรที่สัมพันธ์กับป่า...ชุมชนกลางน้ำที่สัมพันธ์กับนาและการทำสวนสุดท้ายเป็นปลายน้ำที่สัมพันธ์กับนาเกลือและการประมง..

            สำหรับการประเมินผลการสอนหน่วยการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เรื่อง โลกและวิทยาการ ในครั้งนี้  ผมได้ใช้วิธีการประเมินแบบ The single group  posttest - only  design ไม่มีการวัดตัวแปรก่อนการทดลอง  เมื่อสอนเสร็จจึงทำการวัดผลเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้  จากการสอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน  5 ห้องเรียน  โดยกำหนดตัวแปรที่ใช้ศึกษาคือ คะแนนผลสัมฤทธิ์ผ่านเกณฑ์   โดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 80  จากคะแนนเต็ม  และนักเรียนมีเจตคติที่ดีเห็นต่อคุณค่าของการศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่น

              ผลการประเมินเป็นไปตามที่ได้ตั้งสมมติฐานไว้คือ  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด   และ
มีเจตคติต่อคุณค่าของการศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในเกณฑ์สูง
 

 

             เรื่องนี้เห็นทีเรื่องนี้จะยาวเสียแล้ว  คงต้องนำมาเสนอในตอนต่อไปครับ....

 

สนใจศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซ http://www.oknation.net/blog/krunoppol

หมายเลขบันทึก: 280180เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2009 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2012 08:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • แวะมาเรียนรู้ค่ะ
  • น่าสนใจมากค่ะ Community Resource

เข้ามาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมชม

สวัสดีค่ะ

ชื่นชมกิจกรรมศึกษานวัตกรรมชุมชนกับนักวิจัยชุมชนรุ่นเยาว์

ขอเป็นกำลังใจในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับนักเรียนค่ะ

ขอมีความสุขในการทำงานนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท