รู้มั้ยว่าทำไม open source ในเมืองไทยถึงไม่เกิดซะที!!


วันนี้มีเมล์ส่งมาโวยวายเรื่องหนึ่งซึ่งผมเองคิดว่าน่าจะต้องเกิดปัญหานี้อย่างแน่นอน เนื่องจากเว็บไซต์ Chantra ถูกเปลี่ยนมือมาให้คนที่ทำงานในสำนักงานดูแล และไม่มีความต่อเนื่องของเนื้อหาจากผู้ประกอบการ ฯลฯ จนทำให้ต้องมีการเปิดเว็บใหม่ที่ออกแนวทางการพัฒนา มากกว่าการให้ความรู้พื้นฐาน จนวันนี้มีคนส่งเมล์มาติง จั่วหัวว่า "รู้มั้ยว่าทำไม open source ในเมืองไทยถึงไม่เกิดซะที!!" ผมก็อ้ำอึ้งเพราะอ่านไปก้อรู้สึกเสียใจนิดๆ เนื่องจากเขาหาคำตอบไม่ได้ว่า "มีโปรแกรม open source ตัวไหนบ้าง ที่สามารถเปิดไฟล์ .dxf (AutoCAD)" จนกลายเป็นว่า

รู้มั้ยว่าทำไม open source ในเมืองไทยถึงไม่เกิดซะที เหตุผลหรือครับ .... ก็คือการไม่ได้ยืนอยู่ในมุมของ user ให้มากเท่าที่ควรจะเป็น นั่นเอง ขยายความได้ว่า ...

1. เว็บไซต์ของ จันทรา แท้ๆ แต่กลับไม่มีหน้าไหนเลยที่บอกว่าในชุดโปรแกรมนั้น มันมีโปรแกรมอะไรบ้าง (หรือถ้ามี มันก็ซุกไว้จนผมหาไม่เจอ)
2. ครั้นจะอีเมล์มาบอกผู้รับผิดชอบเว็บไซต์ ก็ดันไม่มีอีเมล์แอดเดรสซะอีก (ตรงส่วน blog ที่ต้อง register เพื่อเขียนข้อความนั้น ขอบอกเลยว่า คนส่วนน้อยเท่านั้นครับ ที่อยากจะ register) ซึ่งกว่าผมจะเจออีเมล์แอดเดรสของ anoochit ได้ ก็ต้องแกะเอามาจาก blog ที่เขียนไว้ในวันหนึ่งครับ

ก็หวังว่า ทีมงานจะปรับปรุงและ "มีมุมมองของ user" ให้มากยิ่งขึ้นนะครับ

ผมก็กำลังคิดว่าผมน่าจะเป็น user ที่ดี เช่น ซื้อซอฟต์แวร์ที่ถูกลิขสิทธิ์, ไม่ขโมยซอฟต์แวร์เขาใช้, ศึกษาหาความรู้ให้มากกว่านี้, เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส และ รู้จักใช้ Search Engine ให้เกิดประโยชน์มากกว่านี้ :)

 

คำสำคัญ (Tags): #open source
หมายเลขบันทึก: 281016เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2009 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ก็มันเป็นอย่างนี่ละผู้ใช้ ที่ไม่ค่อยจะไฝ่ หา สักแต่ใช้ ๆๆๆ อย่างเดียว โดยมีคนมาป้อนให้ อย่างนี้ไม่ค่อยโตแน่ (ส่วนใหญ่มักเป็นแบบนี้)

ผมคิดว่า ...

  • โดยเนื้อแท้ของ open source เป็นการอาสาเข้าช่วยกันทั่วโลก เข้าไปช่วยกันเขียนร่วมกัน ซึ่งมันจะยั่งยืนกว่า การมาสร้างขึ้นใหม่โดยคนไทย
  • คนไทยที่เขียนโปรแกรมเก่ง ๆ และมีใจเกินร้อย มีจำนวนไม่น้อยที่สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษไม่เก่ง จึงทำให้เข้าร่วมช่วยพัฒนาในระดับสากลลำบาก
  • เพราะฉะนั้น ผมคิดว่า สิ่งที่เราควรทำ และคิดว่าทำได้ดีด้วย คือ การไปช่วยเขาแปล open source เป็นภาษาไทย หรือใส่ภาษาไทยเข้าไปใน OS เหล่านั้น น่าจะดีกว่าการมาส่งเสริมพัฒนาขึ้นเป็นสัญชาติไทย ผมว่าทำให้สิ้นเปลือง และไม่ยั่งยืนครับ (ไม่คุ้ม) 
  • ขออภัยด้วยออกจากวงการมาหลายปี อาจตามไม่ทันโลกในหลาย ๆ เรื่อง ผมอาจวิเคราะห์ผิดก็ได้ ถือเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นะครับ

 

ที่กล่าวมาทั้งหมดคือ หลัก Usability ที่ทีมงาน UsableLabs กำลังพยายามผลักดันกันอย่างสุดความสามารถค่ะ

การทำให้ user friendly เป็นเรื่องที่สำคัญครับ แต่ก็ไม่ได้เป็นเรื่องง่ายเสียทีเดียว เพราะวัฒนธรรมคนไทย(กระมัง) ไม่ค่อยชอบเขียน รวมทั้งไม่ค่อยชอบอ่านด้วย

คนที่จะทำมาหากินด้วย open source ในเมืองไทยคงจะอยู่ได้ยาก เพราะคนไทยก็ไม่อยากจ่ายถ้าไม่ถูกบังคับ

Open source จะโตได้ก็ต้องอาศัยคนในองค์กรทั้งหลายช่วยกันพัฒนา โดยใช้เวลาส่วนหนึ่งของงาน เลือกพัฒนาหรือเข้าร่วมพัฒนา Software ที่เป็นประโยชน์กับองค์กร เช่น มหาวิทยาลัยอาจจะเลือกพัฒนา Moodle, Sakai,...

ห้องสมุดเข้าร่วมพัฒนา Open-ils, DSpace, EPrints, Koha เป็นต้น

ภาษาอังกฤษไม่ได้เป็นอุปสรรค แต่จะทำให้เราพัฒนาด้านภาษามากขึ้นถ้ายินดีใช้มันเป็นภาษาที่ 2 หรือ 3, 4, 5...

ขอบคุณทุกๆ ความเห็นครับ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท