TAP: ศิลปะการชื่นชมให้ผู้คนชอบท่าน ในทันทีเมื่อแรกพบ


ศิลปะการชื่นชมให้ "โดนใจ" ผู้ฟังเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญ ในการสร้างความสุขแต่ตนเองและผู้อื่น อีกทั้งเป็นพื้นฐานสำคัยของการเชื่อมสัมพันธ์อันดีจากใจถึงใจ

สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่เพิ่มคุณค่าชีวิตแก่ตนเองและผู้อื่นในชีวิตประจำวัน คือ ศิลปะการชื่นชมให้ “โดนใจ”ผู้ฟัง 

         การชื่นชมให้ โดนใจ ตนเอง ทำให้เกิดกำลังใจ เกิดการปลุกพลังชีวิตในตัวเองให้ตื่น !

         การชื่นชมให้ โดนใจ ผู้คน ทำให้ผู้คนเหล่านั้นเกิดความภาคภูมิใจ เบิกบาน และมีความสุขเพิ่มมากขึ้น !

         การชื่นชมให้ โดนใจ ลูกค้า มีผลสำคัญทำให้ขายความคิด ขายสินค้า หรือขายบริการได้รับความสำเร็จมากขึ้น !

         เคล็ดลับของศิลปะการแสดงความชื่นชมให้ โดนใจ นั้นคือการชมด้วย TAP !  ขออธิบายให้เข้าใจต่อไปว่า :

           T = Thing หมายถึงชมในสิ่งที่มีอยู่ติดตัวผู้ฟังนั้น เช่น เสื้อผ้า  หน้าตา  จมูก  ดวงตา  ใบหู  ปาก พึงระวังไปชมสิ่งที่เป็นของใช้ที่มิได้อยู่ติดตัวผู้ฟัง เพราะว่าขืนไปชมแล้วของสิ่งนั้นเกิดหายไปในระยะเวลาต่อมาอันใกล้  ผู้ชมอาจพบกับปัญหาขึ้นมาได้  ใช่ไหมครับ ?  ฯลฯ

           A = Achievement หมายถึงชมในความความสำเร็จที่เกิดขึ้นมากับผู้ฟังจริง ๆ อย่างมีนัยสำคัญ และชมตอนที่ผู้ฟังเพิ่มประสบความสำเร็จใหม่ ๆ สด ๆ มิใช่มาหลงชมตอนเมื่อเวลาผ่านไปแล้วระยะหนึ่ง  ซึ่งสายไปเสียแล้ว จริงไหมครับ ?

           P = People Value หมายถึงชมในสิ่งที่เป็นคุณค่าของบุคคลผู้นั้น เรื่องนี้ไม่มีเวลาจำกัดครับ จะเลื่อกชมเมื่อใดก็ได้ เมื่อมีโอกาสเหมาะ ที่สำคัญคือ ให้เลือกชมตรงจุดสำคัญที่ยังไม่มีคนชมมากนักจนเกิดความเฟ้อแล้ว หรือถ้าสามารถเปิดการชมเป็นคนแรกได้ก็ยิ่งดีครับ  การชมแบบนี้มีแต่จะเพิ่มคุณค่ามากยิ่งขึ้น และมีความสำคัญมากต่อผู้ที่ได้รับการชมนั้นอย่างหนักแน่นถาวร  ซึ่งจะส่งผลสะท้อนกลับให้ผู้ชมเกิดความสุขใจตามมาด้วยอย่างเกินคาดครับ

         ท่านผู้อ่านครับ เรื่องนี้ยังมีต่อครับ  ขอเชิญช่วยออกความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ ... นำเอาข้อคิดเห็นจากท่านทั้งหมลายมาเขียนด้วย ขอให้ติดตามอ่านในตอนต่อไป นะครับ ..... ใน

     http://www.tpif.or.th/course/pdf/A/A09AY031D.pdf

สนใจสอบถามเพิ่มเติม โปรดติดต่อผู้ประสานงาน โทร. 08 - 1668 - 4800

หมายเลขบันทึก: 282205เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2009 21:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท