เรื่องเล่าจากบ้านแหลม..ชีวิตกับความเชื่อ..ภาพสะท้อนหน่วยการเรียนโลกและวิทยาการ


          เมื่อตอนที่แล้วผมเขียนเรื่อง โลกและวิทยาการหน่วยการเรียนรู้ประวัติศาสตร์กับงานวิจัยโดยใช้แหล่งวิทยาการภายใน
ชุมชน
  เขียนถึงการเรียนรู้นวัตกรรมภายในชุมชนประกอบการเรียนวิชาสังคมพื้นฐาน  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ซึ่ง
มีข้อมูลที่น่าสนใจ ผมได้สรุปและเรียงเรียงไว้เพื่อนำมาเสนออย่างต่อเนื่องดังนี้...

          ขอเริ่มด้วยรายงานการศึกษาชุมชนบ้านแหลม ศึกษาโดย นางสาวกรรณิการ์ วงศ์สัตยพาณิชย์  นางสาวจุฑามาศ  กันภัย
เพื่อน และนางสาวระพีพรรณ  พุ่มสุวรรณ 
....

          ในอดีตอำเภอบ้านแหลม  เคยเป็นเมืองท่าชายทะเลอ่าวไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางเรือ รุ่งเรืองด้วยกิจการค้าข้าว
ค้าเกลือสมุทร  จากข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์พบว่าจะมีเรือแขกมลายูมาซื้อเกลือจากบ้านแหลม  โดยผ่านนายหน้าขายเกลือ
คนอำเภอบ้านแหลมจึงเรียนรู้ พัฒนาภูมิปัญญาในการทำเกลือมาอย่างยาวนาน สืบทอดมาจนทุกวันนี้
  ปัจจุบันอำเภอบ้านแหลม
ยังมีการทำนาเกลือกันอยู่หลายพื้นที่ เช่น ตำบลบ้านแหลม  ตำบลบางแก้ว และตำบลบางขุนไทร
          นอกจากความมั่งคั่งที่ได้จากเกลือแล้ว..บ้านแหลมยังเป็นแหล่งประมงชายฝั่งที่สำคัญของเพชรบุรีอีกด้วย  
          ภูมิปัญญาท้องถิ่นของบ้านแหลม  เป็นเรื่องราวของชุมชนคนปากอ่าวบ้านแหลม หรือ ปากแม่น้ำเพชรบุรี ซึ่งมีความสัมพันธ์
กับการขึ้นลงของน้ำทะเล และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ  ก่อให้เกิดเป็นภูมิปัญญาสั่งสมภายในชุมชนอย่างหลาก
เช่น
การสร้างเครื่องมือจับสัตว์น้ำ ความรู้เรื่องลมประจำถิ่น ลมมรสุม รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน เป็นต้น      
          นอกจากความสัมพันธ์กับธรรมชาติแล้ว คนในชุมชนยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของสิ่งเหนือธรรมชาติอีกด้วย เช่น ความเชื่อ

เกี่ยวกับแม่ย่านางและเจ้าแม่ทับทิมและศาลเจ้าพ่อหัวเขียว  ก่อนที่ชาวประมงจะออกทะเลไปจับปลา  ชาวประมงจะนิยมไปไหว้ศาล
เจ้าแม่ทับทิม และศาลเจ้าพ่อเขียวที่อยู่กลางทะเลก่อน  เพราะเชื่อว่าจะทำให้เกิดโชคลาภกับเรือของตน  ก่อนที่จะแล่นเรือออกจาก
ฝั่ง  จะมีการจุดประทัดเป็นจำนวนมาก  เพื่อให้เกิดขวัญและกำลังใจ  เชื่อว่าเป็นสิริมงคลต่อเรือ

           ชาวประมงบ้านแหลมมีความเชื่อเกี่ยวกับแม่ย่านางเรือ ทุกวันพระขึ้น 15 ค่ำ แรม 15 ค่ำของทุกเดือนจะนำอาหารมาไหว้
แม่ย่านางของตนเอง แม่ย่านางเรือเปรียบเสมือนเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่คอยดูแล  คุ้มครองเรือ  และลูกเรือให้ปลอดภัย..
.ในการออก
ทะเล
.

           เทคโนโลยีพื้นบ้านของชาวบ้านแหลมที่สำคัญก็คือ การทำของทะเลตากแห้ง เช่น การตากปลา ปลาหมึกตากแห้ง  ปลา
กระเบนตากแห้ง การตากแห้งถือเป็นภูมิปัญญาในการถนอมอาหารให้เก็บไว้ได้นาน และสามารถยึดเป็นอาชีพ สร้างรายได้และ
กระจายเม็ดเงินสู่ท้องถิ่นอีกด้วย เช่นการทำปลากระเบนตากแห้ง  เป็นการแปรรูปปลาที่จับได้เป็นจำนวนมากมาเป็นปลาวงตาก
แห้งด้วยความประณีตน่ารับประทาน  เพิ่มมูลค่าของผลผลิต
 
          เป็นการค้นคิดนวัตกรรมต่อยอดของภูมิปัญญาท้องถิ่น..ที่ยังดำรงอยู่ในชุมชนคนบ้านแหลม


ดูภาพประกอบได้ที่
http://www.oknation.net/blog/krunoppol/2009/07/27/entry-1

หมายเลขบันทึก: 282336เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2009 11:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 11:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

  • มาเรียนรู้ชุมชนบ้านแหลม และขอบพระคุณที่ไปเยี่ยมที่บันทึกของครูใจดีค่ะ
  • การให้เด็กศึกษาชุมชน เป็นการเสริมสรางความเข็มแข็งให้กับชุมชน เด็กได้เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน
  • ทำให้เขาเกิดความรักในถิ่นฐานและดำรงไว้ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • เป็นกิจกรรมที่ดีมาก ขอชื่นชมค่ะ
  • ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท