Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ (Organizational Citizenship Behavior) 2


5. Williams และ Aderson (1991) ด้แบ่งพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การไว้เป็น2 รูปแบบ ดังนี้

5.1 พฤติกรรมที่มีประโยชน์ต่อองค์การ (Organizational Citizenship Behavior Directed Toward Organizational) หมายถึง พฤติกรรมที่มีประโยชน์ต่อองค์การ เช่น ให้ข้อมูลที่มีประโยชน์แก่บุคคลที่ไม่สามารถมาทำงานได้ ยึดมั่นกับกฎเกณฑ์เพื่อคิดรักษาคำสั่ง งานวิจัยก่อนหน้านี้ให้ชื่อ OCB-O ว่าคือ Compliance

5.2 พฤติกรรมที่ให้ผลประโยชน์กับบุคคลโดยตรง (Organizational Citizenship Behavior Directed Toward Individual) หมายถึง พฤติกรรมที่ให้ผลประโยชน์กับบุคคลโดยตรงและโดยอ้อมผ่านวิธีการให้ความช่วยเหลือต่อองค์การ เช่น ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานเมื่อเขาลาป่วยให้ความสนใจในเรื่องส่วนตัวกับพนักงาน งานวิจัยก่อนหน้านี้เรียกว่า Altruism

6. George และ Brief (1992) และ George และ Jones (1999) ได้จัดรูปแบบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การไว้เป็น 4 รูปแบบ ดังนี้

6.1 พฤติกรรมการให้ความช่วยเหลือ (Helping Coworker) คือ รูปแบบการให้ความช่วยเหลือด้วยความสมัครใจ ซึ่งสมาชิกในองค์การจัดให้เกิดความสะดวกสบายต่อบุคคลอื่นในการทำงานให้ประสบความสำเร็จและการบรรลุเป้าหมาย รวมทั้งพฤติกรรมการช่วยเหลือเพื่อร่วมงานในกรณีที่ต้องทำงานเกินกำลัง บอกถึงข้อผิดพลาด และการละเลย โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เมื่อสิ่งนั้นไม่ต้องการให้ทำต่อไป

6.2 พฤติกรรมความภักดีต่อองค์การ (Spreading Goodwill) เป็นวิธีการที่สมาชิกในองค์การสมัครใจที่จะทำ และนำมาสู่ประสิทธิผลในองค์การ โดยผ่านความพยายามที่จะนำเสนอองค์การของเขาผ่านชุมชน อย่างไรก็ตามการอธิบายให้คนสนับสนุนองค์การ ดูแล และอธิบายสินค้า และบริการขององค์การว่าเป็นสิ่งที่มีคุณภาพสูง และมีการตอบสนองกับความต้องการของลูกค้า มีการขยายมิตรภาพทางธุรกิจ ซึ่งจะนำมาสู่ประสิทธิผลขององค์การ โดยรับรองว่าองค์การจะได้รับทรัพยากรที่จำเป็นจากกลุ่มผู้ถือหุ้น

6.3 พฤติกรรมการให้คำแนะนำ (Making Constructive Suggestions) การให้คำแนะนำเชิงสร้างสรรค์ พฤติกรรมที่ปฏิบัติด้วยความสมัครใจในเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรมในองค์การการจัดการงานที่มีประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น การปรับโครงสร้างองค์การของหน่วยงานให้ดีขึ้นเพื่อตอบรับการเปลี่ยนแปลงของลูกค้า ผู้ทำงานผู้ซึ่งผูกพันกับรูปแบบการตอบสนองขององค์การ ความพยายามที่จะค้นหาเพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานของบุคคล กลุ่ม องค์การ

6.4 พฤติกรรมการปกป้ององค์การ (Protecting the Organization) เป็นการปฏิบัติด้วยความสมัครใจของสมาชิกในองค์การที่ปกป้อง หรือรักษาชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การรายงานสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดไฟไหม้ ความปลอดภัยจากการล็อคประตู รายงานสิ่งที่น่าสงสัย หรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดอันตราย การเริ่มให้มีการตรวจเช็คกระบวนการผลิตเมื่อมีพนักงานได้รับบาดเจ็บ

7. Borman และ Motowidlo (1997) ได้จำแนกรูปแบบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การไว้เป็น 5 รูปแบบ คือ

7.1 พฤติกรรมการให้ความช่วยเหลือ (Helping and Cooperating With Others) เป็นพฤติกรรมการช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน การช่วยเหลือลูกค้า ความสมัครใจที่จะช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อมีปัญหาในการทำงาน รวมทั้งพฤติกรรมการเอื้อเฟื้อ และไม่บ่น

7.2 พฤติกรรมการสนับสนุนและปกป้ององค์การ (Endorsing, Supporting, and Defending Organizational Objectives) เป็นความภักดีของพนักงานต่อองค์การเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน การอยู่ทำงานกับองค์การในระหว่างระยะเวลาที่มีงานหนัก และนำเสนอสิ่งที่น่าชื่นชมในองค์การต่อบุคคลภายนอก

7.3 พฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎระเบียบและกระบวนการ (Following Organizational Rules and Procedure) เป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติตามคำสั่ง และกฎเกณฑ์ ให้ความเคารพต่ออำนาจ ปฏิบัติตามค่านิยมขององค์การ และนโยบาย การประชุมตามเวลาที่ได้นัดหมาย

7.4 พฤติกรรมความกระตือรือร้น (Persisting with Effort) เป็นความพยายามที่เหนือกว่าปกติในการทำงาน มีความจำเป็นต่อความสำเร็จในงานส่วนตัว รวมทั้งความพยายามอุตสาหะและมีสติรู้ผิดชอบชั่วดี และมีความพยายามอย่างสูงในการทำงาน

7.5 พฤติกรรมการอาสาสมัคร (Volunteering to Carry out Task Activities) เป็นการอาสาสมัครที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ ซึ่งไม่ได้อยู่ในส่วนของงานที่เป็นทางการ เช่น เสนอแนะการปรับปรุงองค์การ ความคิดริเริ่ม และมีความรับผิดชอบอย่างสูง

8. Van Scotter และ Motowidlo (1996) ได้จำแนกรูปแบบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การไว้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

8.1 พฤติกรรมการอำนวยความสะดวก (Interpersonal Facilitation) เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับบุคคล ประกอบด้วย การมุ่งพฤติกรรมระหว่างบุคคลซึ่งนำมาสู่ความสำเร็จในเป้าหมาย เป็นการให้ความสะดวกระหว่างบุคคลให้บรรลุผล โดยพิจารณาการปฏิบัติที่สนับสนุนศีลธรรม กระตุ้นความร่วมมือ การขจัดอุปสรรคในการทำงาน หรือช่วยเพื่อนร่วมงานในการปฏิบัติงานที่มุ่งเน้นงานในหน้าที่ ดังนั้น การอำนวยความสะดวกให้กับบุคคลให้บรรลุผลในการทำงานเป็นความต้องการของสังคม และบุคคลเพื่อสนับสนุน ประสิทธิผลในการทำงานที่มีประสิทธิภาพในการกำหนดองค์การ

8.2 พฤติกรรมความมีวินัยในตนเอง (Job Dedication) เป็นการปฏิบัติตามกฎ รวมทั้งเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการคิดริเริ่มที่จะแก้ปัญหาที่เกิดจากการทำงาน การอุทิศให้กับงานเป็นสิ่งจูงใจที่จะสนับสนุนผลการปฏิบัติงาน ซึ่งช่วยขับเคล่อื นบุคคลให้ปฏบิ ัติงานด้วยการอุทิศตนเพื่อสนับสนุนผลกำไรที่สูงสุดให้กับองค์การ

สำหรับการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ โดยแบ่ง พฤติกรรมออกเป็น 5 ด้าน ตามแนวคิดของ Organ Organ (1991) ซึ่งแบ่งองค์ประกอบ 5 ด้าน คือ  พฤติกรรมการให้ความช่วยเหลือ พฤติกรรมความสุภาพอ่อนน้อม พฤติกรรมความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา  พฤติกรรมความสำนึกในหน้าที่ และพฤติกรรมการให้ความร่วมมือ เนื่องจากเป็นแนวคิดที่มีความครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ มีความชัดเจน ง่ายต่อการเข้าใจ สามารถอธิบายพฤติกรรมแต่ละด้านได้อย่างชัดเจน  รวมทั้งเป็นแนวคิดที่ได้มีผู้นำมาใช้ในการวิจัยจำนวนมาก

 

 

หมายเลขบันทึก: 283059เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2009 16:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แวปดีๆ

อาจารย์ครับผมทำภาคนิพนธ์เรื่องความผูกพันต่อองค์การ อยากทราบว่าควรกำหนดด้านใหนบ้างครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท