ความคิดดี ๆ...คิดนอกกรอบ


แนวคิดส่งพยาบาลไปเรียนเพิ่ม 2 ปี จบเป็นพยาบาลที่สูงว่าเวชปฏิบัติและให้มีการยกฐานะทั้งตำแหน่ง หน้าที่ เงินเดือน โดยคัดเลือกพยาบาลที่มีใจรักที่จะอยู่กับชุมชนนาน ๆเท่านั้น คิดได้เยี่ยมครับ ผู้บริหารน่าจะนำศึกษาผลดีที่จะได้รับ อีกแนวคิดหนึ่งคือ การคัดเลือกพยาบาลชุมชนที่เหมาะสมไปเรียนต่อเป็นแพทย์โดยใช้เวลาเรียน 4 ปี

เมื่อ 30-31 ก.ค.52 ผมได้รับมอบหมายให้ไปร่วมสัมมนาที่ กทม. เรื่อง พลังจิตอาสาและระบบบริการปฐมภูมิ มีหลายประเด็นที่ผู้เข้ารวมประชุมถูกใจและให้ความสนใจ โดยเฉพาะในด้านการคิดนอกกรอบของผู้บริหารโรงพยาบาลและผู้บริหารระดับสูงหลายท่าน เช่น

เรื่องการขาดแคลนบุคลากรการแพทย์ ที่จังหวัดอุบล มีการสำรวจข้อมูลความต้องการพยาบาลทั้งจังหวัดประมาณ 500 คน ท่านผู้บริหารท่านนี้ท่านจัดการประสานงานสถาบันการศึกษาและจะจัดหาทุนพยาบาลเรียนปีละ 100 คน เรียน 4 ปี  5 รุ่นครบพอดี 500 คน ผู้ที่จะได้รับประโยชน์คือชาวบ้านและผู้ที่ได้รับทุนเรียนมีอาชีพ ที่สำคัญผมว่าถ้าทำสัญญาให้ทำงานให้ท้องถิ่นได้นาน ๆก็ดีครับและจะแก้ไขปัญหาได้อย่างตรง ๆ

อีกเรื่องคือเรื่องการขาดแคลนแพทย์ที่หายไปจากระบบราชการปีละ 700 คน มี ผอ.รพ.แห่งหนึ่งเสนอได้ดีมาก ๆครับที่มีแนวคิดส่งพยาบาลไปเรียนเพิ่ม 2 ปี จบเป็นพยาบาลที่สูงว่าเวชปฏิบัติและให้มีการยกฐานะทั้งตำแหน่ง หน้าที่ เงินเดือน โดยคัดเลือกพยาบาลที่มีใจรักที่จะอยู่กับชุมชนนาน ๆเท่านั้น คิดได้เยี่ยมครับ ผู้บริหารน่าจะนำศึกษาผลดีที่จะได้รับ อีกแนวคิดหนึ่งคือ การคัดเลือกพยาบาลชุมชนที่เหมาะสมไปเรียนต่อเป็นแพทย์โดยใช้เวลาเรียน 4 ปี (พยาบาลวิชาชีพเรียนมาแล้ว 4 ปี ต่ออีก 4 ปี เป็นแพทย์ สมัยก่อนใช้วิธีสอบแข่งขันและต้องเรียนต่ออีก 5 ปี คนจึงไม่ค่อยนิยม )จริง ๆผมว่าถ้าเรียนเพิ่มอีก 3 ปีน่าจะพอ แต่ต้องเน้นวิธีคัดเลือกให้ได้คนที่จะกลับมาเป็นแพทย์และไม่ออกนอกระบบแน่นอน

ส่วนเรื่องอื่น ๆที่ฟังมาส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่อง รพ.สต.และการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ ในความคิดส่วนตัวผมว่าเราต้องแยกออกจากกันจริง ๆว่าเรามี PCU รพ.สต. ศูนย์สุขภาพชุมชนไว้ทำอะไร ทุกวันนี้ปัญหาคือ ร.พ.ชุมชนบางแห่งรับ ผป.ไม่ไหว เช่น ร.พ.บางแห่งมีแพทย์ 2 คน ผป.นอก ซะ เกือบ 200 คนบางแห่ง แพทย์ 4 คน ผป.นอก ซะ 300 คน อย่างงี้แย่แน่ ๆ

หากเราจะใช้ PCU รพ.สต. ศูนย์สุขภาพชุมชน แก้ปัญหานี้ต้องหาวิธีดี ๆครับ

1.ถ้าเรามีไว้เพื่อสร้างเสริม ส่งเสริมสุขภาพให้ ปชช.ป่วยน้อยลง เพื่อให้เข้า ร.พ.น้อยลง จะบูรงบหรือคนหรืออะไรยังไงจึงจะเกิดจริง ๆ

2.ถ้าเรามีไว้เพื่อสกัดหรือรักษาเบื้องต้น จะทำยังไง (ปัจจุบัน ปชช.ไม่ค่อยเชื่อมือ จนท.สอ.ในการรักษาเท่าใด มีพยาบาลแล้วก็ยังไม่แน่ใจ แบบนี้ผมว่าถ้าเราทำอะไรสักอย่างน่าจะช่วยได้ครับ)

 

 

หมายเลขบันทึก: 283572เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2009 19:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

  • เห็นด้วยค่ะ  เพราะปัจจุบันแพทย์ของเรางานหนักขาดแคลน
  • ซึ่งสวนทางกับปริมาณคนไข้ที่เพิ่มขึ้นทุกวี่วัน 
  • ขอบคุณค่ะ
  • สวัสดีค่ะ
  • ดูๆๆแล้วทุกที่ มีปัญหาคล้ายกันเลยนะคะ
  • ยังไงๆคนไข้ก็อยากมาโรงบาลมากกว่าค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ ครูแป๋ม

ใช่จริงๆ ครับ แพทย์ออกจากราชการไปเยอะครับ ปี ๆเราผลิตได้ 1,000 คน

ออกไปอยู่เอกชน ปี ๆ ก็ 7-8 ร้อยคน ไปเรียนต่ออีก

ที่เหลืออยู่ ร.พ. น้อยลง ๆ

ที่แม่ฮ่องสอน ร.พ.ที่เคยมี 4 เหลือ 2 เคยมี 6 เหลือ 4 ตายแน่ ๆครับ

สธ.ต้องหาทางแก้ไขด่วน

โครงการแพทย์ชนบท แพทย์บ้านนอก แพทย์ต่อเนื่องจากพยาบาลในชุมชนแบบที่ว่า

ก็อาจเป็นทางหนึ่งครับ

สวัสดีครับป้าแดงคนสวยแซ่เฮ

ก็เราไปสร้างวัฒนธรรมให้เขาอย่างนั้นนี่ครับ

ไม่ว่าจะโครงการแพทย์ไป PCU ไป สอ.

ที่ผ่านมา หมออนามัยเรียนมารักษาได้

ถ้าเกินความสามารถก็ส่ง

เดี๋ยวนี้.....1.ชาวบ้านไม่ยอมตรวจกับหมออนามัย

2.หมออนามัยไม่ยอมตรวจให้ชาวบ้าน

???????

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท