มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาและสถาบันการอาชีวศึกษา


มาตรฐานการประกันคุณภาพอาชีวศึกษา

จากการที่ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ ได้จัดประชุมเรื่อง การพัฒนามาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งมี ผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านได้มาให้ข้อคิด และแนวทางในการพัฒนามาตรฐานการประกันคุณภาพของอาชีวศึกษา ไม่ว่า จะเป็นที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน (นายมังกร  หริรักษ์)  ผู้อำนวยการสำนักติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษา (นายสมบัติ  แสงสว่างสัจกุล) และอนุกรรมการการอาชีวศึกษาด้านการส่งเสริมสนับสนุน กำกับ ดูแล ตรวจสอบและประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและสถาบันการอาชีวศึกษา (นายสนอง  อิ่มเอม)  เป็นบุคคลภายนอกที่ทำงานเพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษา ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะข้อคิดต่าง ๆ ของอนุกรรมการการอาชีวศึกษาฯ  มีเรื่องน่าสนใจดังนี้


 

uu ผู้ประเมินคุณภาพภายนอก (สมศ.) ยังทำงานในลักษณะของกัลยาณมิตร มีความเข้าใจในตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินสถานศึกษาอาชีวศึกษา และจะเป็นผู้ที่มาจากกลุ่มหลากหลายอาชีพมากขึ้น  ไม่กระจุกเฉพาะคนให้แวดวง สอศ. หรือสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนทางวิชาชีพ เท่านั้น

 

 Photobucket

 

uu จำนวนมาตรฐานและตัวบ่งชี้  จากของเดิม 6 มาตรฐาน 25 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การประกันคุณภาพภายใน  คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา  การจัดการเรียนการสอนด้านอาชีวศึกษา นวัตกรรมและการสร้างองค์ความรู้ของอาจารย์และนักศึกษา การให้บริการทางวิชาการต่อชุมชนและสังคมและการบริหารและการจัดการ   จะลดจำนวนลง  แต่มีความเข้มข้น ในแต่ละตัวมากขึ้น ซึ่งของใหม่นั้นคร่าว ๆ จะเป็นเรื่อง  การประกันคุณภาพภายใน ที่ยังมีความสำคัญและเป็นหัวใจของเรื่องนี้   คุณภาพของนักเรียน/นักศึกษาที่จบ  สมรรถนะของวิชาชีพ  การทดสอบมาตรฐานวิชาชีพ โดยมีหน่วยงานภายนอกเข้ามามีบทบาท   การวิจัยนวัตกรรม ยังคงอยู่  การบริการทางวิชาการฯ  จำนวนอาจจะเป็น 5-10 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเป็นเรื่องที่อาชีวศึกษาได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง  การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้

 

uu จำนวนสถานศึกษาที่ได้รับการประเมินภายนอกรอบ 2  ในกลุ่มของ สอศ. มีจำนวนรอพินิจ และไม่ผ่านหลายแห่ง และ สอศ. โดยผู้บริหารระดับสูงเห็นถึงความสำคัญ และพยายามช่วยกันผลักดันที่จะพัฒนาสถานศึกษาเหล่านั้น อย่างไรก็ดี สอศ. ก็อยู่ในระดับที่ดีกว่าของหน่วยงานอื่น
 

 Photobucket

 

uu การประกันคุณภาพ  ยังเป็นงานประจำ (routine)  ทุกคนมีส่วนร่วม  ผู้ปกครอง ชุมชนต้องรู้และเป็นมาตรฐานเดียวกัน  การสร้างระบบการประกันไม่ใช่มีห้องประกันคุณภาพ แต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพ มีหัวหน้าประกันคุณภาพ แต่ไม่เห็นถึงระบบของการประกันที่ทุกคนต้องร่วมกันในการพัฒนา เช่น การใช้หลัก PDCA ในการทำงาน  หรือ บุคลากรยังตอบคำถามเรื่องการประกันไม่ชัดเจนและความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน

 

uu สถาบันการอาชีวศึกษา  สอศ. จะต้องเตรียมบุคลากรเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้น ๆ  ทั้งจะต้องใส่ใจ  คุณภาพของนักเรียน/นักศึกษา  บุคลิกภาพของการเป็นนักเรียน/นักศึกษาอาชีวะที่ต้องให้สังคมยอมรับให้ได้   การประเมินผลต้องมีมาตรฐานเทียบเท่ากับสถาบันการศึกษาอื่น ๆ  เช่น การคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ คงไม่ต้องให้พิสูจน์ตั้งสอง-สามครั้ง ถึงจะผ่านเกณฑ์ ดังที่เราได้รับทราบข้อมูลจากที่แล้วมา  และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วเป็นที่ต้องการของสถานประกอบการ 
 

 

นั้นคือ ข้อคิด สำหรับคนที่เคยอยู่ในแวดวงอาชีวศึกษา และยังทำงานเพื่อพัฒนาอาชีวศึกษาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป  การปรับเปลี่ยนมาตรฐานการประกันคุณภาพ เป็นเรื่องที่จะต้องให้เข้ากับยุคสมัย และพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะเป็นมาตรฐานใหม่ อย่างไรเสีย การประกันคุณภาพก็ยังเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นที่ทุกวงการศึกษาที่บ้านเราต้องให้ความสำคัญ  เช่นเดียวกับประเทศในแถบเอเซียที่ระบบการศึกษาได้พัฒนาก้าวล้ำหน้าไทยหลายประเทศ ก็ถือว่า เป็นเรื่องลำดับต้น ๆ ที่ให้ความสำคัญและทำกันมานานแล้วเช่นกันp,p

 นางสาวพิมพร  ศะริจันทร์ ศึกษานิเทศก์  เขียนวันที่ 5 สิงหาคม  2552
 
จากการเข้าร่วมประชุมพัฒนามาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา
 ห้องประชุมศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ วันที่ 24 กรกฎาคม  2552
  

 บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ
 ผู้ที่จะนำบทความ รูปภาพไปตีพิมพ์ต้องได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้เขียนเท่านั้น
 ผลงานและสิ่งพิมพ์ของผู้เขียน ปรับปรุงข้อมูล วัน พฤหัสบดี, 06 สิงหาคม 2552
 ติดต่อผู้เขียนที่  [email protected]

หมายเลขบันทึก: 283731เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2009 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท