การกลั่นน้ำหมักกล้วยน้ำว้าเป็นสุรารสเลิศ


กล้วยน้ำว้าเป็นผลไม้ที่ออกผลเกือบตลอดปี จึงเป็นแหล่งวัตถุดิบที่ไม่ขาดแคลน หากต้องการหมักเป็นไวน์ ทำได้ง่าย ๆ แต่ต้องใช้จุลินทรีย์ที่เหมาะสมจึงจะได้น้ำหมักที่มีกลิ่นหอม รสหวานและฝาดเล็กน้อย ผลิตภัณฑ์นี้สามารถเพิ่มมูลค่าได้อีก ๑๐-๒๐ เท่าเมื่อผ่านขบวนการกลั่นเป็นสุรารสเลิศ

กล้วยในเมืองไทยมีมากมายดังที่กรมส่งเสริมรายงานไว้(กรมส่งเสริมการเกษตร.สรุปผลการจัดงานนิทรรศการและการประชุมสัมมนากล้วยนานาชาติ ครั้งที่ ๑.กรุงเทพฯ ๒๕๔๔) หากจะต้องการทำประโยชน์จากกล้วยมีมากมาย ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะกล้วยน้ำว้าอย่างเดียว เพราะแพร่หลาย  หาได้ง่าย มีตลอดปี เริ่มต้น ต้องทำการหมักกล้วยน้ำว้าต้มให้เป็นไวน์กล้วยก่อน การทำไวน์กล้วยได้อธิบายโดยละเอียดแล้วใน:http://GOTOKNOW.ORG/BLOG/HERBLAND/187618  เมื่อได้ไวน์กล้วยหรือน้ำหมักกล้วยน้ำว้าตามต้องการแล้ว  ควรลองชิมก่อน  หากมีรสหวาน  ฝาด หอมฉุนแอลกอฮอล์ นับว่ามาถูกทางใช้ได้แล้ว มีแอลกอฮอล์ประมาณ ๒๐% เมื่อวัดด้วยแอลกอฮอล์มิเตอร์ จะได้แอลกอฮอล์ชนิดเอทธิลเป็นส่วนใหญ่  จากนั้นเทน้ำกล้วยหมักลงในหม้อต้ม (เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องต้ม กลั่น อบ สมุนไพร ระบบดิจิตอลของห้องปฏิบัติการพืชสมุนไพร (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ  ศูนย์หันตรา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) (HTTP://GOTOKNOW.ORG/BLOG/HERBLAND/187618 )  เติมน้ำหมักลงไปไม่เกิน๕๐ลิตร ถังต้มมีความจุ๖๐ลิตร  ตั้งอุณหภูมิไว้ ๘๐ องศาเซลเซียส นานประมาณ  ๓ ชั่วโมง กลั่นผ่านขดแก้ว(CONDENSER ยาว ประมาณ ๕๐ ซม.)  เตรียมถังน้ำดื่มบรรจุ ๒๐ลิตรไว้รองรับแอลกอฮอกลั่นที่ออกมาจากคอนเดนเซอร์เมื่อครบเวลาให้ปิดเครื่อง  นำผลิตภัณฑ์ที่ได้มาวัดแอลกอฮอล์จะมีแอลกอฮอล์อยู่ที่ประมาณ ๔๕% น้ำที่เหลือในถังต้มเอาไปทำปุ๋ยน้ำชีวภาพต่อไป เตินน้ำผึ้งลงไปในแอลกอฮอล์ที่กลั่นได้นั้นประมาณ ๓๐% เขย่าให้เข้ากัน ปิดฝาให้สนิท  เก็บไว้ในห้องที่เย็นแห้ง  ไม่ถูกแสง นาน ๑ เดือน จึงนำมารับประทาน ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีสีน้ำผึ้ง หอมกลิ่นกล้วยน้ำว้า หวานเล็กน้อย มีแอลกอฮอล์ที่ ๔๐% ผลิตภัณฑ์นี้สามารถเพิ่มมูลค่าให้กล้วยน้ำว้า ๑๐-๒๐เท่า เป็นเครื่องดื่มรสเลิศ หรือใช้ผสม ใช้สกัดสมุนไพรที่ต้องการแอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลายได้อย่างดียิ่ง

หมายเลขบันทึก: 283750เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2009 11:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท