ตามห่วงโซ่แห่งคุณค่า(Value chain analysis)


การวิเคราะห์ตามห่วงโซ่แห่งคุณค่า(Value chain analysis)ของ michel e porter เป็น “ลูกโซ่แห่งกิจกรรม” (chain of activities) ที่สร้างสรรค์คุณค่า (value) ต่อเนื่องสัมพันธ์กันเหมือนกับลูกโซ่ เพื่อส่งมอบคุณค่าทั้งหมดให้กับลูกค้า โดยแต่ละกิจกรรมจะมีส่วนช่วยก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม (value-added) คุณค่าของลูกค้า(Customer value) เกิดจากกิจกรรม 3 แหล่ง คือ

1.กิจกรรมที่ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความแตกต่าง(activities that differentiate the product)                                                                                                  2.กิจกรรมที่ทำให้ต้นทุนลดต่ำลง (activities that lower its cost)                           3.กิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว (activities that meet the customer’s need quickly)

1. กิจกรรมหลัก

- การนำเข้าวัสดุการผลิต ได้แก่ กิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วยการับวัตถุดิบ การจัดเก็บ และการจัดการเกี่ยวกับตัวป้อนเข้า การเคลื่อนย้ายวัสดุ การคลังสินค้า การควบคุมวัสดุคงคลัง เป็นต้น เป็นต้น การปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการดำเนินงานในขั้นนี้ จะมีส่วนช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

 - การผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ได้แก่ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนตัวนำเข้าต่างๆ เพื่อให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เช่น การใช้เครื่องจักรผลิตสินค้า การบรรจุภัณฑ์ การประกอบ การบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ เป็นต้น การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานในขั้นนี้ จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูงขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้รวดเร็วมากขึ้น

 - การนำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่าย (logistic)ได้แก่ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเข้าสู่ระบบการจำหน่าย เพื่อนำสินค้าไปถึงมือผู้บริโภค เช่น การคลังสินค้า การควบคุมสินค้าคงเหลือ การขนส่ง การส่งมอบ เป็นต้น การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานในขั้นนี้ จะช่วยลดต้นทุนด้านการจัดจำหน่าย ทำให้ฐานะด้านการแข่งขันดีขึ้น รวมทั้งระดับการให้บริการแก่ลูกค้าสูงขึ้น

- การตลาดและการขาย(maketing and sale) ได้แก่ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 4 ตัว(4P) คือ ผลิตภัณฑ์(product)ราคา(price) การส่งเสริมการตลาด(promotion) และช่องทางการจัดจำหน่าย(place) การตลาดจะมีความสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดขอบเขตของการแข่งขัน (Competitive scope) เพื่อนำความได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งขึ้นอยู่กับฐานะหรือตำแหน่งของบริษัทเอง จุดแข็งและจุดอ่อนของบริษัท จึงจะสามารถกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดได้อย่างเหมาะสม

- การบริการหลังการขาย (customer service) เป็นกิจกรรมที่สร้างคุณค่าให้กับลูกค้าสามารถสร้างคุณค่าที่ลูกค้าสามารถมองเห็นได้ในทันที และจะมีผลกระทบที่สำคัญต่อความชอบของลูกค้า ที่จะกลับมาซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัทอีกในอนาคต

2. กิจกรรมสนับสนุน

 - การจัดซื้อ การปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการจัดซื้อจะมีผลต่อการเพิ่มคุณภาพของผลผลิตด้วยต้นทุนที่ลดลง และทำให้การทำกำไรของบริษัทสูงขึ้น

 - การพัฒนาเทคโนโลยี จุดมุ่งหมายของการพัฒนากระบวนการก็เพื่อปรับเทคนิคการทำงานใหม่หรือปรับปรุงวิธีการทำงานแบบเก่าเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกิจกรรมสร้างมูลค่าเพิ่มของบริษัทให้สูงขึ้น

- การจัดการทรัพยากรมนุษย์ กิจกรรมการจัดการทรัพยากรมนุษย์มีผลกระทบต่อกิจกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่ม (value-adding activities) ทุกชนิดของบริษัท การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ประสบผลสำเร็จจึงมักจะถือเป็นปัจจัยหลักสำคัญ (Key factor) ที่จะเป็นตัวกำหนดจุดแข็งของบริษัท

 - โครงสร้างพื้นฐานของบริษัท เช่น การเงิน การบัญชี กฎหมาย ระบบข้อมูลและบัญชีเงินเดือนพนักงาน เป็นกิจกรรมที่ช่วยทำหน้าที่เพิ่มคุณค่าให้กับทุกหน้าที่ในบริษัท

คำสำคัญ (Tags): #ห่วงโซ่คุณค่า
หมายเลขบันทึก: 285363เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2009 13:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท