พืชอาหารเลี้ยงตัวอ่อนของผึ้งกัดใบชนิดที่ ๒๔


พืชที่สวยงานดอกสีม่วงนี้เป็นประโยชน์ต่อผึง้กัดใบใช้เลี้ยงตัวอ่อน

ต้นตะแบกนาชื่อวิทยาศาสตร์  Lagerstroemia  floribunda Jack  วงศ์  LYTHRACEAE  ชื่ออื่น กระแบก   ตะแบก  ตะแบกไข่ เป๋อย หางค่าง ตะแบกน้ำ เปื่อยนา  ตะแบกปรี้  บางอตะมะกอ  บางอยามู  บางอยามูละเบะ  แบก  เปื่อยต้อง  เปื่อยหางค่าง  ถิ่นกำเนิดป่าไม้เบญจพรรณชื้น  ป่าดงดิบ  ป่าน้ำท่วมตามทุ่งนา  เป็นไม้ยืนต้นสลัดใบ สูง 10  -  25  เมตร  เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลม  เปลือกต้นเรียบ สีนวล  หรือสีเทา  มักแตกร่องเป็นหลุมตื้น ต้นแก่เปลือกจะร่อนเป็นแผ่น ใบเดี่ยวรูปหอก ยาว 12  -  20  เซนติเมตร  ขอบใบห่อขึ้นสีแดงอ่อน  ผึ้งกัดใบจะกัดใบเป็นวง มักเลือกใบตำแหน่งที่ 2 ถึง 4 นับจากยอดเข้าไป วงที่กัดมีหลายขนาดตั้งแต่ เส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1 เซนติเมตรไปถึงขนาด 3 เซนติเมตร หากกัดวงเล็กจะกัดต่อ ๆ กันอีก4 - 5 วง หากกัดวงใหญ่จะกัดเพียง 1 - 2 วงเท่านั้น  สถานที่ตรวจพบอยู่ที่หน้าอาคาร 2 สาขาพืชศาสตร์ ด้านปีกขวาของอาคาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ติกถนนสายเอเซีย  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ใจกลางของต้นไม้ชนิดนี้อาจมีแมลงเข้าไปสร้างบ้าน  ทำรังได้  เพราะเปลือกจะแตกเมื่อต้นมีอายุมากขึ้น  เป็นต้นไม่ที่ใช้ปลูกประดับ  ดอกย่น สีม่วงอมชมพูสวยงามมาก  เนื้อไม้ละเอียด  ใช้เป็นไม้ใช้สอยสิ่งปลูกสร้าง  เฟอร์นิเจอร์ราคาแพง ทำฟืน เป็นต้น เป็นไม้ประจำจังหวัดสระบุรี   

หมายเลขบันทึก: 285653เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2009 10:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท