สิบเทคนิคการผลิตทุเรียนอินทรีย์ ของปราชญ์ชาวบ้าน คุณลุงคำนึง ชนะสิทธิ์ ตอนที่ 1


การผลิตทุเรียนอินทรีย์

 สิบเทคนิคการผลิตทุเรียนคุณภาพ (GAP) เกษตรอินทรีย์

ของปราชญ์ชาวบ้าน คุณลุงคำนึง   ชนะสิทธิ์

6/1   หมู่ที่ 12   ตำบลสองพี่น้อง  อำเภอท่าใหม่   จังหวัดจันทบุรี

           ทุเรียนเป็นไม้ผลเศรษฐกิจของประเทศชนิดหนึ่งที่จำเป็นต้องรักษาไว้ซึ่งสถานภาพการผลิตและการตลาด การเน้นเรื่องคุณภาพเป็นสำคัญปัจจุบันไทยส่งออกทุเรียนมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกเกษตรกรผู้ผลิตจะต้องผลิตทุเรียนคุณภาพดี และโดยปกติโดยทั่วไปผลผลิตทุเรียนส่วนใหญ่จะออกสู่ท้องตลาดประมาณกลางเดือนเมษายนของทุกปี แต่ที่สวนมีผลผลิตทุเรียนออกสู่ท้องตลาดตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน  และในสวนพื้นที่  30 ไร่ นั้นทุเรียนทุกต้นสามารถให้ผลผลิตได้ตามความต้องการ 100% เป็นทุเรียนคุณภาพที่สามารถกำหนดราคาขายได้เองพร้อมมีผู้ส่งออกเข้ามารับซื้อถึงในสวน

ทุเรียนพันธุ์ชะนี ระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิตอยู่ที่ 100-110 วัน หลังจากดอกบาน

 ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิตอยู่ที่ 115-120 วัน หลังจากดอกบาน

เป็นสิ่งที่สามารถกำหนดได้ เป็นผลต่อเนื่องจากการไว้ผลทุเรียนที่เหมาะสม ทำให้รอบของการออกดอกไม่คลาดเคลื่อนจากความต้องการ นอกจากนี้ยังกำหนดให้ทุเรียนดอกบานพร้อมกันทั้งสวนได้ 100% เป็นการออกเหลื่อมปี 

วิธีการจัดการสวนทุเรียนให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

            ในพื้นที่ 30 ไร่ มีต้นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง  200 ต้น  พันธุ์ชะนี 200 ต้น ซึ่งทุกต้นมีอายุระหว่าง 15-30 ปี จึงมีหมายเลขประจำต้นพร้อมทั้งตัวเลขบอกจำนวนผลทุเรียนต่อต้น กำหนดระยะการออกดอกไว้เพื่อง่ายต่อการเก็บข้อมูลและการบริหารจัดการภายในสวน

 

หมายเลขบันทึก: 285780เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2009 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (35)

ไว้ติดตามต่อตอนหน้านะครับ วันเครื่องแฮ้งตลอด

เทคนิคที่ 1

ฟื้นดินให้มีชีวิตด้วยปุ๋ยอินทรีย์และชีวภาพ เดิมนั้นจะใช้วิธีเช่นเดียวกันกันสวนทุเรียนอื่น ๆ ทั่วไปที่เน้นการใส่ปุ๋ยเคมีและมีการฉีดพ่นสารเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูทุเรียน จากการกระทำ ดังกล่าวส่งผลให้ดินตายด้าน เป็นดินไม่มีชีวิต การจะฟื้นชีวิตให้ดินต้องรักษาสมดุลธรรมชาติ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์และชีวภาพเข้ามาช่วย ในสวนนี้ใช้เวลาถึง 5 ปี จึงสามารถฟื้นชีวิตให้แก่ดินกลับมีความสมบูรณ์เป็นธรรมชาติได้สำเร็จการฟื้นชีวิตให้แก่ดินมีดังนี้ ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยปลา ปุ๋ยชีวภาพ คือ ปุ๋ยผลไม้ ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพหมักได้เอง ฉีดพ่นทางใบและราดทางดิน ใช้สลับกันโดยเริ่มหลังจากการเก็บผลผลิตเสร็จไปจนกว่าจะหมด เนื่องจากดินมีสภาพเป็นกรดการใช้ครั้งแรกดินอาจไม่ได้รับเลยกว่าจะเห็นผลดินมีชีวิตมีไส้เดือนอะไรต่าง ๆ ที่อยู่ในวงจรธรรมชาติเกิดขึ้น บางสวนใช้เวลา1 เดือน 3 เดือน หรือ 6 เดือนต่างกันไป ในพื้นที่ 1 ไร่ต้องใช้ปุ๋ยปลา 100 ลิตร และปุ๋ยผลไม้ 100 ลิตร ให้หมดภายใน 1 ปี(การให้ปุ๋ยปลาและปุ๋ยผลไม้นั้นจะให้พร้อมกับการให้น้ำซึ่งวางระบบไว้อย่างดี) ใช้กับต้นทุเรียน อัตรา ผสมน้ำ 200 ลิตร ต่อปุ๋ยผลไม้ 500 ซีซี เอาไปราดทางดินใช้แทนปุ๋ยเคมี ดินจะร่วนซุย ดินดีขึ้น ไม่เป็นกรด ต้นทุนทำปุ๋ยผลไม้ 200 ลิตร ประมาณ 1,200 บาท ถ้าเป็นปุ๋ยปลา 200 ลิตร ต้นทุนประมาณ 700 บาท ระยะเวลาการหมัก 15-20 วัน ปุ๋ยปลาใช้โดยให้ร่วมกับระบบน้ำ ประมาณ 200-300 ซีซี /ต้น/ครั้ง ให้ประมาณเดือนละ 3 ครั้ง ร่วมกับการฉีดพ่นภายในทรงพุ่ม อัตรา 50 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ประมาณดือนละ 1-2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นไม้เป็นหลัก รวมตลอดทั้งปีใส่ปลาหมักไม่เกิน 5 ลิตร/ต้น “ดิน เศษผง กิ่งไม้ ใบไม้ในสวนจะไม่เผาทิ้ง ต้องการให้ธรรมชาติเขาสร้างอยู่ในตัว”

เทคนิคที่ 2

         2. ควบคุมการให้น้ำจากเครื่องมือวัดความชื้นในดิน เมื่อปี 2540 คณะดูงานจากหลายประเทศมาเยี่ยมชมดูการผลิตทุเรียนที่สวน และได้มอบอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งไว้ใช้ในสวนเป็นอุปกรณ์วัดความชื้นในดินเพื่อกำหนดเป็นแนวทางการให้น้ำที่เหมาะสมแก่ทุเรียน เนื่องจากสภาพดินเป็นกรดการให้น้ำควรให้ในระดับความชุ่มชื้นอิ่มตัว การวัดความชื้นในดินจะต้องวัดลึกลงไปถึง 30 เซนติเมตร ให้ความชื้นอยู่ระดับ 95 ขณะมีลูก หากต่ำกว่านี้ต้องรีบให้น้ำ เครื่องมือวัดช่วยให้การตัดสินใจให้น้ำแม่นยำกว่าการดูด้วยตา เพราะบางทีภาพอาจลวงตา ทั้งนี้น้ำที่ให้นั้นส่วนหนึ่งไปกับลม แสงแดด ดิน ดังนั้นเราต้องให้เผื่อกับสิ่งเหล่านั้นด้วยเพื่อไม่ให้ต้นไม้ขาดน้ำหรือได้รับน้ำไม่เพียงพอ ทั้งนี้การให้น้ำแก่ทุเรียนยังต้องสัมพันธ์กับอุณหภูมิด้วยภายในสวน จึงต้องมีเทอร์โมมิเตอร์แขวนไว้ดูอุณหภูมิถ้าอุณหภูมิขึ้นประมาณ 33-34 องศาเซลเซียล ต้องให้น้ำคงที่ ดูให้ดินชื้นเป็นใช้ได้

เทคนิคที่ 3

3. การป้องกันกำจัดศัตรูพืช ศัตรูทุเรียนที่สำคัญคือ ไรแดงและเพลี้ยไฟ การเข้าใจธรรมชาติมีส่วนช่วยทำให้การป้องกันกำจัดศัตรูของทุเรียนอย่างได้ผล เพราะเพลี้ยไฟและไรแดง ซึ่งมีวงจรชีวิตแตกต่างกันแพร่ระบาดเกิดขึ้นไม่พร้อมกันไรแดงจะเริ่มเข้าทำลายทุเรียนในระยะทุเรียนออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงที่ไรแดงวางไข่และขยายพันธุ์ เมื่อรู้เช่นนี้ผู้ปลูกทุเรียนต้องเตรียมการป้องกันกำจัดให้ทันท่วงที โดยวิธี คือ หากสุ่มพบไรแดง จำนวน 5 ตัว ต่อ 1 ใบ จึงจะฉีดพ่นน้ำที่ใบ ถ้าเป็นต้นทุเรียนสูง ๆ ให้ต่อท่อพีวีซีแล้วพ่นน้ำ หรือให้น้ำทางพื้นดินแรง ๆ เพื่อให้ความชุ่มชื้นซึ่งไรแดงไม่ชอบ มันก็จะไม่มาวางไข่เพราะไรแดงกลัวน้ำและความชื้น เป็นการป้องกันง่าย ๆ ไม่ต้องใช้ยาฉีด

เพลี้ยไฟ หนอนจะเข้าทำลายทุเรียนช่วงทุเรียนออกใบอ่อนจะเริ่มมาวางไข่ ต้องป้องกันโดยใช้สารสกัดสมุนไพรพวกตะไคร้หอมก็ใช้ได้ผล หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแต่ละฤดูกาลการกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูของทุเรียนเท่านั้น แมลงที่เป็นประโยชน์อย่างตัวห้ำ ตัวเบียน แมงมุม แมลงต่าง ๆ ที่ให้คุณไม่กำจัด และมีการฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้บ้างบางครั้งที่มีหนอนชนิดอื่น ๆ ระบาด ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมี

เทคนิคที่ 4

4. กำหนดจำนวนผลทุเรียนต่อต้น การที่จะกำหนดจำนวนผลทุเรียนในแต่ละต้นนั้นต้องดูที่ศักยภาพในการให้ผลผลิตที่แตกต่างกัน การกำหนดให้ทุเรียนแต่ละต้นไว้ลูกตามความเหมาะสมนั้นช่วยให้ทุเรียนอยู่ในคุณภาพที่ต้องการได้ คุณภาพนั้นหมายถึง ขนาดและรูปทรงที่ตลาดต้องการ ขนาดของทุเรียนที่ตลาดต้องการมี 3 ขนาด คือ ขนาดน้ำหนัก 2.5 , 3.5 และ 4.5 กิโลกรัม ต่อผล โดยรูปทรงไม่บิดเบี้ยว รสชาติอร่อย จากการลองผิดลองถูกมาตั้งแต่ปี 2538 สามารถผลิตทุเรียนคุณภาพได้ 50 % แต่มีการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งปัจจุบันสามารถผลิตทุเรียนคุณภาพเพื่อการส่งออกได้ถึง 100 % ต้นที่ไว้ผล 80 ลูก สามารถขายส่งออกได้ทั้ง 80 ลูก โดยแต่ละปีจะมีการปรับเปลี่ยนตามข้อมูลที่เป็นจริง

เทคนิคที่ 5

5. การปลูกพืชสมุนไพรคลุมโคนต้นทุเรียน เพื่อช่วยควบคุมความชื้นและป้องกันกำจัดศัตรูพืช ชนิดสมุนไพรที่ใช้ปลูกมี กระวาน หน่อแดง เล่วหอม กระชาย เตยหอม ว่านสาวหลง ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย ขมิ้นขาว ขิงแห้ง ข่าตะไคร้ ไพร ฯลฯ

                   

 

เทคนิคที่ 6

6. การให้น้ำ เนื่องจากสวนมีการปลูกพืชสมุนไพรคลุมและปล่อยให้หญ้าขึ้นบ้าง จึงทำให้ดินสูญเสียความชื้นน้อย การให้น้ำจึงน้อยตามลงไปด้วย อัตราการให้น้ำก็คือต้องดูจากปัจจัยธรรมชาติ เช่น ดูจากหญ้าว่ามีความชุ่มชื่นอยู่หรือไม่ ถ้ายังสดชื่นอยู่ก็อาจจะให้ 3 วันต่อครั้ง โดยจะ แบ่งการให้น้ำออกเป็นโซน โซนละ 40 นาที จะให้แบบสปริงเกอร์ติดทุกต้น และอัตราการให้น้ำจะต้องดูด้วยว่าขณะที่ให้น้ำนั้นมีลม มีแสงแดดมากน้อยเพียงใด เพราะปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้ต้นไม้ได้รับน้ำในปริมาณที่แตกต่างกัน เช่น ถ้าให้น้ำโซนละ 40 นาที ลมจะพัดพาน้ำออกไป 10 นาที แสงแดดเผาผลาญระเหยไป 10 นาที ดินดูดน้ำซับน้ำไป 10 นาที และต้นไม้จะได้รับน้ำแค่10 นาที เพราะฉะนั้นแล้วถ้าต้องการใช้เวลาในการให้น้ำมากกว่า

เปรียบเทียบการให้น้ำ

ไม่มีปลูกพืชสมุนไพรคลุมดินใต้ทรงพุ่ม มีการปลูกพืชสมุนไพรคลุมดินใต้ทรงพุ่ม

300-500 ลิตร / ต้น/ 3 วัน 200 ลิตร/ต้น/3วัน

เทคนิคที่ 7

7. การให้ปุ๋ย จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตเอง ส่วนประกอบจะมีมูลสัตว์ (ขี้วัว) รำหยาบ แกลบดิบแกลบเผา ขุยมะพร้าว ขี้เลื่อย ปุ๋ยน้ำชีวภาพ(ทำจากปลา,ผลไม้) เมื่อได้ส่วนผสมทั้งหมดก็นำมาคลุกเคล้าผสมให้เข้ากันระหว่างนี้ก็เติมหัวเชื้อลงไปผสมด้วย ก็จะเกิดการหมักหมมเกิดขึ้น และจะต้องให้มีความชื้นอยู่ที่ 20 % หลังจากนั้นบรรจุกระสอบเก็บทิ้งไว้15 วัน ก็สามารถนำไปใช้ได้แล้ว วิธีการใช้คือนำไปหว่านรอบ ๆ โคนต้นในอัตรา 1 กระสอบ (30 กก.) ต่อ 1 ต้น โดยให้ 4 เดือน/ครั้ง เมื่อใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไปแล้ว จะทำให้ทั้งต้นทุเรียนได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ดินก็มีความอุดมสมบูรณ์ และพืชสมุนไพรที่ปลูกก็จะเจริญเติบโตดี ส่งผลให้หนอนเจาะลูกและแมลงศัตรูอื่น ๆลดจำนวนลงไปด้วย

เทคนิคที่ 8

8. การไม่ตัดแต่งกิ่ง เพราะเสียค่าใช้จ่ายมาก สิ้นเปลืองแรงงาน โดยได้ทดลองไม่ตัดแต่งกิ่งและโยงกิ่งเพราะเหตุบังเอิญและการสังเกตจากต้นทุเรียนในสวนที่มีผึ้งมาอาศัยอยู่ซึ่งไม่มีใครกล้าเข้าใกล้ต้นที่มีผึ้งอาศัยอยู่ก็ปล่อยโดยที่ไม่มีการตัดแต่งกิ่งและโยงกิ่ง หลังจากนั้นได้สังเกตว่า แขนงคือโรงครัว โรงครัวสำรองขยายอาหารแขนงอยู่ตรงไหนทุเรียนจะติดลูกตรงนั้น ลูกที่ออกมาจะสมบูรณ์ทุกลูก เมื่อเจอกับสภาพปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่นกระทบฝน กระทบแล้ง หนาวก็ไม่มีปัญหาในการติดดอกออกผล ส่วนต้นที่ตัดแต่งกิ่งจะกระทบตามสภาพปัจจัยต่าง ๆ ทำให้ควบคุมการผลิตไม่ได้ และลดการโยงกิ่งถึง 60 % ที่ยังมีการโยงกิ่งอยู่สาเหตุจากป้องกันลมที่อยู่ตอนปลายกิ่งในฤดูลมมาก ๆ

เทคนิคที่ 9

9. การตัดแต่งดอก การตัดแต่งดอกให้เหลือดอกรุ่นเดียวกัน กระจายอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม โดยตัดดอกไว้เป็นกลุ่ม ๆ ละ 8-10 ดอก ช่วยผสมเกสรเมื่อดอกบานในช่วงกลางคืนด้วยการนำละอองเกสรพันธุ์ทุเรียนหมอนทองไปผสมให้กับพันธุ์ชะนี โดยทำการเลือกเก็บละอองเกสรจากต้นพ่อพันธุ์ที่แข็งแรงสมบูรณ์ เพื่อให้ได้ละอองเกสรตัวผู้ที่ดีที่สุด ทำให้ผลผลิตมากขึ้นและได้ทุเรียนที่มีรูปทรงดี ในทุเรียนหนึ่งต้นจะให้ผลทุเรียนประมาณ 50-70 ผล ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์และขนาดทรงพุ่มของทุเรียน น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 3 กิโลกรัม/ผล และในทุเรียนแต่ละต้นมีการทำป้ายผูกติดไว้ทุกต้น เพื่อบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับวันที่ดอกทุเรียนบาน และปริมาณผลผิต/ต้นในแต่ละปี เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเก็บเกี่ยวผลผลิตและจำนวนผล/ต้น สำหรับปีถัดไป สำผลผลิตทุเรียนพันธุ์ชะนี สามารถเก็บขายได้ตั้งแต่ วันที่ 1-10 เมษายน เกือบทุกปี ทำให้ขายทุเรียนได้ราคาประมาณ 20-30 บาท/ กิโลกรัม ขนาดที่ตลาดต้องการ

เทคนิคที่ 10

10. การอนุรักษ์แมลงและสัตว์ศัตรูธรรมชาติ ในสวนจะไม่การฉีดพ่นยาฆ่าแมลงและยากำจัดวัชพืชทุกชนิดทำให้แมลงและสัตว์ศัตรูธรรมชาติมาอาศัยอยู่มากมาย ตัวอย่างเช่นมดง่ามจะอาศัยอยู่ตามโคนต้นและลำต้นไม้ผลทั่วไป ซึ่งประโยชน์มดง่ามนี้จะมาช่วยในการลดจำนวนของมดดำ โดยมดดำจะเป็นตัวพาหนะนำเพลี้ยแป้งไปทำลายผลและวางไข่ ก็จะมีมดง่ามคอยทำลายมดดำ เพราะฉะนั้นสังเกตว่าถ้าสวนไหนมีมดง่ามจะส่งผลให้เพลี้ยแป้งลดจำนวนลงไปด้วย ที่สวนจะอนุรักษ์นกทุกชนิด กระรอก กบ เขียด ฯลฯ

น.ต.สมเจตน์ เชาว์ศิริ

สนใจแนวทางการทำสวนปลอดสารพิษและสารเคมีมานาน

ปัจจบันดูแลสวนของแม่บ้าน

พยายามหาความรู้เทคนิคทางการเกษตรแนวธรรมชาติ วันนี้ได้แวะมาเยี่ยมชมก็ขอขอบคุณในประสบการณ์ที่ได้รับ

ตอนนี้พยายามลดการตัดหญ้าในสวน ตัดเฉพาะทางเดินในสวน

และหาประสบการณ์ด้วยการลงมือทำด้วยตัวเอง

ขอขอบคุณครับ

ขอให้กำลังใจ น.ต.สมเจนต์นะครับ

ผมว่าการใช้เกษตรอินทรีย์เพียงอย่างเดียวโดยไม่ใช้เคมีควบคู่ด้วย สามารถจัดการให้ศรัตรูพืชในทุเรียนหมดไปได้หรือถ้าสวนบริเวณโดยรอบสวนเรายังใช้เคมีอยู่ประจำ และความต้องการธาตุอาหารของทุเรียนในแต่ละช่วงก็ไม่เท่ากัน อยากทราบว่าปุ๋ยอินทรีย์มีค่าN-P-Kเท่าไหร่ หรือสามารถใช้ได้ทุกช่วงของทุเรียน ถ้าเราจะใช้ปุ๋ยเคมีควบคู่ไปด้วยแล้วเราเอาดินไปวิเคราะห์แล้วใส่ในส่วนที่ขาดไม่ทราบว่าดินจะเสียมั้ยครับ ปุ๋ยอินทรีย์ที่บริษัทขายให้ชาวบ้านไม่ใช่ถูกนะครับนอกจากทำเอง

การทำเกษตรอิทรีย์ เป็นสิ่งที่ยากและท้าทาย หากเราคาดหวังว่าการทำเกษตรอินทรีย์ให้ได้ตามมาตรฐานสากล คนเดียวคงทำยาก เพราะรอบข้างยังใช้สารเคมี หลักคิดของเกษตรอินทรีย์คือการสร้างแวดล้อมกับสู่ธรรมชาติ ตัวอย่างที่ยกคือ คุณคำนึง นั้นท่านสร้างสวนให้กลับสู๋ธรรมชาิติได้ ก็ต้องอาศัยเวลาไม่ตำ่กว่า 10 ปี เพราะฉะนั้นการทำเกษตรอินทรีย์ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน จะ สามปีสี่ปี ก็ว่าไป อาจจะเริ่มต้นจากการใช้ปุ๋ยอินรีย์ร่วมกับเคมีไปก่อน เพราะปุ๋ยอินทรีย์มีธาตุอาหารน้อยมาก จะเท่าไหร่นั้น ก็ขึ้นกับวัสดุที่นำมาทำอีก ใส่เพื่อปรับโครงสร้าวของดิน ปรับนิสัยของต้นไม้ แล้วค่อยๆลดปุ๋ยเคมีจนไม่ใช้เลย พยามยามใช้พืชสมุนไพรในการกำจัดโรคแมลง ซึ่งก็มีท่านผู้รู้ได้ทดสอบและเขียนรายงานไว้มากมาย ผลผลิตอาจลดลงเป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าอินทรีย์จริงๆแล้วปริมาณน้อยแต่ก็ขายได้ราคาแพง และลดต้นทุนการผลิต ผลตอบแทนอาจจะมากกว่าใช้เคมีเสียอีก และที่ได้มากกว่านั้น คือสุขภาพของเรา จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือเคมีก็ควรนำดินไปตรวจทุก 2 ปีครับ เพื่อดูสภาพโครงสร้างของดิน และธาตุอาหารพืชที่ตกค้างในดิน แต่ถ้าให้ดีควรนำไปไปตรวจด้วยครับ บ้างครั้งปุ๋ยในดินมี แต่พืขไม่สามารถนำไปใช้ได้ เราก็ทราบจาการตรวจใบนี้แหละครับ การทำเกษตรอินรีย์ต้องเชื่อมั้น และพยายาม จึงจะประสบผลสำเร็จ

ขอบคุณครับ

ห้างหุ้นส่วนจำกัด พรจันทร์ธุรกิจการเกษตร จำหน่ายปุ๋ยปลา ตราชาวประมง

คุณสมบัติของปุ๋ยปลาตราชาวประมง

เป็นปุ๋ยอินทรีย์สภาพของเหลวที่เกิดจากการหมักวัสดุอินทรีย์ มีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตต่อพืช ย่อยสลายออกมาเมื่อใช้ในสัดส่วนความเข้มข้นที่เหมาะสมและในสภาพที่เอื้อต่อการดูดซึมของพืช

วัตถุดิบ

ปลาสดจากทะเล : ใช้การบดละเอียดโดยเครื่องเพื่อดึงให้ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก แก่ต้นพืชให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

ไคโตซาน : เป็นไบโอโพลิเมอร์ธรรมชาติอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นองค์ประกอบอยู่ในเปลือกนอกของสัตว์พวก กุ้ง ปู แมลง และเชื้อรา เป็นสารธรรมชาติที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว ประโยชน์ ยับยั้งและสร้างความต้านทานโรคให้กับพืช ทำให้เกิดโอกาสการสร้างความต้านทานของพืชต่อแมลงศัตรูพืช ช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน

ส่าเหล้า : สารอินทรีย์ และ อนินทรีย์ มีสีน้ำตาลเข้ม และมีธาตุอาหาร N: P: K ซึ่งเป็นสารอาหารที่พืชต้องการ

จุลลินทรีย์ : สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เป็นตัวกลางช่วยเร่งปฏิกิริยาการดูดซึมธาตุอาหารของพืชได้เร็วขึ้น

กรดอะซิติก: มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคพืช

กากน้ำตาล: มีธาตุอาหารพร้อมทั้งธาตุหลักและธาตุรองและอื่นๆเช่น ซูโคลส เพื่อสร้างความสดชื้นให้กับต้นไม้

ใช้ได้กับทุกชนิดพืช ไม้ผล,ไม้ดอก-ไม้ประดับ,พืชสวน,พืชไร่,พืชผัก,นาข้าว,โรงเพาะเห็ด,หัวเชื้อในการทำปุ๋ยหมักแห้ง, ปาล์มน้ำมัน, ยางพารา

มีจำหน่ายขนาด 1 ลิตร 20 ลิตร มีทั้งปลีกและส่ง ราคาไม่สูงคุยกันได้ทุกเรื่อง เพราะเราเป็นแหล่งวัตถุดิบ มีใบอนุญาตผลิตพร้อม

http://www.paknamlangsuan.com/phonchan

พร้อมจัดส่ง

เราขอเสนอขายปุ๋ยปลาเพื่อเป็นหัวเชื้อในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แห้ง และรับผลิตปุ๋ยปลาตามสูตรของท่าน ในราคาต่ำ และเรายังมีสูตรพิเศษโดยผสมไคโตซานอีกด้วย

สนใจติดต่อฝ่ายขาย คุณ พิริยะ อุสายพันธุ์ โทร 087-3422240

คุณสามารถ แสงจันทร์ โทร 083-1062524

ประโยชน์ของปุ๋ยปลาชาวประมง

1.ใช้ผสมน้ำพ่นให้พืชทางใบหรือให้พร้อมกับระบบน้ำทางดิน

2. ช่วยส่งเสริมการดูดซึมธาตุอาหารแก่พืชทางรากและใบ

3. ช่วยเสริมสร้างความเจริญเติบโตและความสมบูรณ์แก่ลำต้นดอกใบและผล

อัตราการใช้

พืช อัตราส่วน วิธีการใช้

พืชผัก-ไม้ดอกไม้ประดับ

พริก มะเขือ ถั่วฝักยาว ผักกินใบ ผักกินหัว – กล้วยไม้ หน้าวัว กุหลาบและไม้ใบทุกชนิด

20-50 ซี.ซี. / น้ำ 20 ลิตร

ฉีดพ่นทุก 7-15 วัน

ไม้ผล – พืชสวนทุกชนิด

องุ่น ลำไย มะม่วง เงาะ ทุเรียน ฝรั่ง และผลไม้อื่น ๆ

40-80 ซี.ซี. / น้ำ 20 ลิตร

ฉีดพ่นทุก 15-30 วัน

พืชไร่

ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง ยาสูบ ปาล์ม ยางพารา และพืชไร่ทุกชนิด 20-50 ซี.ซี. / น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 15-30 วัน

หมายเหตุ ฉีดพ่นละอองเล็กๆ พอเปียกทั่วใบและทุกส่วนของพืช

ผู้ผลิต : ห้างหุ้นส่วนจำกัด พรจันทร์ธุรกิจการเกษตร เลขที่ 279/8 หมู่ที่ 4 ตำบลวังตะกอ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 86110 โทร (077)541347, 544473 โทรสาร (077)582310

สถานที่ผลิต : เลขที่ 78 หมู่ที่ 13 ตำบลบางมะพร้าว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 86150

1 ตอนนี้ดอกทุเรียนกำลังบานแต่เห็นมียอดอ่อนแตกออกมาแล้ว

มีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง

2 ต้นทุเรียนบางต้นไม่ได้ออกดอกเลย

ตอบกลับด้วยครับ

ต้องการทราบการทำสวนทุเรียนให้ได้ผลดี ต้องทำแบบไหนบ้างครับ ที่บ้านผมปลูกหลายไร่อยุ่ครับ

ทำสวนทุเรียนให้ได้ดี แม้ตอบยาก อันแรกต้องมีความรู้เกี่ยวกับพื้นที่ก่อนครับ ดินน้ำความชื้น ต้องศีกษาเองอ่ะครับ สองต้องรู้จักนิสัยทุเรียน สามเทคนิคต่าง ๆ แหล่งเรียนรู้ที่ดีก็เพื่อนบ้านเราแหละครับ

อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุีรี ปลูกทุเรียนได้ไหม ถ้าได้ควรปลูกพันธุ์อะไรดี ขอบคุณสำรับทุกคำตอบครับ

ผมมีสวนทุเรียนอยู่ผมอยากรู้วิธีการใช่ปู๋ยบำรุงดิน ต้น แต่ต้นของผมก็สมบูณดีแต่ทำไม่ไม่ค่อยจะติดดอกผลครับ ช่วยบอกวิธีหน่อย

มีสวนมา 10 ปี เพิ่งจะเริ่มมาจริงจัง ศึกษาราว 2 ปีมานี้เอง โดยสรุปกล่าวคือ ต้นไม้ก็เหมือนคน คนที่สุขภาพแข็งแรงโรคภัยไข้เจ็บก็ไม่เบียดเบียนหรือเบียดเบียนก็จากหนักเป็นเบา จากเบาก็ไม่เป็นอะไรเลย ฉะนั้นเราต้องทำอย่างไรก็ได้ให้ต้นไม้แข็งแรง พอเค้าแข็งแรง การติดผล การต้านทานโรคก็จะเป็นอย่างที่เราต้องการ แต่การทำให้ต้นไม้แข็งแรงก็ต้องใช้เวลา เดี๋ยวนี้คนเราเอาเร็วเข้าว่าจึงไม่ทันใจ กรณีทุเรียน เนื่องจากเกสรจะบานช่วงหัวค่ำ ซึ่งเป็นช่วงที่แมลงกลับรังหมดแล้ว ทุเรียนจึงจำเป็นต้องมีการช่วยผสมเกสร ซึ่งก็แล้วแต่เทคนิคของแต่ละคนที่ได้รับรู้มา อาจจะใช้สารเคมี หรือ อาจจะใช้คนช่วยผสม

รุ่น ครึ่งโลราคาเท่าไหร่

ผมต้องการรู้วิธีการให้น้ำทุเรียนตอนออกดอก

ขอบคุณครับ  ผมจะนำไปใช้ที่แปลงของผมดูครับ

แปลงผมอยู่จังหวัด เลย  อ.เชียงคาน ต.เขาแก้ว

มีอยู่  2 ต้นใหญ่   5 ต้นเล็ก  ตอนนี้ต้นใหญ่กำลังออกดอก

เพสไว้ผมจะเข้ามาดู@_@

อยากเริ่มต้นใช้เกษตรอินทรีย์แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นทำอย่างไรดีสวนอยู่ที่จ.ชุมพร ตอนนี้ตัดขายบ้างแล้วเหลือประมาณ1-2 รอบก็จะหมดแล้ว คิดว่าจะใส่ปุ๋ยบำรุงต้นบำรุงดินเตรียมพร้อมสำหรับฤดูกาลใหม่ ทุเรียนที่นี้จะเริ่มเป็นดอกประมาณกลางหรือปลายเดือนมกราคมอยากรู้ว่าต้องใส่ปุ๋ยอะไรใช้ปุ๋ยยี่ห้อขวัญดินกับปุ๋ยอินทรีย์ทีพีไอได้หรือเปล่า กลุ้มใจมากอยากใช้เกษตรอินทรีย์แต่จนปัญญาเพราะมันหลากหลายสูตรหลากหลายวิธีทำ

สวัสดีครับ

คือผมอยากทราบว่าที่สำนักงานเกษตรที่จันท์ พอจะมีข้อมูลเรื่องสูตรปุ๋ยชีวภาพมั้ยครับ พอดีอยากลองทำใช้เองในสวน แต่ว่าไม่รู้จะเลือกสูตรไหนดีอ่ะครับ

ที่บ้านก็ทำสวนผลไม้เหมือนกันแต่ปลูกผสมการดูแลยากมาก อยากทราบว่าวิธีไหนบ้างค่ะในการดูแลสวนผลไม้แบบปลูกผสมค่ะ

 

แล้วถ้าอากาศร้อนจัดแต่ปรากฎว่าทุเรียนไม่ออกดอกทั้งที่ใสปุ๋ยก็เยอะก็เลยโชยน้ำไปเล็กน้อยก็มีตุ่มเล็กๆๆที่ตาดอกแต่ต่อมาปรากฎว่าฝนตกติดกันสองวันแล้วจากดอกมันจะกลายเป็นยอดใบอ่อนหรือเปล่า แล้วถ้าฝนหยุดตกมีโอกาสที่มันจะออกดอกอีกมั้ย

เนื่องจากได้ไปเที่ยวสวนลุงคำนึงกับเนชั่น แล้วได้ซื้อต้นทุเรียนกลับมา๑ ต้นใครๆหัวเราะกันใหญ่ ก็น่าหัวเราะิอยู่เพราะตอนนี้คงใกล้ตายแล้วไม่มีการออกใบแตกกิ่งเลย น่าสงสารต้นไม้เหมือนกัน แต่ก็ชอบนะเที่ยวแบบนี้ ได้เดินดูสวนของคนอื่น คราวหน้าจะซื้อต้นเงาะดีกว่า จริงๆจะซื้อปุ๋ยด้วยแต่ให้หมด ได้สบู่น้ำผึ้งมาก้อนรู้สึกใช้แล้วถูกกัน มากกว่าสบู่สาวหลง

น่าสนใจมากครับผมก็ปลูกทุเรียนอยู่ที่อำเภอแกลงอายุทุเรียนหกเดือนแล้วครับ

ผมสนใจกับการปลู กทุเรียนมากครับผมจะลองชื้อต้นทุเรียนไปปลูกที่นครสวรรค์ไม่รู้ว่าจะโตป่าว

ทุเรียนออกดอกตัดแขนงได้มั้ยค๊ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท