โค้ชส้ม Citrus
Miss. ปรีดิ์ฤทัย โค้ชส้ม ตั้งจิตญาณพัฒน์

Learn how to Learn : Learn from Anything ตอนที่ 1


ค้นหาคำอธิบายที่ง่ายๆ สำหรับคนที่ไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อน คำตอบผุดขึ้นมาในวงประชุม

     ไม่ได้เข้ามาเขียนบันทึกเสียนาน มากกกก จนไม่รู้ว่าชาวบ้าน เขาไปถึงไหนกันแล้ว รู้แต่ชาวเราในบริษัท กำลังขมักเขม้น กับการขยายผล Facilitating skills กันหลากหลายรูปแบบ

     ในฐานะที่เป็น Inno Facilitator ยุคแรกๆ จึงได้รับมอบหมายให้ไปช่วยกิจกรรม Learn how to Learn ซึ่งเป็นหัวข้อแรกที่น้องๆ อายุงาน 1-3 ปี จะต้องเรียนรู้ ก่อน เพื่อนำกระบวนการ reflection ไปใช้ในการเรียนรู้ด้านวิชาชีพของตัวเอง และนำแนวคิดการเรียนรู้ไปใช้ในงาน โปรแกรมการพัฒนานี้แบ่งเป็น ด้านขายกับตลาด และ ด้านวิศวกรรมโรงงาน โดยเรียนแยกกลุ่มกัน

     ตอนได้รับโจทย์มา ก็ไม่ง่ายนัก เพราะน้องบางคนเคยผ่าน Orientation Program ของระดับเครือฯ มาแล้ว บางคนเพิ่งเข้างานมา ยังไม่รู้อะไรเลยก็มี แต่เป็นส่วนน้อย ความยากจึงอยู่ที่ทำอย่างไร ไม่ให้ผู้เรียนเบื่อ และได้ทบทวนของเก่า พร้อมรับแนวคิดใหม่

     สำหรับรุ่น 1 ได้เวลาเต็มวัน จึงมีโอกาสให้ผู้เรียน รับรู้ เรียนรู้จาก สื่อหลายอย่าง เช่น รายการคอนเสิร์ต ของคุณประภาส ชลศรานนท์ ชื่อ เพลง ดอกชบาในโรงเรียนสอนคนตาบอด ซึ่งเป็นที่กล่าวขานว่า ผู้ดู ดูแล้วได้แง่คิดหลายอย่างทั้งจากเนื้อเพลง และการออกแบบการแสดงชุดนี้ ต้องลองไปหามาดูกันนะคะ ซึ้งมากๆ

     ส่วนเรื่องที่เป็นเครื่องไม้ เครื่องมือ ที่น้องๆ รู้จักกันมาบ้างแล้ว เช่น Deep Listening, Mind Map, World Cafe' อยากรู้ว่าน้องยังจดจำได้ไหม จึงตั้งชื่อกิจกรรมนี้ว่า Learn from Peers โดยให้คนที่เคยเรียนแล้วมานั่งทบทวนกันจนเข้าใจ แล้วอธิบายให้คนในกลุ่มที่ไม่เคยผ่านเข้าใจให้ได้ จนสามารถเป็นผู้แทนกลุ่มนำเสนอข้อสรุปของกลุ่ม   ... สิ่งที่คิดไว้เป็นจริง  แม้น้องๆ ที่เคยผ่านกิจกรรมการเรียนรู้เครื่องมือต่างๆ มาแล้ว ต้องใช้เวลาทบทวนพอสมควร กว่าจะช่วยกันปะติด ปะต่อได้

 

     ในช่วงบ่าย ลองให้ประดิษฐ์สิ่งของจากกองขยะ วัสดุเหลือใช้รอทิ้ง โดยให้โจทย์ว่า "ประดิษฐ์อะไรก็ได้จากวัสดุที่มี ซึ่งของชิ้นนี้ต้องนำมาใช้ในภาวะโลกร้อนขึ้นอีก 5 องศาเซลเซียส" เราไม่ได้ใจร้ายเกินไป เตรียมข้อมูลมาเป็นปึกวางไว้กองกลาง ใครอยากอ่าน ก็มาหยิบไป แต่ห้ามครอบครอง ก่อนประดิษฐ์ ก็ให้ดูหนัง Inconvenient Truth ประมาณ 15 นาที พอหอมปากหอมคอ เพราะท่าจะหลับแน่ ถ้าดูนาน

     แล้วน้องๆ ก็ช่วยกันสรรสร้างอุปกรณ์ ออกมาประกวดกัน ระหว่างทำกิจกรรมจะมี Fa พี่เลี้ยงคอยยั่ว คอยขวางไม่ให้ทำแบบเดิมๆ คือรีบร้อนหาคำตอบ ต้องคอยกำกับให้ เปิดใจฟัง แบ่งปันสิ่งของที่ไม่ใช้ ไปให้กลุ่มอื่นบ้าง ตอนที่ให้หยิบของจากกองกลาง มีการจำกัดเวลา ถ้าหมดเวลา ก็หมดสิทธิ์หยิบอีก ต้องใช้วิธีเอาของไปแลกกับกลุ่มอื่น

     สุดท้ายแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงาน บอกที่มาของแนวคิด วิธีการทำงานของกลุ่มที่ได้ข้อสรุปออกมา รวมทั้งอธิบายประโยชน์ของสิ่งประดิษฐ์ที่ทำขึ้นมา กรรมการจะพิจารณาว่าตอบโจทย์ที่บอกไปหรือไม่

     เวลาทำกิจกรรมต่างๆ ช่วงสุดท้ายต้องมี การสะท้อนบทเรียนที่ได้จากการเรียนรู้ที่ผ่านมาทั้งวัน ตามสูตร ถามว่าได้สาระอะไร รู้สึกอย่างไร และจะนำอะไรไปใช้ในการทำงาน ในชีวิตส่วนตัวได้บ้าง โดยการให้ทำแบบ World Cafe'  เพื่อให้ทบทวนการใช้เครื่องมือต่างๆ ครบถ้วนตามที่แต่ละกลุ่มคุยกันไว้

     จบรุ่น 1 ไป มี feedback จากกรรมการหลักสูตรว่า ลดเวลาเหลือ 0.5 วันก็พอ พอได้ยินดังนั้น รุ่น 2 จะทำอะไร มึนไปเหมือนกัน นี่จะไม่ต้องมีเวลาให้ผู้เรียนใคร่ครวญเลย ยัดเยียดกันมากเกินไป แต่เด็กรุ่นใหม่ เรียนรู้ไว คงต้องไปออกแบบให้เหมาะกับ Gen Y มีเวลาเกือบเดือน คอยติดตามดูว่า จะงัดอะไรออกมาอีก เหมือน หรือต่างกับรุ่นแรกอย่างไร

หมายเลขบันทึก: 286446เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2009 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • พี่ส้มครับ
  • น้องสอนนิสิตแบบ project based learning
  • น้องคิดว่า แค่ ครึ่งวันน้อยไปสำหรับพนักงานครับ
  • น่าจะมีเวลาให้เขาคิดใคร่ครวญในอีกหลายๆๆประเด็น
  • การ reflection ก็เป็นสิ่งสำคัญครับ
  • มาเชียร์พี่ส้มครับ
  • สู้ๆๆๆ

ติดตามอ่านเพราะอยากเรียนรู้เพราะอบรมน้อยและอ่านน้อยค่ะ มีประสบการณ์จากการทำงานบ้าง

จะติดตามอ่านนะคะ

ขอบคุณค่ะ

มาติดตามอ่าน....สวัสดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท