หลักสูตรท้องถิ่นที่มีลักษณะสอดคล้องกับสภาพและความต้องการของชุมชน


เด็กยุคใหม่เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น

ส่วนที่  1  การสรุปย่องานวิจัย

 

   ชื่อเรื่อง       การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทอผ้ามัดหมี่

  ผู้วิจัย              นางสาวอุดม ปานฮวด

   ปีที่วิจัย           2546

 

 สรุปปัญหาที่มาของการวิจัยและปัญหาวิจัยให้ชัดเจน

1. สภาพปัจจุบันโรงเรียนยังไม่ได้จัดทำหลักสูตรที่สอดคล้องกับสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นส่งผลให้นักเรียนขาดการพัฒนาความรู้ ทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์เท่าที่ควร ซึ่งจะเห็นได้จากรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพ ของโรงเรียนบ้านโคกแสมสาร พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพชั้น .6 คิดเป็นร้อยละ 67.32 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ

2. ปัญหาของหลักสูตรในกลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพตามหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533) ซึ่งเป็นการพัฒนาหลักสูตรแกนกลางโดยผู้เชี่ยวชาญจากส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ มีจุดประสงค์ของการเรียนการสอน มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันแต่จากการติดตามผลที่เกิดขึ้นจากการใช้หลักสูตรดังกล่าวปรากฏว่าไม่ได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เพราะงานอาชีพที่นักเรียนได้เรียนไปไม่สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของชุมชน

 

 วัตถุประสงค์ของการวิจัย

                  1.เพื่อศึกษาศักยภาพและความต้องการของโรงเรียนและชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง การทอผ้ามัดหมี่

            2. เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การทอผ้ามัดหมี่

                  3. เพื่อติดตามผลการใช้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทอผ้ามัดหมี่ในระดับประถมศึกษาปีที่ 6

ขอบเขตของการวิจัย

                ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6    โรงเรียนบ้านโคกแสมสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตการศึกษาที่ 2 จังหวัดลพบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546จำนวน32 คน ผู้บริหารโรงเรียนบ้านโคกแสมสารจำนวน 3 คน และครูในโรงเรียน จำนวน 18  คน

              กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและวิทยากรท้องถิ่น ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง โดยผู้วิจัยได้สอบถามจากครูในโรงเรียนและผู้นำชุมชนว่ามีบุคคลใดจะให้ข้อมูลได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 35 คน

           

   ประเด็นที่จะศึกษาในการวิจัยนี้ ได้แก่

                       1.ศักยภาพและความต้องการของโรงเรียนและชุมชน ซึ่งจะพิจารณาถึงสภาพและปัญหาของชุมชนและโรงเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ความต้องการหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนและชุมชน ความพร้อมของโรงเรียนและชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น

                      2. จัดทำหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทอผ้ามัดหมี่ ขึ้นใช้ภายในโรงเรียนบ้านโคกแสมสาร  โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน

                     3. ผลการใช้หลักสูตรโดยพิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ซึ่งได้มาจากการทดสอบเพื่อวัดความรู้ด้านเนื้อหา และจากการประเมินชิ้นงานในแฟ้มสะสมงาน ทักษะที่พึงประสงค์ ได้แก่ทักษะการทำ งานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการนำ เสนอผลงาน และทักษะการแสวงหาความรู้ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ได้แก่ ความรับผิดชอบ และความกล้าแสดงออก เจตคติต่ออาชีพการทอผ้ามัดหมี่ สภาพการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการเรียนการสอน

 

นิยามศัพท์เฉพาะ

               หลักสูตรท้องถิ่นเรื่องการทอผ้ามัดหมี่ หมายถึง แผนการเรียนรู้ซึ่งได้ออกแบบจัดทำขึ้นเพื่อแสดงถึงจุดหมาย การจัดเนื้อหาสาระ กิจกรรมและมวลประสบการณ์ เกี่ยวกับการทอผ้ามัดหมี่ เพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาการในด้านต่างๆตามจุดหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งผู้วิจัย สถานศึกษารวมทั้งองค์กรชุมชน ร่วมกันพัฒนาขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่น และเป็นการจัดประสบการณ์ให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพการทอผ้ามัดหมี่

              การทอผ้ามัดหมี่ หมายถึง กรรมวิธีการทอผ้าวิธีหนึ่ง ใช้เส้นด้ายสำเร็จรูปที่ผ่านการมัดเป็นเปลาะๆ ตามลายแล้วนำ ไปย้อมสี เมื่อนำ ไปทอจะได้ลวดลายต่างๆตามที่มัดไว้

             ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่ได้จากการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในเนื้อหาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทอผ้ามัดหมี่ ซึ่งพิจารณาจากคะแนนที่ได้จากการทำแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคะแนนจากการประเมินชิ้นงานในแฟ้มสะสมงานของนักเรียนในวิชาการทอผ้ามัดหมี่

             ทักษะที่พึงประสงค์ หมายถึง กระบวนการทำ งานที่ดีของนักเรียนที่หลักสูตรต้องการให้เกิดขึ้น ได้แก่ทักษะการทำ งานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการนำ เสนอผลงาน และทักษะการแสวงหาความรู้

           ทักษะการทำ งานร่วมกับผู้อื่น หมายถึง ความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและได้รับการยอมรับจากผู้ร่วมงาน

           ทักษะการนำ เสนอผลงาน หมายถึง ความสามารถในการสื่อสารเพื่อเสนอถึงผลงานที่ปฏิบัติได้

           ทักษะการแสวงหาความรู้ หมายถึง ความสามารถในการวางแผนและค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

           คุณลักษณะที่พึงประสงค์ หมายถึง ลักษณะที่ดีของผู้เรียนที่หลักสูตรต้องการให้เกิดขึ้นจากการใช้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทอผ้ามัดหมี่ ได้แก่ ความกล้าแสดงออก และความรับผิดชอบ

            ความกล้าแสดงออก หมายถึง การกล้าพูด กล้าทำ ในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม

            ความรับผิดชอบ หมายถึง การปฏิบัติสิ่งต่างๆ ได้ครบถ้วนตามระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้

            เจตคติต่ออาชีพการทอผ้ามัดหมี่ หมายถึง ความรู้สึกชอบ ไม่ชอบต่ออาชีพการทอผ้ามัดหมี่         

 

ประโยชน์ของการวิจัย

           1. ได้หลักสูตรท้องถิ่นที่มีลักษณะสอดคล้องกับสภาพและความต้องการของชุมชนที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ

            2. นักเรียนได้มีโอกาสฝึกทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการนำ เสนอผลงาน และทักษะการแสวงหาความรู้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดำ รงชีวิตต่อไปในภายภาคหน้า

            3. นักเรียนได้พัฒนาคุณลักษณะที่ดีในการทำ งานคือ ความกล้าแสดงออกความรับผิดชอบ และเกิดความรัก ความภูมิใจในอาชีพของท้องถิ่นของตน

เอกสารและงานวิจัย

หมายเลขบันทึก: 286980เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2009 22:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท