บทที่ 4 -- การสร้างองค์ความรู้ใหม่และพัฒนาองค์ความรู้เก่า (3 - I)


3.      ภาคผนวก

 

3.1  โครงการเวทีสัมมนาวิชาการ

 

คณะทำงาน

๑.             นางสาวบงกช นภาอัมพร[1]    

๒.           นางสาวอัจฉรา สุทธิสุนทรินทร์[2]

๓.            นางสาวกิติวรญา รัตนมณี[3]

 

ที่ปรึกษากิจกรรม

๑.             รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร[4]        

๒.           อาจารย์วีนัส สีสุข[5]                                         

๓.            อาจารย์ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล[6]          

๔.            นายภควินท์ แสงคง[7]

องค์กรสนับสนุน

มูลนิธิเอเชีย

องค์กรร่วมจัด

กองทุนคนึง ฦาไชย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, โครงการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ, โครงการการแก้ปัญหาคืนสัญชาติคนไทย จ.ระนอง ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ และมูลนิธิกระจกเงา

 

สถานะของกิจกรรม

กิจกรรมเวทีสัมมนาวิชาการ ถึงเวลาเริ่มนับหนึ่ง กับ กฎหมายว่าด้วยการคืนสัญชาติไทยให้คนไทยพลัดถิ่น เป็นกิจกรรมหนึ่งภายใต้ โครงการขยายองค์ความรู้จากแม่อายสู่อันดามันเพื่อการจัดการปัญหาสิทธิในสถานะบุคคลของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ

 

แนวคิด

จากการศึกษาวิจัยจากนักวิชาการหลายๆ ฝ่าย แม้พบว่าปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติของคนในพื้นที่อันดามันนั้นมิได้มีความแตกต่างจากพื้นที่ภาคอื่นๆ ของประเทศไทย การจัดการปัญหาดังกล่าวก็สามารถดำเนินการได้โดยการใช้กฎหมายนโยบายที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่การจัดการปัญหาโดยการใช้กฎหมายนโยบายที่มีอยู่ ไม่ตรงตามความต้องการของเจ้าของปัญหากลุ่มพิเศษที่พบในพื้นที่แถบนี้ ที่ถูกรัฐไทยเรียกว่า คนไทยพลัดถิ่น

คนเชื้อสายไทย หรือที่เรียกว่า คนไทยพลัดถิ่น คือ บุคคลที่เคยอาศัยอยู่ในดินแดนต่างชาติ[8] ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศไทย แต่ได้เสียให้แก่รัฐต่างประเทศ อาทิ กรณีการเสียดินแดน มะริด ทวาย ตะนาวศรี ให้กับ ประเทศพม่าเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2411 ตามที่ระบุในอนุสัญญาการปักปันเขตแดนไทยพม่าที่จัดทำโดยประเทศอังกฤษ[9] และคนเหล่านี้ก็ได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยภายหลัง คนกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งไม่ยอมรับการแปลงสัญชาติ ดั่งเช่น ชนกลุ่มน้อยกลุ่มอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมานาน ข้อยืนยันในความเป็นคนเชื้อสายไทยที่สืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษไทย และ  จิตสำนึกในความเป็นคนไทยอย่างเข้มข้น ทำให้เกิดการเรียกร้องให้มีกระบวนการในการจัดการปัญหาให้เหมาะสมสำหรับคนไทยพลัดถิ่น

นอกจากกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนและอาศัยอยู่ในประเทศไทย ทั้งที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่อันดามันกว่า 35,000 คน รวมถึงกลุ่มคนไทยพลัดที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่อื่นๆทั่วประเทศไทย จะประสบปัญหาด้านสถานะบุคคลดังที่ได้กล่าวข้างต้น ยังพบว่าปัญหาด้านการเข้าถึงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ได้แก่ สิทธิในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน ก็เป็นปัญหาใหญ่ที่คนกลุ่มนี้กำลังประสบเช่นกัน ซึ่งสาเหตุหนึ่งก็เกิดจากความไร้สถานะบุคคลของคนกลุ่มนี้นี้เอง

ดังนั้นจึงเกิดเป็นแนวคิดในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการจัดการปัญหาสถานะบุคคลสำหรับคนไทยพลัดถิ่นโดยพัฒนาจากองค์ความรู้เก่าที่หลายๆ ฝ่ายได้ทำการศึกษาวิจัยมาตลอด ประกอบกับยุทธศาสตร์จัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2548 เองก็ให้ความสำคัญกับคนเชื้อสายไทยกลุ่มนี้ รวมทั้งความเห็นของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขการไร้สถานะทางกฎหมายและสิทธิของบุคคลในประเทศไทย สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่เห็นควรมีการยกร่างพระราชบัญญัติเพื่อคืนสัญชาติให้แก่คนไทยพลัดถิ่น ทางโครงการขยายองค์ความรู้แม่อายสู่อันดามันฯ จึงเห็นว่าควรให้มีการจัดเวทีสัมมนาวิชาการ ในหัวข้อ ถึงเวลาเริ่มนับหนึ่ง กับ กฎหมายว่าด้วยการคืนสัญชาติไทยให้คนไทย
พลัดถิ่น
ซึ่งเป็นเวทีสัมมนาทางวิชาการเพื่อการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกันจากหลายๆ ภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น ภาควิชาการ ภาคการเมือง ภาคราชการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาคสื่อมวลชน เป็นต้น เพื่อให้เกิดเป็นข้อสรุปร่วมกันในเวทีอันจะนำไปสู่แนวทางในการแก้ไขปัญหาของคนไทยพลัดถิ่นที่เหมาะสมต่อไป

 

วัตถุประสงค์

๑.  เพื่อรวบรวมและตรวจสอบเครือข่ายในการทำงานเพื่อการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลของกลุ่มคนเชื้อสายไทยโดยการยกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคืนชาติ พ.ศ.....

๒.  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ ระดมองค์ความรู้จากเครือข่ายในทุกๆ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการจัดการปัญหาการคืนสัญชาติให้แก่คนเชื้อสายไทย

๓.       เพื่อกำหนดย่างก้าวในการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลของกลุ่มคนเชื้อสายไทยโดยการยกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคืนชาติ พ.ศ.....

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.             เกิด การรวมตัวของเครือข่าย ในการทำงานเพื่อการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลของกลุ่มคนเชื้อสายไทยโดยการยกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคืนชาติ พ.ศ.....

๒.           เกิด องค์ความรู้ จากเครือข่ายในทุกๆ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการจัดการปัญหาการคืนสัญชาติให้แก่คนเชื้อสายไทย

๓.   เกิด แผนปฏิบัติการ (Master Plan)” ในการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลของกลุ่มคนเชื้อสายไทยโดยการยกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคืนชาติ พ.ศ.....

 

ระยะเวลาดำเนินกิจกรรม

พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 - กุมภาพันธ์  2552

 

สถานที่ดำเนินกิจกรรม

-     จังหวัดระนอง: กิจกรรมในการลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบสภาพปัญหาและความคืบหน้าในการแก้ไขของกรณีศึกษากลุ่มคนไทยพลัดถิ่น และ กิจกรรมเวทีเสวนาระหว่างคณะทำงานเพื่อทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมสู่เวทีใหญ่ ณ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2552

-     คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์): กิจกรรมเวทีสัมมนาวิชาการ ในหัวข้อ ถึงเวลาเริ่มนับหนึ่ง กับ กฎหมายว่าด้วยการคืนสัญชาติไทยให้คนไทย
พลัดถิ่น

 

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

ประมาณ 40 50 คน ประกอบด้วยบุคคลจากภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ (1) ภาควิชาการ (2) ภาคราชการ (3) ภาคกระบวนการยุติธรรม (4) ภาคการเมือง (5) ภาคองค์กรพัฒนาเอกชน (6) ภาคองค์การระหว่างประเทศ (7) ภาคประชาชน และ (8) ภาคสื่อมวลชน

 

กำหนดการเวทีสัมมนา

 

กำหนดการ

08.30 – 09.00 น.

ลงทะเบียนและรับเอกสารประกอบการสัมมนา

09.00 – 09.10 น.

กล่าวต้อนรับ

โดย  คุณสิทธิพงษ์ จันทรวิโรจน์ (รอการยืนยัน)
อดีตที่ปรึกษาด้านกฎหมายศูนย์ช่วยเหลือสิทธิและกฎหมายแก่ผู้ประสบภัยสึนามิ มูลนิธิเอเชีย

09.10 – 09.25 น.

กล่าวเปิดการสัมมนา

โดย  ดร.วงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ (รอการยืนยัน)
อธิบดีกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ช่วงที่ 1

09.25 – 09.45 น.

“ความเป็นมาของร่างกฎหมายว่าด้วยการคืนสัญชาติไทยแก่กลุ่มคนไทยพลัดถิ่น”

โดย  คุณวีนัส สีสุข

อดีตเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

ช่วงที่ 2

09.45 – 10.15 น.

 

ร่างกฎหมายว่าด้วยการคืนสัญชาติไทยแก่กลุ่มคนไทยพลัดถิ่น: ความเป็นไปได้ในกระบวนการนิติบัญญัติของไทย

โดย  รศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

10.15 – 10.45 น.

ร่างกฎหมายว่าด้วยการคืนสัญชาติไทยแก่กลุ่มคนไทยพลัดถิ่น: หน้าที่ของรัฐไทยภายใต้หลักกฎหมายระหว่างประเทศ”

โดย  รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร
รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชากฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ช่วงที่ 3

10.45 – 11.15 น.

“ข้อสนับสนุนทางวิชาการด้านมนุษยวิทยา: อย่างไรที่เรียกว่า ไทยพลัดถิ่น

โดย อาจารย์ ดร.ฐิรวุฒิ เสนาคำ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

11.15 11.45 น.

ปากคำคนไทยพลัดถิ่น: จะรู้ได้อย่างไรว่าใคร คือ ไทยพลัดถิ

หมายเลขบันทึก: 287024เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2009 00:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 19:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท