บทที่ 5 -- การเผยแพร่องค์ความรู้ในพื้นที่อันดามันในรูปแบบของหนังสือ


1.      ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของกิจกรรม

 

จาก การลงพื้นที่เพื่อติดตามความคืบหน้ากรณีศึกษาตัวอย่าง ตามกิจกรรมที่ได้วางไว้ภายใต้ โครงการขยายองค์ความรู้จากแม่อายสู่อันดามัน (การจัดการปัญหาสิทธิในสถานะบุคคลของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ) เพื่อนำองค์ความรู้ในการจัดการปัญหาสิทธิในสถานะบุคคลของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ซึ่งใช้ในพื้นที่ภาคเหนือ (แม่อาย) มาปรับใช้กับกรณีศึกษาตัวอย่างนั้น ทางโครงการฯ ได้พบปัญหาที่สำคัญ คือ องค์ความรู้ด้านข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคนไร้รัฐไร้สัญชาติในพื้นที่อันดามันไม่ถูกเผยแพร่ไปสู่ภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่ควร นอกจากนี้ องค์ความรู้ด้านข้อกฎหมายที่จะสามารถกำหนดการจัดการปัญหาสิทธิในสถานะบุคคล ก็ไม่เป็นที่เข้าใจตรงกันเป็นการทั่วไปในหมู่คนทำงานด้านสถานะบุคคล

นี้จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ความพยายามในการแก้ไขปัญหาด้านสถานะบุคคลของคนทำงานในพื้นที่อันดามันยังไม่บรรลุเป้าหมายเท่าที่ควรจะเป็น ดั้งนั้น โครงการขยายองค์ความรู้แม่อายสู่อันดามันฯ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ดังกล่าวให้เผยแพร่ไปสู่สังคมภายนอก โดย การจัดทำหนังสือ (Pocket Book) ที่จะเป็นการสะท้อนภาพปัญหาสิทธิในสถานะบุคคลของคนไร้รัฐไร้สัญชาติในพื้นที่อันดามัน รวมไปถึงการจัดการกับปัญหาดังกล่าวที่ผ่านมา การจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน (Manual) โดยเน้นไปที่การปฏิบัติงานด้านการทะเบียนราษฎรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของบุคคลตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น การเกิด, การเพิ่มชื่อ และ การตาย เป็นต้น และ การจัดทำหนังสือรวบรวมกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการด้านสถานะบุคคลของชาวมอแกนในรัฐไทย โดยการประสานความร่วมมือจากหลายๆ ภาคส่วนผู้เป็นเจ้าของความรู้เพื่อให้เกิดเป็นหนังสือและคู่มือดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ, เจ้าหน้าที่กรมการปกครอง, องค์การพัฒนาเอกชนที่ทำงานในพื้นที่ หรือคนทำงานต่างสื่อ เพื่อสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจถึงปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติในพื้นที่อันดามันแก่สังคมภายนอก และเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใน สถานการณ์ด้านข้อเท็จจริง สถานการณ์ด้านข้อกฎหมายนโยบาย และ การจัดการปัญหาสิทธิในสถานะบุคคลของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ในพื้นที่อันดามันไปยังทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

  

2.      การจัดทำหนังสือ “5x6 จากแม่อาย... สู่อันดามัน

 

วัตถุประสงค์ย่อยของกิจกรรม

เพื่อสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจถึง สถานการณ์ด้านข้อเท็จจริง ของคนไร้รัฐไร้สัญชาติในพื้นที่อันดามันแก่สังคมภายนอก รวมทั้งการจัดการปัญหาสิทธิในสถานะบุคคลของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ โดยนำองค์ความรู้ที่ใช้ในพื้นที่ภาคเหนือ (แม่อาย) มาปรับใช้กับข้อเท็จจริงของกรณีศึกษาที่พบในพื้นที่อันดามัน

กลุ่มเป้าหมาย

๑.           เจ้าของปัญหา

๒.          องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเกี่ยวข้อง

๓.           หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง

๔.           สื่อมวลชน

๕.           บุคคลทั่วไป

วิธีการดำเนินงาน

     การจัดทำ Pocket Book

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สังคมมีความรู้และความเข้าใจถึง สถานการณ์ด้านข้อเท็จจริง และ การจัดการปัญหาสิทธิในสถานะบุคคลของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ในพื้นที่อันดามันมากยิ่งขึ้น

บรรณาธิการบริหาร

นายวีระ อยู่รัมภ์

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

นางสาวปิ่นแก้ว อุ่นแก้ว

กองบรรณาธิการ

๑.            นางสาวดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล

๒.           นางสาวสรินยา กิจประยูร

๓.           นายชุติ งามอุรุเลิศ

๔.           นายอัฏธิชัย ศิริเทศ

๕.           นางสาวบงกช นภาอัมพร

๖.            นางสาวอัจฉรา สุทธิสุนทรินทร์

๗.           นางสาวกิติวรญา รัตนมณี

 

3.      การจัดทำหนังสือ รักษาโรคไร้รัฐ ด้วยกฎหมายทะเบียนราษฎร (ฉบับเอนกประสงค์)

 

วัตถุประสงค์ย่อยของกิจกรรม

เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ในของคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ไปยังทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยจัดทำในรูปแบบของคู่มือปฏิบัติงานทางด้านทะเบียนราษฎรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของบุคคลตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น การเกิด, การเพิ่มชื่อ และ การตาย เป็นต้น

กลุ่มเป้าหมาย

๑.           เจ้าของปัญหา

๒.          องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเกี่ยวข้อง

๓.           หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง

๔.           สื่อมวลชน

๕.           บุคคลทั่วไป

วิธีการดำเนินงาน

     การจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีความรู้ในการจัดการปัญหาสิทธิในสถานะบุคคลของคนไร้รัฐไร้สัญชาติมากยิ่งขึ้น และสามารถนำความรู้จากคู่มือไปปฏิบัติได้จริง

บรรณาธิการ

นางสาวบงกช นภาอัมพร

ผู้เขียน

นายวีนัส สีสุข

 

4.   การจัดทำหนังสือ รักษาโรคไร้สัญชาติ ด้วยนโยบายของรัฐไทย (ฉบับชาวเลมอแกนและคนไทยพลัดถิ่น)

 

วัตถุประสงค์ย่อยของกิจกรรม

เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ในสถานการณ์ด้านข้อกฎหมายนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการด้านสถานะบุคคลของชาวมอแกนในรัฐไทย ไปยังทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มเป้าหมาย

๑.           เจ้าของปัญหา

๒.          องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเกี่ยวข้อง

๓.           หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง

๔.           สื่อมวลชน

๕.           บุคคลทั่วไป

วิธีการดำเนินงาน

     การจัดทำหนังสือรวบรวมกฎหมายนโยบาย

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีความรู้ในการจัดการปัญหาสิทธิในสถานะบุคคลของคนไร้รัฐไร้สัญชาติมากยิ่งขึ้น และสามารถนำความรู้จากคู่มือไปปฏิบัติได้จริง

บรรณาธิการ

นางสาวบงกช นภาอัมพร

ผู้เขียนและผู้รวบรวม

นายอุดมเขต ราษฎร์นุ้ย

หมายเลขบันทึก: 287031เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2009 01:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 16:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท