พัฒนาชีวิต เริ่มต้นที่วิธีคิดและจิตใจ.


พระพุทธเจ้ากล่าวว่า "ปัญญาไม่เกิดแก่ผู้ไม่พิจารณา" "ปัญญาเกิดแก่ผู้พิจารณา" ดังนั้น ต้องการปัญญาจึงจำเป็นต้องอาศัยการคิด พิจารณา การพิจารณาต้องอาศัย การคิดวิเคราะห์ แยกแยะองค์ประกอบ ยิ่งแยกแยะได้ละเอียดเท่าไร ยิ่งจะทำให้เห็นองค์ประกอบได้ชัดเจน เมื่อเห็นชัดย่อมที่จะนำมาพิจารณา คือ วิเคราะห์สังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งความชัดเจนขึ้น นี่ เรียกว่าความรู้ที่แจ้งชัด ความรู้ที่แจ้งชัดจึงเป็นปัญญายิ่งขึ้น ดังนั้น ปัญญา จึงมีได้หลายระดับ. ขึ้นอยู่กับระดับของปัญหา จุดอ้างอิงที่เราเปรียบ.

"ความจำ มีคู่กับการลืม" ตราบใดที่มันยังไม่ฝังแน่นลึกซึ้งลงในจิตใจจนสามารถที่จะกระทำให้กลายเป็นนิสัย    ดังนั้น  การเรียนรู้จึงไม่มีที่สิ้นสุด  ตราบเท่าที่เรายังเป็นผู้เรียนอยู่ 

ในความเป็นมนุษย์ที่ยังไม่สิ้นกิเลสนั้น  "ปัญญา" จึงเป็นตัวแทนที่ดีที่สุด ที่จะเป็นเครื่องมือในการชี้นำ เป็นแสงสว่างในการเดินทางของชีวิต

ถาม : แล้วปัญญาจะเกิดขึ้นได้อย่างไร? 

ตอบ : ปัญญา จะเกิดได้ก็ต้องใช้ กระบวนทางปัญญาน่ะสิ.
ถาม  : แล้วกระบวนการทางปัญญา ต้องทำอย่างไรล่ะ.

ตอบ  พระพุทธเจ้ากล่าวว่า "ปัญญาไม่เกิดแก่ผู้ไม่พิจารณา"  "ปัญญาเกิดแก่ผู้พิจารณา"  ดังนั้น ต้องการปัญญาจึงจำเป็นต้องอาศัยการคิด  พิจารณา 

การพิจารณาต้องอาศัย การคิดวิเคราะห์ แยกแยะองค์ประกอบ ยิ่งแยกแยะได้ละเอียดเท่าไร  ยิ่งจะทำให้เห็นองค์ประกอบได้ชัดเจน  เมื่อเห็นชัดย่อมที่จะนำมาพิจารณา คือ วิเคราะห์สังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น   ซึ่งความชัดเจนขึ้น นี่ เรียกว่าความรู้ที่แจ้งชัด  ความรู้ที่แจ้งชัดจึงเป็นปัญญายิ่งขึ้น  ดังนั้น ปัญญา จึงมีได้หลายระดับ.  ขึ้นอยู่กับระดับของปัญหา จุดอ้างอิงที่เราเปรียบ.

ปัญญา จึงเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนา และ พัฒนากันได้ และต้องพัฒนา คือ เรียนรู้ไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จนกว่าที่จะถึงปัญญาที่แท้จริง.  ซึ่งเป็นชีวิตที่ไม่มีปัญหา ไม่มีทุกข์  ไม่ต้องเกิด ไม่ต้องตาย  เรียกได้ว่า "นิพพาน"

ถาม  : แล้ว ปัญญานี่หากเราจะนำไปใช้กับกลุ่มคนที่ต่างกัน เราจะสอน บอกเล่าเขาได้อย่างไร ที่จะสื่อความหมายให้เขาเข้าใจง่ายขึ้น?

ตอบ : ปัญญา (Wisdom)  เมื่อปัญญาต้องอาศัยการคิดพิจารณา คือ การคิดวิเคราะห์เป็นฐาน  แล้วนำไปสู่การแก้ปัญหาได้    คำที่ใช้แทนปัญญา จึงอาจมีได้หลายคำ แล้วแต่จะเรียก  ถ้าแนวพุทธเราทางเดินของปัญญาก็ต้องคิดแบบโยนิโสมนสิการ..


ในทางวิทยาศาสตร์  ซึ่งต้องใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ทั้งนี้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นการแสวงหาความรู้ความจริงที่ต้องอาศัยการคิดพิจารณา  พิสูจน์ ทดลอง แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์จนสามารถสรุปผล แล้วนำไปสู่การเข้าใจความจริง และแก้ปัญหาได้    ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า  วิทยาศาสตร์ คือ ทางแห่งปัญญา  ได้เช่นกัน   

ทีนี่ ในกลุ่มคนที่ทำวิจัย  และยุคที่เน้นการวิจัยล่ะ   วิจัย เป็นการนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้  ดังนั้น การวิจัยจึงเป็นกระบวนการทางปัญญา   สำหรับทางพระพุทธศาสนา ใช้คำว่า วิจโย แทนคำว่า วิจัย  ซึ่งก็คือ ปัญญา นั่นเอง ดังนั้น ผู้ทำวิจัยจึงเป็นผู้มีปัญญา  มีปัญญาในเรื่องที่ทำวิจัยในเรื่องที่ศึกษานั่นเอง.    

ที่นี่มาถึงยุคที่เขาเน้นเรื่องจิตกัน  กล่าวกันว่า การเรียนรู้จะเกิดได้ดีด้วยอาศัยสมองเป็นฐาน ทั้งนี้สมองก็เกี่ยวข้องกับอารมณ์ จิตใจ .  จิต (mind) จึงได้กลายเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญ ต่อกระบวนการแห่งปัญญา

จิต ประกอบด้วย  การคิด และ การรู้เรื่องที่คิด   หรือ ตัวคิด  กับ ตัวรู้ นั่นเอง
เมื่อไรที่เกิดตัวรู้  นั่นก็คือ ปัญญา   แต่ ตัวรู้จะเกิดได้ก็ต้องอาศัยการคิด   มันเป็นบาทเป็นฐานกันนี่เอง.

คราวนี้...ขอยุติเรื่องคิดเรื่องนี้.
วกเข้ามาที่ปัญหาของตัวเอง.

ปัญหาคือ เราต้องการพัฒนาจิตวิทยาศาสตร์.  ทั้งๆที่เรารักพระพุทธเจ้าหมดใจ รักคำสอนของพระพุทธศาสนาหมดชีวิต แม้ว่าเราจะยังไม่ใช่คนเก่ง ไม่ใช่ผู้รู้อะไร แต่เราใฝ่ฝันอย่างแรงกล้าว่า วันหนึ่งฉันต้องได้ทำและทำได้.

แต่เมื่อต้องมาใช้คำว่า จิตวิทยาศาสตร์  จึงต้องปรับการเรียนรู้ให้ยืดหยุ่น  ใช้การเทียบเคียงกัน.  หากอยู่ในแวดวงของนักวิทยาศาสตร์  ซึ่งเป็นศาสตร์ของการค้นพบความจริง ที่ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ จนกว่าจะสามารถพิสูจน์ทดสอบได้    ศาสนาพุทธ จึงได้ชื่อว่า เป็นศาสนาที่เป็นวิทยาศาสตร์ 

เมื่อเราต้องนำความรู้ในพุทธศาสนา มาเชื่อมโยงกับจิตวิทยาศาสตร์  และการวิจัย   เราก็ได้พบว่า  มันก็มีความหมายเดียวกันนั่นแหละ   เป็นแค่คำพูด คำที่ใช้แทนความหมายของคนกลุ่มนั้นๆ  หากละสมมติ ได้ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องแทน คำนาม ที่ใช้เรียกขาน    แต่ตอนนี้ เรายังข้ามไม่พ้นสมมติ  จึงต้องอาศัยสมมติ ต่อไป.

เราค้นพบว่า.  การทำวิจัยหากยึดถือกฏเกณฑ์ที่ต้องเขียนด้วยการอ้างอิง หลักฐานต่างๆ เพื่อจะให้น่าเชื่อถือนี่ ก็เป็นสิ่งท้าทายที่ทำให้เราได้ค้นๆ ๆ  การค้นทำให้ได้รับความรู้อย่างหนึ่ง  คือ ความอดทน.  ความรับผิดชอบ   แม้ไม่อยากทำ ก็ต้องทำ  ต้องข่มใจ.     แต่ค้นอย่างเดียวไม่พอ  ต้องมาจัดระบบระเบียบ เรียบเรียงความคิดอีก.    มันก็เป็นสิ่งที่ท้าทายดีนะ    ได้สู้กับจิตตัวเอง.  จิตคนธรรด้า ธรรมดา  ที่อยากจะพักผ่อน อยากนอนหลับ อยากทำตามกิเลส  แต่ต้องข่มใจ.   ปลอบใจให้กำลังใจตัวเองว่า  รู้ รู้ รู้.  และ ปรับความคิด  รู้ทันความคิด.   

ตอนนี้ บอกตัวเองว่า "สู้ นะ  กำลังใจสำคัญที่สุด  ปัญญา สำคัญที่สุด  คนมีปัญญา พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ พลิกปัญหา ให้ได้ปัญญาได้"    เราทำได้สิหน่ะ.  เพียงแค่ไม่ถอยเสียอย่าง.  หากทำไปเรื่อยต้องมีทางสำเร็จ  ดังที่ พระมหาชนกว่ายข้ามมหาสมุทรด้วยความเพียรพยายาม ไม่หยุดว่าย ด้วยมีปณิธานว่า "เราเห็นปฏิปทาของโลกและอานิสงส์แห่งความเพียร จึงพยายามเรื่อยไป หากไม่พากเพียรแล้วจะพบความสำเร็จได้อย่างไร” 

ตอนนี้ต้องการพัฒนาตนเองให้มีจิตวิทยาศาสตร์.  ซึ่งเป็นหนทางแห่งปัญญานะ.  เราต้องการปัญญา  มีจิตวิทยาศาสตร์.  

จิตวิทยาศาสตร์ ที่ควรปลูกฝังเพื่อให้สามารถเป็นคนที่เรียนรู้ได้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ  1) ความใฝ่รู้  2) ความคิดสร้างสรรค์ 3) ความเป็นระบบระเบียบ  4) ความมีเหตุผล  5) ความใจกว้าง  6) ความรับผิดชอบ 7) ความซื่อสัตย์  8) ความมุ่งมั่นและอดทน   9) ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น 

เอาแค่นี้ก่อนแล้วกัน.

ท่านผู้ใดแวะมาอ่าน.  ช่วยเติมเต็มความคิด แลกเปลี่ยนกันนะคะ.

คำสำคัญ (Tags): #ปัญญา
หมายเลขบันทึก: 287775เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2009 19:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 11:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สรุปสั้นๆ สติมาปัญญาเกิด นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท