สาขางานยานยนต์และเทคนิคยานยนต์วิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรง


สาขางานยานยนต์และเทคนิคยานยนต์วิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรง

 สาขานี้มีชื่อที่เป็นทางการว่า สาขาวิชาเครื่องกล   แต่เราก็ได้ยินคนทั่วไปยังเรียกติดปากว่า สาขาช่างยนต์ ไม่ว่า จะเป็น แผนก นักเรียน  ครูหรือบุคคลภายนอก   แม้จะเป็นสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาประจำอำเภอ ซึ่งจังหวัดนี้มีถึง  6 แห่งนั้นได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย  วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย วิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัย  วิทยาลัยการอาชีพศรีสัชนาลัย และวิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรง  และอย่างน้อย 4 แห่งก็เปิดสอนในสาขาวิชานี้หรือชื่ออื่นในสาขาวิชาที่ใกล้เคียง (วษท.)  ทำไมจะต้องสาขานี้และที่สถานศึกษาแห่งนี้ เอ้ามาดูกันว่า เพราะอะไร



bottom ครุภัณฑ์   จากภาพของครุภัณฑ์ของแผนกที่เนืองแน่น เมื่อเปรียบเทียบกับสถานศึกษาในประเภทวิทยาลัยการอาชีพแห่งอื่น  อีกจุดที่น่าสังเกตคือ จำนวนของครุภัณฑ์ได้แก่  เครื่องยนต์รถไถ เครื่องสูบน้ำ  เครื่องรถอีแต๋น ที่มีมากเช่นกัน และข้อมูลที่น่าสนใจคือ พื้นที่ของอำเภอศรีสำโรงและอำเภอใกล้เคียง เป็นพื้นที่เกษตรกรรม จึงมีประเภทเครื่องยนต์เหล่านี้จำนวนมากและจำเป็นที่จะต้องให้นักเรียน/นักศึกษาได้ศึกษาหาความรู้ตรงกับความต้องการในสมรรถนะของอาชีพในท้องถิ่น   นอกจากนี้ ครุภัณฑ์ดังกล่าวบางส่วนก็ได้รับบริจาคจากการที่สถานศึกษาได้ทำ โครงการ fix it  ให้บริการกับชุมชน  ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะของงานสาขานี้ ความเป็นไปจับต้องได้ก็ค่อนข้างสูง ทั้งสาขางาน รายวิชา การจัดแผนการเรียนหรือการสอดแทรกในแผนการจัดการเรียนรู้



bottom ห้องเรียนภาคทฤษฎีและพื้นที่ภาคปฏิบัติ  มีศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Access Learning Center) สาขาวิชาเครื่องกล  ประกอบด้วยชุดคอมพิวเตอร์ มากกว่า 10 เครื่อง สามารถใช้สืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตและใช้งานในสาขาวิชาได้  มีห้องเรียนที่จัดสัดส่วนแบ่งเป็นห้องปรุกระจกใช้สำหรับเรียนทฤษฎีก่อนลงมือปฏิบัติ ถัดไปมีห้องเครื่องมือ (tools room) และห้องเก็บอุปกรณ์และสามารถใช้จัดการเรียนการสอนได้เช่นกัน นอกจากนั้นในพื้นที่ที่แบ่งเป็นแต่ละส่วน เช่น เครื่องยนต์แก๊สโซลีน เครื่องยนต์ดีเซล  จักรยานยนต์  ระบบส่งกำลังรถยนต์  ก็มีโต๊ะและเก้าอี้สำหรับนั่งและวางอุปกรณ์สำหรับการสอนได้




bottom ห้องพักครู  บริเวณชั้นเดียวกัน ก็แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นห้องพักครู มีโต๊ะทำงานประจำอยู่เป็นสัดส่วน จำนวนครูในแผนกประมาณ 6 ท่าน  ภายในบริเวณสถานศึกษามีระบบ wireless  สามารถใช้บริการหรือติดต่อผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้สะดวก  และติดกันเป็นห้องสถานีวิทยุเพื่อการศึกษา มีเจ้าหน้ารับผิดชอบในการควบคุมสถานีและการกระจายเสียงได้นำเสนอกิจกรรมในสถานศึกษา รวมถึงการตอบคำถามทางวิชาการ การรวบรวมความรู้ทางวิชาชีพ ซึ่งก็ได้ข้อมูลจากคณะครูในสถานศึกษา เผยแพร่ข้อมูลให้ชุมชนได้รับทราบอีกทางหนึ่ง

Photobucket

Photobucket

 


bottom นักเรียน/นักศึกษา  สถานศึกษาแห่งนี้เปิดสอนประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานยานยนต์ ระดับ ปวช. และสาขางานเทคนิคยานยนต์ ระดับ ปวส.  ทั้งในระบบและทวิภาคี  ข้อสังเกตคือ เป็นสถานศึกษาประจำอำเภอ ที่มีจำนวนนักศึกษาทวิภาคี สาขาเทคนิคยานยนต์  ระดับ ปวส. ประมาณ 40 คน  ซึ่งสถานศึกษาเป็นที่แห่งแรก ๆ  ร่วมกับสถานประกอบการในการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี เช่นเดียวกันกับสถานศึกษาใหญ่ ๆ ในจังหวัด  รวมถึงแผนกอื่นที่จัดในระบบทวิภาคีด้วยได้แก่  สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  สาขาวิชาบริหารธุรกิจ แต่ภาพรวมแล้ว สาขาวิชาเครื่องกลก็ยังเป็นสาขายอดนิยม  นอกจากนี้ การเปิดสอนในระดับ ปวส.  ทำนักศึกษาไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าที่พัก เพื่อเข้าไปเรียนในตัวจังหวัด  ลดภาระให้กับผู้ปกครองและการดูแล ยังวางใจได้ระดับหนึ่งที่มีบุตรหลานอยู่ใกล้ชิด อย่างน้อยก็มีครู ชุมชนคอยเป็นหูเป็นตาให้

Photobucket



จากปัจจัยเด่น ๆ ข้างต้น อาจจะเป็นแรงผลัก อีกตัวหนึ่งให้จำนวนนักเรียน/นักศึกษาแผนกวิชานี้เพิ่มขึ้น คราวนี้ ก็ต้องมาทบทวนปัจจัยอื่น ๆ ไม่ว่า จะเป็น  การจัดกระบวนการเรียนการสอน  การพัฒนาผู้สอน จำนวนครูผู้สอน  การบริหารจัดการ กิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนการสอนต่าง ๆ    ซึ่งเกือบทุกตัวก็เกี่ยวข้องโยงใยกัน ไม่สามารถเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งได้    การดำเนินการต่อจากวันนี้  ที่จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน/นักศึกษาเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดหรือทำอย่างไรให้  ผลจากเรื่องดังกล่าว  เราผลิตนักเรียน/นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาออกสู่ตลาดแรงงานตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ  ซึ่งเป็นอีกบทสรุปหนึ่งที่ท้าทายทั้งตัวผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรของสถานศึกษาแห่งนี้...ที่คงจะต้องก้าวไปให้พร้อมกัน



 นางสาวพิมพร  ศะริจันทร์ ศึษานิเทศก์  เขียนวันที่ 11 สิงหาคม  2552
 จากการนิเทศติดตามการประกันคุณภาพภายใน
วก.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย  วันที่ 28-30 กรกฎาคม 2552
 
ผู้ที่จะนำบทความ รูปภาพไปตีพิมพ์ต้องได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้เขียนเท่านั้น
 
ผลงานและสิ่งพิมพ์ของผู้เขียน ปรับปรุงข้อมูล วันจันทร์, 17 สิงหาคม 2552

 ติดต่อ
ผู้เขียนที่  
[email protected]  
 

หมายเลขบันทึก: 288329เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2009 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 11:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท