สรุปการประชุมคณะทำงานพิจารณายกร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่..) พ.ศ....(ต่อ)


สรุปการประชุม

คณะทำงานพิจารณายกร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่..) พ.ศ....

วันที่ ๑๔  สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒  เวลา ๐๙.๓๐  ๑๒.๓๐ น.

ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ ๒๐๔ อาคารรัฐสภา ๒

โดย นายปุณฑวิชญ์ ฉัตรมงคลชาติ

 

 

๕)     คนไทยพลัดถิ่นหมายถึงใครบ้าง

 

คนไทยพลัดถิ่นมี ๓ ชาติพันธุ์

๑.      คนเชื้อสายไทย เช่น พวกทหารไทยที่ไปรักษาดินแดน เมื่อช่วงประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๑

๒.      คนเชื้อสายจีน เช่น พวกพ่อค้าวาณิชย์

๓.      คนเชื้อสายมาเลย์ เช่น คนใต้ดั้งเดิม

ดังนั้น การใส่คำนิยามจะไม่ใช้คำว่า “เชื้อสายไทย” เพราะไทยพลัดถิ่นมีหลายชาติพันธุ์ อาจจะมีปัญหาความแตกแยกทางเชื้อชาติ ดังนั้นควรใช้คำว่า “ไทยพลัดถิ่น”

การนิยามต้องให้ชัด กรณีนี้ไม่คลุมกลุ่มชาติพันธุ์ไทยใหญ่ แต่เชียงตุงเป็นไปได้ แต่ความเป็นไปได้ที่จะพิสูจน์ ไม่มี

 

๖)     เกณฑ์การรับรองสิทธิ

 

การรับรองคุณสมบัติ เป็นเรื่องความมั่นคงของมนุษย์ ดังนั้น สำหรับเรื่องการขอรับรองสิทธินั้น ไม่ใช่ทันทีที่รับฟังว่าเป็นตระกูลไทยแล้วรับรอง แต่ต้องเข้าองค์ประกอบครบ (คนต้องได้รับการรับรองแล้ว หรือครบองค์ประกอบตามเงื่อนไขแล้ว)  และรับรอง

            ขั้นตอนของการมายื่นขอพิสูจน์ความเป็นคนไทยพลัดถิ่น

            ๑. มีองค์ประกอบตามเงื่อนไข ดังนี้

๑.๑ พิสูจน์ให้ได้ว่ามีจุดเกาะเกี่ยวกับประเทศไทยสถานะของคนไทยให้ยังมีสัญชาติไทย กล่าวคือ ต้องพิสูจน์ว่าเป็นผู้สืบสันดานของคนไทยในดินแดนที่เสียไป

(๑) พิสูจน์ให้ได้ว่าเคยมีสัญชาติไทย

(๒) ติดไปกับดินแดนที่เสียไปในดินแดนที่ให้อังกฤษ ฝรั่งเศส เช่น พิสูจน์ให้ได้ว่าเคย   ตั้งบ้านเรือนที่ปกเปี้ย

เป็นการรับรองสถานะของคนไทยพลัดถิ่น ซึ่งต้องพิสูจน์ว่าเป็นลูกของคนเมื่อ ๑๐๐ กว่าปีที่แล้ว

            คณะกรรมการ ฯ ก็ต้องดูว่าตระกูลไหน เป็นตระกูลไทย

                        ๑.๒ ผู้สืบสันดานที่ร้องขอสิทธิได้เข้ามาในไทย เข้ามาตั้งถิ่นฐานถาวร และได้รับการยอมรับทางทะเบียนราษฎรแล้ว  (มีชื่อในทะเบียนราษฎรไทย) ไม่เป็นราษฎรโดยข้อเท็จจริงของประเทศต้นทางแล้ว ส่วนกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เป็นไปตามกฎกระทรวง เพราะ (๑) ตัดปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (๒) ตัดปัญหาคนหลบหนีเข้าเมือง

            เมื่อไม่ใช่เชื้อสายไทย ก็ไม่ใช่เชื้อชายไทย และเฉพาะคนที่เข้ามาอยู่จริง ไม่เอาคนที่เข้ามาอยู่ใหม่

            ๒. เมื่อฟังแล้วว่าเป็นคนไทยพลัดถิ่นก็ให้บัตรหนึ่งใบตามกฎหมายทะเบียนราษฎร

๓. พอพิสูจน์แล้วก็ลงรายการสัญชาติ[๑] ส่วนวิธีการและคำต่าง ๆ คิดตอนในกฎกระทรวงว่ามีสถานะเป็นคนสัญชาติไทยเลยหรือไม่ อย่างไร ขั้นตอนอาจจะเหมือน มาตรา ๗ วรรค ๒ หลักสืบสายโลหิตจากบิดา

ถ้าร่างพระราชบัญญัตินี้ ผ่านทันทีผู้ที่อพยพ และหลบหนีเข้าเมืองมาแล้ว และมาแสดงตน จากนั้นตรวจสอบในทะเบียนราษฎรพม่าว่ามีชื่อในทะเบียนราษฎรพม่าหรือไม่ และตรวจสอบใน

            ท.ร. ๓๘/๑ ซึ่งเป็นกรณีที่ต้องเปิดให้ขึ้นทะเบียนแรงงาน

            ท.ร. ๓๘ ก ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าไร้รัฐ ตามมาตรา ๓๘ วรรค ๒ พระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ แก้ไข ๒๕๕๑ และระเบียบ ๔๘

การทำตามพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร แยกมา ๑ มาตรา ว่าเมื่อพิสูจน์แล้วไปแสดงตนกับใคร

 

๗)    สถานะการอยู่ของคนไทยพลัดถิ่น

 

ในช่วงระหว่างที่ขอการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น จะไม่ถูกจับฐานคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย ตามกฎหมายคนเข้าเมือง เพราะว่ารอการกำหนดสถานะจึงไม่ถูกจำกัดสิทธิในการเดินทาง และสิทธิในการทำงาน

ความทรงสิทธิจะเกิดขึ้นได้เมื่อได้รับการรับรองแล้วตามคณะกรรมการตามกฎหมายนี้ให้อยู่ในไทยไม่ผิดกฎหมายเพื่อรอการกำหนดสถานะ

พอเป็นผู้ทรงสิทธิ คือ ฟังได้ว่ามีสัญชาติไทย คนสัญชาติไทยโดยผลของการเปลี่ยนแปลงกฎหมายสัญชาติ ก็ใช้มติครม. ตามมาตรา ๑๗ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ทำให้คนเชื้อสายไทย ไม่ใช่คนเข้าเมืองผิดกฎหมาย และกำลังอยู่ระหว่างพิสูจน์ความเป็นเชื้อสายไทยอยู่ ซึ่งอาจจะออกบัตรบัตรเชื้อสายไทย และให้เป็น  Work Permit ได้เลย อย่างเช่นตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติการทำงานคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑

 

๘) พิจารณาตัวร่างพระราชับัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่...) พ.ศ.... ทั้ง ๒ ฉบับ

 

(๑)  ร่างพระราชับัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่...) พ.ศ.... โดยการเรียบเรียงของอาจารย์บรรเจิด สิงคเนติ

มาตรา ๓ นิยามคนไทยพลัดถิ่น ซึ่งในที่ประชุมได้แก้ไขใหม่เป็นดังนี้

“คนไทยพลัดถิ่น” หมายถึง ผู้เคยมีสัญชาติไทย แต่ได้เสียสัญชาติไทยไป เนื่องจากการเสียดินแดนให้กับอังกฤษหรือฝรั่งเศส[๒] และผู้สืบสันดานของผู้ที่บิดาและมารดาที่เคยมีสัญชาติไทยก่อนการเสียดินแดนนให้กับอังกฤษหรือฝรั่งเศส และผู้สืบสันดานได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นที่อยู่ถาวรแล้วในประเทศไทยตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง

                   ในคำนิยามจะไม่ใช้คำว่า “เชื้อสายไทย” เพราะไทยพลัดถิ่นมีหลายชาติพันธุ์ อาจจะมีปัญหาความแตกแยกทางเชื้อชาติ ดังนั้นควรใช้คำว่า “ไทยพลัดถิ่น” กรณีนี้ไม่คลุมกลุ่มชาติพันธุ์ไทยใหญ่ แต่เชียงตุงเป็นไปได้ แต่ความเป็นไปได้ที่จะพิสูจน์ ไม่มี

“คณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น” ไม่ใช่ “คณะกรรมการพิสูจน์สัญชาติ” เพราะไม่ได้พิสูจน์สัญชาติ

มาตรา ๔-๖ ควรที่จะเอาไปไว้ในกฎกระทรวง

(๒)  ร่างพระราชับัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่...) พ.ศ.... ของนายวีนัส สีสุข

มาตรา ๓ ของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จะไม่ไปแตะพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ และคณะกรรมการที่จะตั้งขึ้นมาใหม่นี้ เป็นคนละชุดกับคณะกรรมการกลั่นกรองสัญชาติ

มาตรา ๔

-            มีเรื่องของหลักดินแดนเข้ามาบัญญัติไว้ ซึ่งเป็นหลักดินแดน ไม่น่าที่จะใส่ ควรตัดออก มาตรา ๔ นี้จะไม่ครอบมาตรา ๗ ทวิ

-            สำหรับกรณีการที่จะให้สิทธิแก่คนไทยพลัดถิ่นนั้นมีเงื่อนไขที่จะต้องมีการกำหนดไว้ก็คือคำว่า “โดยมีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร”

-         แต่เงื่อนไขของการทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศไทยนั้น เนื่องจากว่าเป็นการให้สัญชาติโดยหลักสืบสายโลหิต ไม่ใช่เรื่องการแปลงสัญชาติ ดังนั้น จึงไม่ต้องกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ

-       “ถ้าประสงค์จะได้คืนสัญชาติไทย” ให้เพิ่มเติมเป็น “ถ้าประสงค์จะได้คืนสิทธิที่จะได้สัญชาติไทย”

 มาตรา ๔ วรรค ๒ คณะกรรมการพิจารณารับรองคนไทยพลัดถิ่น ว่าเป็นอย่างไร กำหนดในกฎกระทรวง มีภาคส่วนหลายภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วม

มาตรา ๕ วรรค ๒ ให้ตัดออก และแก้ไขเป็น “คนไทยพลัดถิ่นซึ่งรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้ได้สัญชาติไทยแล้ว กอ่นวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นบุคคลที่ได้สัญชาติไทยตามวรรคหนึ่งด้วย”                  

                   

*   พระราชบัญญัติพิเศษฉบับนี้เป็นการเยียวยาคนไทยพลัดถิ่น พระราชบัญญัติสัญชาติฉบับที่ ๕ มีทั้งแก้ไขเพิ่มเติม มีประเด็นสำคัญ ดังนี้

 

๑.      เป็นการคืนสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตแก่ผู้ที่เสียสัญชาติไทยไปเพราะการเสียดินแดน

      (บุพการีของคนไทยพลัดถิ่น)

๒.     ผู้ทรงสิทธิในกฎหมายคือ คนไทยพลัดถิ่น (ผู้สืบสันดานจากบุพการีที่เสียสัญชาติไทยไปเพราะ การเสียดินแดน)

๓.     ผู้นั้นต้องอพยพย้ายถิ่น เข้ามาตั้งถิ่นฐานในปรเทศไทยถาวร มิใช่ผู้ที่เข้ามาใหม่ จึงไม่มีปัญหาสำหรับหลบหนีเข้าเมืองของคนชาติพันธุ์อื่น

๔.     การออกกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้เป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยของรัฐต่างประเทศ

๕.     การตั้งคณะกรรมการพิจารณาเรื่องนี้ จะต้องไม่ใช่กรรมการกลั่นกรองสัญชาติ แต่เป็น “คณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น”

๖.      ระหว่างรอการพิสูจน์ความเป็นคนไทยพลัดถิ่น ไม่ถือว่าเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย สามารถมี  สิทธิเดินทาง และสิทธิในการประกอบอาชีพ

 



[๑] คำว่า การลงรายการสัญชาติ แปลว่า เขาไม่เคยมีชื่อในทะเบียนราษฎรในฐานะคนไทยเลยเลย ส่วนคำว่า การเพิ่มชื่อ แปลว่าเขามีบุพการีที่มีสัญชาติไทย มีชื่อหรือเคยมีชื่อในทะเบียนราษฎรอยู่แล้ว ลูกก็เพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎร

ดังนั้น คำว่า การลงรายการสัญชาติ เป็นแค่ศัพท์ทางนิติบัญญัติเท่านั้น

             [๒]คำว่า “การเสียดินแดนให้กับอังกฤษหรือฝรั่งเศส” นั้นอาจจะตองมีการแก้ไขวลีนี้ เนื่องจากว่าเป็นคำที่ค่อนข้างจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงภายใน และความรู้สึกของประชาชน  ซึ่งนายวีนีส สีสุขได้เสนอให้ใช้คำว่า “การเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศ”

หมายเลขบันทึก: 288471เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2009 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท