สรุปข้อแนะนำของ อจ.แหวว


นี่คือ ๑๐ ข้อแนะนำของ อ.แหววต่อคุณวันทนาดังนี้นะคะ

ในประการแรก ก็คือ ไปจองหัวข้อเสียนะคะ

ในประการที่สอง ก็คือ ควรจะคิดเรื่องของวิธีการศึกษา และเขียนตรงนี้ มาดูหน่อยค่ะ  ทำก่อนเลยนะคะ แผนการทำงานใหญ่นัก ก็จะจบงานไม่ทัน ถ้าสอบเค้าโครงได้ภายใน ๒ เดือน คุณก็จะประดิษฐประดอยงานเขียนได้ดีขึ้น ต้องคิดเป็น ๒ รอบ กล่าวคือ รอบแรก คิดเป็นเค้าโครง  แล้วไปสอบ รอบสอง ทำตามเค้าโครงที่สอบผ่าน

ในประการที่สาม เรื่องนิยามของคำอาจใส่ในบทนำได้ค่ะ ในบทต่อมา  น่าจะลงดู สถานะแห่งสิทธิภายใต้ บ่อเกิดของกฎหมายเลย จะเขียนง่ายกว่า วิทยานิพนธ์ของคุณวันทนามิได้กล่าวถึงสิทธิในทรัพย์สินทั้งหมด แต่กล่าวถึงบางเรื่อง ในบทนี้ จึงทำหน้าที่แยกแยะข้อกฎหมายว่า อะไรคือ สัมพันธภาพระหว่างสถานะแห่งสิทธิและสถานะแห่งบุคคล

ในประการที่สี่ เมื่อบทก่อนกล่าวถึงข้อกฎหมาย บทนี้จึงพูดถึงข้อเท็จจริงว่า มันเป็นอย่างไร มีปัญหาไหม ปัญหามีลักษณะอย่างไร  ข้อมูลมาจากการศึกษาทางปฏิบัติ เสนอให้พาคนไร้สัญชาติไปจำนำอะไรสักอย่าง ดูซิมีปัญหาไหม ตอนจำนำและตอนไถ่ถอน จะเหมือนกันไหม ?

ในประการที่ห้า ในบทต่อมา ที่คุณเสนอมา ก็มีลักษณะของข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาอยู่แล้ว อ.แหววเห็นด้วยค่ะ ซึ่งคุณวันทนามีคำตอบอยู่ ๑ ใน ๔ ก็คือ เรื่องการบริการธนาณัติของบริษัทไปรษณีย์ไทย จากที่ประชุมเสวนาเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ที่ต้องคิดเอง หรือแสวงหาเอง ก็คือในอีก ๓ ธุรกรรมที่ยกขึ้นมาศึกษา

ในประการที่หก ขอแนะนำให้รวบรวมกฎหมายระหว่างประเทศและภายในที่เกี่ยวข้องมาก่อนนะคะ  ที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ ข้อ ๑๗ แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.๑๙๔๘ ซึ่งบัญญัติว่า () ทุกคนมีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินโดยลำพังตนเอง เช่นเดียวกับโดยร่วมกับผู้อื่น () บุคคลใดๆจะถูกริบทรัพย์สินโดยพลการไม่ได้

ในประการที่เจ็ด ขอแนะนำให้สำรวจตำรากฎหมายทรัพย์สินหลักของประเทศไทย ไปรวบรวมมา และดูซิว่า ปฏิเสธสิทธิคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติไหมคะ

ในประการที่แปด ขอแนะนำให้รวบรวมตำราเกี่ยวกับธุรกิจที่เลือกค่ะเพื่อสำรวจเงื่อนไขเข้ารับบริการทางการเงินของเอกชนในแต่ละกรณี ซึ่งกรณีที่ขึ้นอยู่กับธนาคารชาติ เรามีคำตอบแล้ว แต่ธุรกิจประกันภัยนั้น คุณวันทนามีคำตอบแล้วยัง หรือโรงรับจำนำล่ะ มีคำตอบแล้วหรือยัง ในเรื่องข้อกฎหมายต้องอ่านกฎหมายและตำรากฎหมาย ในเรื่องข้อเท็จจริง ต้องสัมภาษณ์ค่ะ

ในประการที่เก้า การอ่านและเขียนคำนิยามของคำว่า คนไร้รัฐและ คนไร้สัญชาติทำเลยนะคะ เพราะมีให้อ่านมากมาย รีบเขียนมา จะได้ตรวจให้

ในประการที่สิบ การเขียนคำนิยามของคำว่า สิทธิในทรัพย์สินก็เป็นงานพื้นฐานทางกฎหมาย จัดการได้เลยค่ะ เป็นของง่ายๆ ที่จัดการก่อน

เมื่อมีงานเขียนที่ทะยอยเสร็จ คุณก็จะมีกำลังใจ วันแรกๆ อาจจะฝืดนะคะ แต่วันต่อๆ ไป จะดีขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ

ขอให้ส่งอะไรมาให้ดูเรื่อยๆ นะคะ สักสิบวันหน มีปัญหาอะไรก็คุยกันได้ คุณเขียนบันทึกทุกวัน หันมาเขียนเรื่องวิทยานิพนธ์ได้แล้วนะคะ รีบดำเนินการได้เลยนะคะ เวลาเหลือไม่มาก

 

 

หมายเลขบันทึก: 289096เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2009 17:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 17:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ มาเป็นกำลังใจให้นะคะ 

การทำวิทยานิพนธ์เป็นเรื่องสนุกที่จะทำให้เราค้นพบอะไรหลายๆ อย่างค่ะ ^_^

ขอบคุณค่ะ น้องสุนทรี

พี่เองก็กำลังคิดเช่นเดียวกับน้อง

คือ เรื่องที่จะทำเป็นอะไรที่น่าค้นหาเหมือนกัน

และถ้าทำสำเร็จน่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนไร้รัฐไร้สัญชาติไม่มากก็น้อย

อย่างน้อยก็ทำให้พี่ตื่นตัว

และมีจุดมุ่งหมายของชีวิตที่จะต้องทำให้สำเร็จให้ได้

เอาใจช่วยค่ะ

ค่อยไล่ทำไปนะคะ มีปัญหาอะไร แม้เล็กน้อย ก็หารือมานะคะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

ศิษย์ก็พึ่งสังเกตเห็นว่า G2K หากเขียนงานทางด้านวิชาการ

ดูจะมีคนแวะเข้ามาอ่านมากเหมือนกัน

ปกติชอบเขียนเรื่อยเปื่อย ตอนนี้มีจุดหมายของการเขียนมากขึ้น

น่าจะตรงกับจุดประสงค์ของทีมงาน G2K ที่เปิดเวบนี้ขึ้นมา

คือเพื่อการเรียนรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท