ตัวชี้วัดการพัฒนาของตำบลบ้านเลือก(ปรับปรุงใหม่)....เวทีจัดการความรู้ตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น(7)


สืบเนื่องจาก ดร.ชาญชัย ยมดิษฐ์ อธิการบดีคนใหม่ของมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง ท่านสนใจที่จะให้ทีมนักวิชาการของมหาวิทยาลัยฯให้การสนับสนุนงานวิชาการกับชุมชนที่ท่าน อ.ไพบูลย์ได้ริเริ่มไว้

เมื่อวันที่ 29 กค.52 ที่ผ่านมา ได้มีเวทีสัมมนาเรื่องตัวชี้วัดการพัฒนาของชุมชนท้องถิ่นขึ้น ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี  ทั้งนี้สืบเนื่องจาก ดร.ชาญชัย  ยมดิษฐ์  อธิการบดีคนใหม่ของมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง  ได้พบกับอ.ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม  ท่านเลยสนใจที่จะให้ทีมนักวิชาการของมหาวิทยาลัยฯให้การสนับสนุนงานวิชาการกับชุมชนที่ท่าน อ.ไพบูลย์ได้ริเริ่มไว้  จึงได้เกิดเวทีนี้ขี้น  มีผู้เข้าร่วมเป็นทีมอาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง  ประมาณ 10 ท่าน ภาคีพัฒนาและนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาอื่นอีกกว่า 20 ท่าน  ผู้แทนจากสภาองค์กรชุมชนในจังหวัดราชบุรี  26 แห่ง  40 ท่านรวมแล้วเกือบ 100 คน  เป็นการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กรณีศึกษาจากตัวชี้วัดของ 2 ตำบลคือ  ตำบลบ้านเลือกและตำบลหนองพันจันทร์  การประชุมกลุ่มเพื่อช่วยกันปรับปรุงตัวชี้วัดของทั้ง  2 ตำบลให้คมชัดขึ้น  และต่อมาทั้ง2 ตำบลได้นำผลงานจากการประชุมนี้ไปปรึกษาหารือกันต่อจนสภาองค์กรชุมชนได้สรุปให้การยอมรับกับตัวชี้วัดดังกล่าว

สรุปเป้าหมาย ตัวชี้วัด การพัฒนาของขบวนชุมชนท้องถิ่น  ต.บ้านเลือก  อ.โพธาราม  จ.ราชบุรี

(ฉบับปรับปรุงจากเวทีเรื่องตัวชี้วัดฯ วันที่ 29 ก.ค. 52 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง) ดังนี้

       เป้าหมาย

ตัวชี้วัด

วิธีได้ตัวชี้วัด

วิธีบรรลุเป้าหมาย

(ที่สำคัญ)

1.   คนในตำบลมีสุขภาพแข็งแรง

 

 

1.     จำนวนผู้ป่วยในตำบลลดลง (โรคเบาหวาน  ความความดันโลหิตสูง ไข้เลือดออก)

สถิติผู้ป่วยรายเดือนจากสถานีอนามัยและโรงพยาบาลโพธาราม

1.     รณรงค์ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพโดยกลุ่ม อสม.ร่วมกับสถานีอนามัย

2.      อสม.ร่วมกับสถานีอนามัยออกหน่วยเคลื่อนที่ให้ความรู้แก่ผู้ป่วย ครอบครัว และคนในชุมชน มีการตรวจสุขภาพพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง

2.      คนในตำบลมีความสามัคคี

 

 

2.      จำนวนโครงการ/กิจกรรมของชุมชนที่สำคัญที่สำเร็จด้วยความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจ(เช่น จัดขบวนสงกรานต์ (ฟื้นเวียง) กิจกรรมวันแม่ ฯลฯ)

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมสำคัญของชุมชน (เช่น จัดขบวนสงกรานต์ (ฟื้นเวียง) กิจกรรมวันแม่ ฯลฯ)

1.    รณรงค์ประชาสัมพันธ์คนในตำบลเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ และยอมรับความคิดเห็นของกันและกัน

วิธีการ

-  เดินเคาะประตูบ้าน

-  ให้ตรงต่อเวลานัดหมาย

-  เน้นจิตสำนึกการมีส่วนร่วม

3.   คนในตำบลมีรายได้และชีวิตที่มั่นคง

  

 

3. การออมในชุมชนเพิ่มขึ้น

4. หนี้ที่เป็นปัญหาลดลง

5.  จำนวนครอบครัวที่ตกเกณฑ์ จ.ป.ฐ.  ไม่มี/หรือลดลง/ที่เกินเกณฑ์มีเพิ่มมากขึ้น

1.      สถิติการเงินจากทุกกลุ่มกองทุนในชุมชนทั้งข้อมูลสมาชิกที่มีการออมเงินในกองทุนชุมชนและจำนวนเงินออมต่อครัวเรือนในกองทุนชุมชน

2.   ข้อมูล จปฐ.ของชุมชน

1.   สร้างอาชีพเสริมขึ้นในชุมชนโดยกลุ่มกิจกรรมในชุมชน

2.   รณรงค์ในเรื่องของการออมโดยการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ขึ้นในทุกหมู่บ้านรวมทั้งพัฒนาให้เข้มแข็งมีความน่าเชื่อถือเชื่อมโยงเป็นสถาบันการเงินระดับตำบล

หมายเลขบันทึก: 289569เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2009 07:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท