สิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้..สู่สิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา


คราวนี้ ความเชื่อของผู้คนในสังคมจะมีบทบาทสำคัญ คนทั่วไปเชื่อว่าผู้ป่วยจิตเวชเป็นผู้ที่น่ารังเกียจ เป็นบุคคลอันตราย ไม่สามารถอยู่รวมกับผู้คนปกติได้ ถ้าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความเชื่อของผู้ที่มีศักยภาพจะมาเป็นอาสาสมัครตรงนี้ได้ เราก็ไม่สามารถจะขับเคลื่อนไปสู่โรงพยาบาลในอุดมคติได้

สิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา ( Healing Environment ) หลายๆคนที่ได้ฟังหรือได้ยินคงจะนึกว่า เป็นเรื่องใหม่ๆที่จะต้องเอามาทำกันอีกแล้ว แต่ที่จริงความหมาย หรือแนวคิดนี้ ทางสถาบันรับรองคุคุณภาพสถานพยาบาลได้นำมาเผยแพร่ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ตั้งแต่ ๒ปีที่ผ่านมา

ครั้นเมื่อทางสถาบันฯ ได้ริเริ่มทำโครงการนำร่อง เพื่อสร้างมิติจิตใจ และ ความยืดหยุ่นในระบบบริการสุขภาพ ภายใต้ โครงการสร้างเสริมสุขภาพผ่านกระบวนการคุณภาพเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน หรือมีชื่อย่อสั้นๆว่า SHA นั้น ก็ได้นำแนวคิดนี้มาขยายผลอย่างจริงจัง  อีกครั้งหนึ่ง

อันที่จริง Healing Environment นี้ เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพนั่นเอง ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่ดีนั้นควรต้องมีความปลอดภัยสำหรับผู้ให้บริการและผุ้รับบริการเป็นสำคัญในอันดับแรก

และเนื่องจากโรงพยาบาลคุณภาพนั้นควรต้องเป็นองค์กรสำหรับการเรียนรู้ด้วยสิ่งแวดล้อมจึงควรพัฒนาเพื่อการเรียนรู้อีกด้านหนึ่งด้วย เช่น การออกกำลังกาย  ความสะอาด การทิ้งขยะที่ถุกต้อง หรือการ เป็นตัวอย่างที่ดีของบุคลากรในด้านสุขภาพ การใช้วิถีชีวิตแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริ เศรษกิจพอเพียงเป็นต้น

ทีนี้ในมิติจิตใจนั้น หากโรงพยาบาลสามารถพัฒนาหรือต่อยอดให้ สิ่งแวดล้อม ทั้งทางด้านกายภาพ การสัมผัส แสง สี เสียง หรือประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ในโรงพยาบาลนั้น มีความนุ่มนวล เข้าถึงจิตใจ ความเป็นอยู่ของประชาชน เข้าใจถึงความหวาดกลัว ความแปลกแยกจากสิ่งที่คุ้นเคย หรือวิถีชีวิตดั้งเดิมที่คุ้นชินได้ ก้จะสามารถเยียวยา จิตใจและความทุกข์ของคนไข้ได้ไม่น้อยทีเดียว

หลายต่อหลายครั้งที่แม่ต้อย เคยได้พุดคุยกับชาวบ้าน หรือประชาชนทั่วๆไป เขามักจะบอกว่า

“ ไปโรงพยาบาล.. หากเจอคุณหมอ หรือคุณพยาบาลที่ใจดี ยิ้มแย้ม.. ใจมาเป็นกอง.. หายไปครึ่งหนึ่งแล้วค้า...”

ในโครงการSHA จึงสนับสนุนให้โรงพยาบาลลองใช้แนวคิดนี้ในการพัฒนา เพื่อให้เข้าถึงมิติจิตใจ ทั้งผู้ให้บริการและผู้มารับบริการ เรียกได้ว่ามีความสุขทั้งสองฝ่ายคะ

วันนี้แม่ต้อยได้รับ บทความจากคุณหมออนุวัฒน์ ศุภชุติกุล ท่านผอ. คนขยันของแม่ต้อยคนนี้แหละคะ

คุณหมอได้เขียน เรื่องสิ่งแวดล้อมเพื่อเรียนรู้ไว้น่าสนใจมาก

จึงขอนำเอามาขยายต่อดังนี้นะคะ

 

..............................................................................สิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ในโรงพยาบาลจิตเวช

นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)

 

ผมได้มีโอกาสไปรับการบำบัดรักษาในโรงพยาบาลจิตเวช

อย่าเข้าใจผิด ว่าผมมีอาการป่วยทางด้านจิตประสาท  เพียงแต่ว่าได้มีโอกาสไปร่วมประชุมในจังหวัดนั้น แล้วโรงพยาบาลเชิญไปเยี่ยมชม  จึงได้มีโอกาสใช้บริการนวดแผนไทย และจ่ายค่าบริการด้วยการพูดคุยเรื่องงานคุณภาพของโรงพยาบาล รวมทั้งการจุดประกายเรื่องงานสร้างเสริมสุขภาพ

ผู้ประสานงานเริ่มต้นด้วยความตระตือรือร้นในการที่จะทำให้เป็นโรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพ ผมสรุปหัวใจของการทำงานสร้างเสริมสุขภาพว่า อย่าเริ่มต้นด้วยกิจกรรมจำนวนมากที่โรงพยาบาลต่างๆ ทำกัน  แต่พยายามสอดแทรกเข้าไปในงานประจำว่าผู้ป่วยแต่ละราย ขั้นตอนการดูแลแต่ละขั้น เราสามารถนำแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยได้อย่างไร ทำให้ผู้ป่วยจิตเวชมีความสามารถในการดูแลสุขภาพของตนมากขึ้นได้อย่างไร

เราได้คุยกันไปถึงเรื่องของการสร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ ผู้ประสานงานขยับจะคุยเรื่องบอร์ดให้ความรู้  ผมตั้งคำถามว่าได้เคยทบทวนหรือไม่ว่าบอร์ดทั้งหลายที่เราติดไว้นั้นได้ผลตามที่เรามุ่งหวังเพียงใด และยิ่งเป็นบอร์ดสำหรับผู้ป่วยจิตเวช จะเป็นอย่างไร

สิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้สำหรับผู้ป่วยจิตเวช น่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีความพร้อมที่จะกลับไปอยู่ในสังคมได้เช่นเดียวกับผู้คนอื่นๆ  ซึ่งปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือครอบครัวของผู้ป่วยเอง 

ดูเหมือนว่าการสร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้สำหรับผู้ป่วยจิตเวช จะไม่ได้จำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะในรั้วโรงพยาบาล แต่จะต้องคิดถึงการเชื่อมต่ออย่างไร้รอยตะเข็บกับครอบครัว

การที่ครอบครัวจะมีส่วนร่วมดังกล่าวได้ จะต้องเกิดจากความเชื่อที่เกื้อหนุน  เนื่องจากความเชื่อที่ฝังลึกเป็นจุดตั้งต้นของเจตคติและพฤติกรรมที่แสดงออก ตามทฤษฎีของ cognitive behavioral therapy

ผมเองก็เพิ่งตระหนักถึงความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นระหว่างความเชื่อ กับการเรียนรู้

เรามักจะมองเห็นสิ่งต่างๆ เป็นปัญหาอุปสรรค ก็เพราะความเชื่อของเราเอง ประกอบกับความเชื่อของสังคม

ความเชื่อของเราอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ของเรา เป็นอุปสรรคที่ทำให้เราไม่กล้าทดลองสิ่งใหม่ๆ ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น และไม่กล้าอะไรอีกหลายๆ อย่าง

มาดูต่อในเรื่องของการสร้างสิ่งแวดล้อมให้กับผู้ป่วยจิตเวช

การอยู่ในโรงพยาบาลย่อมไม่เหมือนกับการอยู่ที่บ้าน กิจกรรมต่างๆ เป็นกิจกรรมที่ผู้ป่วยอยู่ในลักษณะ passive ต้องทำตามโปรแกรมที่โรงพยาบาลกำหนดให้ ซึ่งไม่มีความเป็นธรรมชาติที่ชีวิตของคนคนหนึ่งจะดำรงอยู่เช่นนั้น และอาจจะทำให้กลายเป็นชีวิตที่ปราศจากความหมาย ปราศจากคุณค่ามากยิ่งขึ้น

เราสามารถทำให้การอยู่โรงพยาบาลใกล้เคียงกับการอยู่บ้านได้หรือไม่

โรงพยาบาลเคยจัดกิจกรรมการเกษตรให้กับผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสปลูกต้นไม้ ทำสวน ในบริเวณหอผู้ป่วย  แต่เมื่อฝ่ายบริหารนำข้อมูลค่าน้ำที่เพิ่มขึ้นเดือนละหลายหมื่นบาทมาให้ดู กิจกรรมนั้นก็ซาลงไป

ถ้ามองว่าค่าน้ำเป็นค่าน้ำ เราจะรู้สึกว่าแพง

แต่ถ้ามองว่าจำนวนเงินดังกล่าวเป็นค่ายา เราอาจจะพบว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ถูกมาก

โรงพยาบาลสามารถจัดกิจกรรมให้ใกล้เคียงกับชีวิตปกติของผู้คนทั่วไปได้หรือไม่ เช่น การเล่นกีฬาที่หลากหลายในช่วงเย็น

พบว่าอุปสรรคสำคัญมาอยู่ที่กำลังคน  หากจะจัดกิจกรรมกลางแจ้งมากขี้น ต้องใช้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลมากขึ้นมาดูแลผู้ป่วยเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยหลบหนี

จึงเกิดความคิดต่อไปว่า เราสามารถหาอาสาสมัครมาร่วมกิจกรรมเหล่านี้ได้หรือไม่ มิใช่อาสาสมัครที่จะมาคอยพาคนไข้เดินไปตามจุดต่างๆ  แต่เป็นอาสาสมัครที่มาร่วมกิจกรรมกับผู้ป่วยจิตเวช มาเตะฟุตบอล เตะตะกรอ หรือเล่นดนตรีร่วมกัน  รวมทั้งมาคอยดูแลมิให้มีการหลบหนี

คราวนี้ ความเชื่อของผู้คนในสังคมจะมีบทบาทสำคัญ  คนทั่วไปเชื่อว่าผู้ป่วยจิตเวชเป็นผู้ที่น่ารังเกียจ เป็นบุคคลอันตราย ไม่สามารถอยู่รวมกับผู้คนปกติได้  ถ้าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความเชื่อของผู้ที่มีศักยภาพจะมาเป็นอาสาสมัครตรงนี้ได้ เราก็ไม่สามารถจะขับเคลื่อนไปสู่โรงพยาบาลในอุดมคติได้

นี่คือความท้าทายอย่างยิ่ง ท้าทายที่จะเปลี่ยนความเชื่อของเราเอง เปลี่ยนความเชื่อของสังคม และร่วมกันบำบัดเยียวยาสมาชิกในสังคมได้ดีกว่าที่เป็นอยู่  และที่เสนอมาเป็นเพียงตัวอย่างเพื่อจุดประกายความคิด ในเรื่องจริงมีโอกาสอีกมากมายที่อาจจะแตกต่างไปจากที่นำเสนอ

ก็เป็นแนวคิดเรื่องสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยาที่นำมาฝากในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์นี้คะ

สวัสดีคะ

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #sha
หมายเลขบันทึก: 290188เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2009 08:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (37)

สวัสดีค่ะ คุณพี่

  • แนวคิด เรื่องสิ่งแดวล้อมเพื่อการเรียนรู้ มีอยู่ในใจ และการปฏิบัติของครูอ้อยเสมอค่ะ
  • หลายๆครั้งนักเรียน ชอบเรียนรู้จาก สิ่งรอบตัวของเขานะคะ  ครูอ้อยเห็นด้วยนะคะ
  • สังคม เดินหน้าไปมาก  แต่ขาดการเหลียวแลเรื่องสภาพจิตใจนะคะ  พวกเรา ต้องร่วมด้วยช่วยกันนะคะ

เป็นกำลังใจให้เสมอค่ะ

คุณพี่ สวยจังเลยค่ะ

Saraa1

 

สวัสดีค่ะ อ.แม่ต้อย มาศึกษาเรียนรู้ในวันหยุดสุดสัปดาห์ค่ะ

Beautiful Sunday ค่ะคุณพี่แม่ต้อย

มาอ่านความรู้ใหม่ เพิ่งเคยได้ยินชื่อ healing environment ค่ะ ...

...ความท้าทายอย่างยิ่ง ท้าทายที่จะเปลี่ยนความเชื่อของเราเอง เปลี่ยนความเชื่อของสังคม ...

อ่านถึงประโยคนี้ทำให้ปูคิดถึงเมื่อเดือนที่แล้ว กับงานแปลช่วยน้องเกี่ยวกับ การบำบัดและเยียวยาจากสังคม ของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งค่ะ ... มีกล่าวถึงความเชื่อมั่น ว่าตนเองจะมีอาการดีขึ้น ส่งผลกระทบต่อการสร้างสิ่งแวดล้อมดีๆ เพื่อเป็นกำลังใจให้เพื่อน (ผู้ป่วย) ได้รับรู้ และมั่นใจว่า จะพิชิตโรคได้ ...

ว่าทำไมหลายๆ รพ. จึงต้องสร้างมาตรฐานจนได้รับรอง iso14000 ... เกี่ยวกันได้ไหมคะนี่แม่ต้อยขา

 

 

การปฏิสัมพันธ์ของผู้รักษานี้สำคัญมากๆเลย..

ถึงป่วยกายไม่มากแต่ใจที่มองสภาพรอบข้างไม่ดีก็แย่..

ดังนั้น..คนที่เรากำลังปฏิสัมพันธ์อยู่คือคนที่สำคัญที่สุดของเรา..

ธรรมะยามสายขอรับแม่ต้อย..

เพิ่มเติมค่ะ วันนั้น web conference ทาง ร.พ.สอง นำเสนอเรื่องนี้ค่ะ เกี่ยวกับ MCH ได้เข้าร่วมเช่นกันค่ะ ตื่นเต้นมาก อยากให้มีบ่อยๆค่ะ พัฒนา เสียง และภาพอีกนิดจะดีมากเชียวค่ะ  จะรอโอกาสต่อไปนะคะ อ. แม่ต้อย

สวัสดีค่ะ  สุขสันต์วันหยุดค่ะ  มาเรียนรู้ด้วยค่ะ

มีความสุขนะคะ 

กำลังใจ อวยพร

  • ศิลาชอบความท้าทายแบบนี้เช่นกันค่ะ
  • นี่คือความท้าทายอย่างยิ่ง ท้าทายที่จะเปลี่ยนความเชื่อของเราเอง เปลี่ยนความเชื่อของสังคม และร่วมกันบำบัดเยียวยาสมาชิกในสังคมได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ 
  • การเปลี่ยนแปลงไปสู่สภาวะที่ดีขึ้นเป็นการทดสอบคุณธรรมของผู้เปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งเลยนะคะ
  • ขอบพระคุณสำหรับบันทึกที่มีทั้งเนื้องานประสบการณ์และหลักธรรมสอดแทรกอยู่เสมอค่ะ

 ครูอ้อย แซ่เฮ
สวัสดีคะ ครูอ้อย

แม่ต้อยว่าคุณครูอ้อยเป็นคนที่มีแนวคิดดีมากๆคะ

ระลึกถึงนะคะ

 kumfun
สวัสดีคะ

ดีใจที่มีคนมาเรียนรู้ แม้ว่าจะเป็นวันหยุด

ขยันจังคะ

 

 poo
สวัสดีคะ น้องปู

เรื่องสิ่งแวดล้อมที่ดีจำเป็นมากๆสำหรับทุกหน่วยงานคะ

แต่ในรพ.จะมีลักษณะพิเศษคือคนที่มา ไม่สบายกายอยู่แล้ว ดังนั้นหากเราจัดให้มีสิ่งแวดล้อมที่ผ่อนคลาย มีการพูดคุย  มีสัมผัสทั้ง ๕ ที่ดีทำให้การรักษา ดีขึ้นมากคะ เป็นการเยียวยาไปด้วย

 kumfun
สวัสดีคะ

ดีใจที่มีคนมาเรียนรู้ แม้ว่าจะเป็นวันหยุด

ขยันจังคะ

 

kumfun
สวัสดีคะ

แล้ววันนั้นได้คุยกับแม่ต้อยใน web conference ไหมคะ

 

 KRUPOM

สวัสดีคะ

สุขสันติ์ วันหยุดเช่นกันนะคะ

ขอให้มีความสุขมากๆๆๆที่สุดคะ

. Sila Phu-Chaya
สวัสดีคะ

น้องศิลาคะ

ขอบคุณคะ สำหรับคุณค่าที่ให้ต่อกันตลอดมาคะ

ธรรมฐิต
นมัสการพระคุณเจ้า

โรงพยาบาลจึงต้องนำมิติจิตใจบูรณาการในงานประจำด้วยคะ  เพราะได้เห็นความสำคัญ ดังที่ว่านี้คะ

 

 

ธรรมฐิต
นมัสการพระคุณเจ้า

โรงพยาบาลจึงต้องนำมิติจิตใจบูรณาการในงานประจำด้วยคะ  เพราะได้เห็นความสำคัญ ดังที่ว่านี้คะ

 

 

ในด้านการศึกษาเราก็ให้ความสำคัญ เรื่องความไม่แปลกแยกจากชุมชน  เพราะเรามีความเชื่อแบบเดียวกัน

วิถีชีวิตดั้งเดิมที่คุ้นชิน จะสามารถเยียวยา จิตใจและความทุกข์ของเด็กๆได้เป็นอย่างดียิ่ง

เป็นความโชคดีของชาวบ้านที่ได้คุณหมอดีดีที่เข้าถึงจิตใจ ขอบพระคุณ

  • ผลจากการ web con.ครั้งที่1 ทำให้รู้จัก Healing env.มากขึ้น
  • ไม่แพงอย่างที่คิด
  • ทะยอยทำไปเรื่อยๆค่ะ
  • ขอบคุณนะคะ

 นายประจักษ์~natadee
สวัสดีคะ

ท่านผอ.คะ

ช่วยกันคะ เพื่อให้บ้านเมืองเราได้สิ่งที่ดีที่สุดคะ

. sha-รพ.พะโต๊ะ
สวัสดีคะ

sha คนสวย

เรื่องสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา ไม่ได้เน้นเรื่องค่าใช้จ่ายมากนัก แต่ให้ความสำคัญในด้านการคำนึงถึงความสุขสบาย การเข้าใจในความต้องการของคนไข้ในลักษณะที่เขาคุ้นเคยมากกว่า

ขอบคุณนะคะ

ยังประทับใจเรื่องเล่าของท่านผอ.พะโต้ะและทีมงานมากคะ

ขอบคณนะคะเเม่ต้อยอ่านเเล้วจะนำไปพัฒนาสิ่งเเวดล้อมใน ward กุ้งให้ดียิ่งขึ้น

กระจ่างมากๆเลยค่ะเเม่ต้อยสำหรับเเนวคิดนี้ที่ท่าน ผอ.เขียน คิดถึงเเม่ต้อยนะคะ เเต่ว่ามาตามอ่านบล็อกก็หายคิดถึงได้ส่วนหนึ่งค่ะ เหมือนอยู่ไกล้เเม่ต้อยนิดเดียว ไม่ไกลเลย

พ.ย.นี้รอเจอเเม่ต้อยค่ะ

เเม่ต้อยขากุ้งเคยค้างการบ้านเเม่ต้อยค่ะ

ตามมาอ่านบันทึกนี้นะคะเฉลยเเล้วค่ะ

http://gotoknow.org/blog/245/281381

ว้าว ว้าว มาเป็นรอบที่ 3ค่ะเเม่ต้อย ดูข่าวเมื่อตะกี๊เห็นเเม่ต้อยในชุดสีฟ้ากำลังเข้ารับประทานรางวัลเเม่ศรีเรือนจากพระองค์โสม ขอเเสดงความยินดีกับเเม่ต้อยด้วยนะคะ เยี่ยมจริงๆค่ะ

เหมาะสมเเล้วกับรางวัลนี้ค่ะ สุดยอดจริงๆเเม่ต้อยของเรา อย่างนี้ต้องฉลอง

สุธีรา
โอ้โห  น้องกุ้งนี่ ไวจริงๆคะ

แม่ต้อยได้รับพระราชทานวโกาส ร่วมโต้ะเสวยด้วย นับว่าเป็นพระกรุณาธิคุณอย่างยิ่งในชีวิตนี้

ขอบคุณน้องกุ้งมากมายคะ

สวัสดีค่ะ

 ดีใจและร่วมภูมิใจด้วยนะคะ

ขอบคุณนะคะที่ไปให้กำลังใจน้องมนตรีและแม่ค่ะ ทีมเราก็จะทำดีที่สุด ยืดหยุ่น...และให้กำลังใจ การทักทาย เป็นกันเอง ก็จะช่วยให้เกิดความรู้สึกดีๆนะคะ

มาชม

มนุษย์ด้วยกัน รักในความเป็นมนุษย์ด้วยกันนะครับ

สวัสดีค่ะ  แวะมาเยี่ยมจ๊ะ

ทักทาย สวัสดี

มาส่งบันทึกนี้ให้เเม่ต้อยอ่านค่ะ เเม่ต้อยจำเด็กผู้หญิงคนที่นอนพับริบบิ้นตอนที่เเม่ต้อยเเวะไปเยี่ยมให้กำลังใจเด็กที่ ward กุ้งมั๊ยคะ

ตอนนี้เขาอยู่ที่บ้านค่ะทีมออกเยี่ยมบ้านกุ้งเลยคิดถึงเเม่ต้อยค่ะส่งภาพประทับใจมาให้เเม่ต้อยชมhttp://gotoknow.org/blog/endoflifechild/292281

สวัสดีค่ะ  แวะมาทักด้วยความคิดถึง  ฝันดีนะคะ

  สวัสดีค่ะ  มาส่งกำลังใจก่อนนอน

ฝันดีหลับสบายนะคะ   คิดถึงนะคะ  แต่ไม่ค่อยว่างเลย

  จุ๊บ จุ๊บ                                               

หาแม่ต้อยไม่เจอค่ะ ดีใจจังที่เจอแล้วค่ะ

สวัสดีค่ะ

ตั้งแต่g2kเปลี่ยนโฉม หนูยังทักทาย ญาติโยมไม่ครบเลยค่ะ

สวัสดีค่ะ  แวะมาทักด้วยความคิดถึง  สบายดีนะคะ

ไม่ได้มาเยี่ยมหลายวัน

ขอบพระคุณเเม่ต้อยค่ะ เเวะมาติวเข้มก่อนนอนค่ะ

พรุ่งนี้เจอ อ. ชนิภาดาค่ะ อ.เเหววด้วยค่ะเเม่ต้อย

สวัสดีค่ะ แม่ต้อย

หนู๋แมวเองค่ะ อ่านแล้วสะดุดกับคำว่า "มิติจิตใจ" โดนใจมากๆ เลยค่ะ

แม่ต้อยของนู๋ๆ ยิ้มสวยที่สุดในโลกเลย ขอบอก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท