คิดอย่างไร..เมื่อเด็กไทยต้องสอบทั้งโอเน็ต และPATกับGAT


           ผมว่ามีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ทราบว่า  การสอบเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยของไทยในปัจจุบัน  ช่างแสนจะยุ่งยากซับซ้อนซ่อนเงื่อน..จนเด็กเครียดกันเป็นทิวแถว....
           เพราะจะต้องรีบสอบไล่ปลายภาคเรียนที่สองประมาณเดือนกุมภาพันธ์  ตามด้วยการสอบโอเน็ต  และ
PAT และ GAT ประมาณช่วงมีนาคม..
          เทศกาลปีใหม่แทนที่จะเป็นช่วงเวลาความสุขของเด็กไทยในชั้นมัธยมศึกษาปีที่
6 กลับกลายเป็ยความเครียดและวุ่นวาย
พอสมควร  ไหนจะเรื่องสอบตรง  เรื่องสอบแอดมิชชันเข้ามหาวิทยาลัย  ไม่มีลูกเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายบ้างย่อมไม่
รู้ ไม่เข้าใจปัญหาสอบเข้ามหาวิทยาลัยของเด็กไทย...
          ล่าสุด
นี้มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการสอบเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยหรือการสอบแอดมิชชั่น...มีข้อเสนอเพิ่มการสอบ PAT หรือความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ เป็น 25 วิชา...ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อการเตรียมตัวของนักเรียนในความปกครองของท่านทั้งหลาย

         ด้วยเหตุนี้จึงมีข้อเสนอจากคณะทำงานแอดมิชชั่นบางท่าน  เสนอให้มีการใช้การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) แทนการสอบไล่ปลายภาคสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อให้เด็กคลายความเครียดและลดความกดดันของนักเรียนเพราะต้องสอบหลายอย่างหลายประเภทในเวลาเดียวกัน..ซึ่งได้แก่ สอบปลายภาค  สอบโอเน็ต และสอบ GATและ PAT ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์และเดือนมีนาคม..
         ข้อเสนอดังกล่าว..เสนอให้มีการนำร่องใช้กันตั้งแต่ปีการศึกษา
2553 วิธีการก็คือให้นักเรียนมีคะแนนเก็บจากโรงเรียนประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์  แล้วใช้คะแนนโอเน็ตอีก 10-20 เปอร์เซ็นต์ไปรวมเพื่อใช้ในการตัดเกรด...ในอนาคตอาจเพิ่มเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ก็ได้....
         ข้อเสนอดังกล่าว..มองดูน่าจะดีเพราะผู้ที่สนับสนุนบอกว่า  จะทำให้เกิดคุณภาพของข้อสอบ  แก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมของเกรดนักเรียนด้วย..เพราะบางโรงเรียนก็มีการกดเกรด..บางโรงเรียนก็มีการปล่อยเกรด..ฟังดูแล้วทุกฝ่ายน่าจะรับได้

      

         สำหรับผมเองมีข้อคิดเห็นในฐานะครูมัธยมศึกษา ดังนี้ครับ
         ประการแรก...การสอบโอเน็ตทุกวันนี้คลายมนต์ขลังไปมากทีเดียว  นักเรียนเป็นจำนวนมากไม่ให้ความสำคัญ เพราะว่า  มีมหาวิทยาลัยหลายแห่งเปิดโอกาสให้สอบตรงสอบโควตาได้  และมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนก็มีให้เลือกเรียนเป็นจำนวนมากโดยไม่ต้องพึ่งระบบแอดมิชชั่น..มีที่เรียนอยู่แล้ว..จะไปสนใจ โอเน็ต
PAT และ GAT ให้ยุ่งยากกับชีวิตอีกทำไม
         ประการที่สอง..การใช้คะแนนโอเน็ตมาร่วมในการตัดเกรดปลายภาคเรียนของชั้นมัธยมศึกษาปีที่
6  ย่อมส่งผลต่อหลักสูตรและรายวิชาของแต่ละโรงเรียนอย่างแน่นอนเพราะ ครูเขาออกแบบรายวิชา  หน่วยการเรียนไว้ 6 ภาดเรียน  สอนจบตัดเกรดกันเสร็จจึงสอบโอเน็ตกัน..ถ้าเป็นตามข้อเสนอ..พวกเราจะได้ยุบรายวิชาเหลือเพียง 5 ภาคเรียนส่วนภาคเรียนที่ 6 จะได้เปิดสอนวิชาเตรียมสอบโอเน็ต และ PAT และGAT กันซะเลย..
        อยากให้คนคิด คนวางแผนในเรื่องนี้ฟังคนมัธยมศึกษากันบ้าง  อย่างน้อยเขามีวิถีชีวิตเข้าใจเด็กในระดับนี้เป็นอย่างดี..ต้องฟังให้มาก ๆ โดยเฉพาะเด็กนักเรียนและผู้ปกครองเพราะคนทั้งสองกลุ่มนี้..เครียดมากครับ

     

หมายเลขบันทึก: 290689เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2009 20:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 20:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เหนื่อยค่ะ...
  • ดูไม่ค่อยมีความหวังเอาเสียเลย...เพราะการศึกษาไทย ก็ยังให้คุณค่ากับการแข่งขัน มากกว่า สติ และปัญญา
  • พ่อแม่ ครู และผู้ใหญ่ ก็ยังวิ่งไล่ตามระบบอยู่ร่ำไป...ทั้งๆ ที่ตั้งคำถามกับระบบเหล่านี้มากมาย
  • (ขอบ่นค่ะ)

อาจารย์ครับ

นี่หละครับเมืองไทย

ผู้บริหารโดยมากเป็นนักวิชาการ (ที่มักจะล้นเกิน) ไม่เข้าใจความเป็นจริง

คนเก่งและดีไม่มีโอกาสเลยที่จะเข้าไปบริหารและกำหนดนโยบาย

ที่มีอยู่ก้เป็นพวกตรงข้าม (กับเก่งและดี)

ผมไม่แปลกใจเลยที่ปฏิรูปการศึกษาจึงทำได้แค่นี้ (ถอยหลังลงคลอง)

ขอบคุณอาจารย์นะครับที่เข้าไปแวะเยี่ยมเยียน

ผมเป็นชาวเขาคนหนึ่ง อยากเขียนถึงคนเล็กคนน้อย

ดีใจที่มีคนอ่าน และอยากเรียนรู้เรื่องของพวกเขาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท