บทสรุปเวทีแลกเปลี่ยนครั้งที่ 5 (ตอนที่ 4) ตอน ความสุขในภาวะวิกฤต


“ความสุขเป็นเรื่องง่ายๆ และหาได้ง่ายในภาวะวิกฤต” สิ่งที่จะเป็นความสุขคือ ได้ใจ ให้ทำด้วยใจ

    คราวนี้ก็มาถึงกลุ่มสุดท้าย...ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวมพลระดับผู้บริหารระดับสูง / CEO ขององค์กร มาฟังแนวความคิดของท่านเหล่านี้กันว่า มีมุมมมองในเรื่อง การบริหารความสุขในภาวะวิกฤติปัจจุบันได้อย่างไร

กลุ่มที่ 1

วิทยากรกระบวนการ   :  อ.ขวัญเมือง  แก้วดำเกิง

ผู้จดประเด็น                :  คุณรุ่งทิพย์  กู้เกียรติศักดิ์     Rockworth Public Co., Ltd.

สมาชิกกลุ่ม

  1. บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)               คุณดุสิต  รัชตเศรษฐนันท์
  2. บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด          คุณเรืองเวช  วิทวัสการเวช
  3. บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด    คุณศรีโรจน์  คล้ายสุบรรณ 
  4. โรงพยาบาลศรีวิชัย 3 อ้อมน้อย                     ดร.รัชฎา  ฟองธนกิจ
  5. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล       คุณพจนีย์  บุญประสิทธิ์
  6. บริษัท กรุงไทย จำกัด(มหาชน)                    คุณหมอคัคนันต์  กรีติสุนทร ร.น.
  7. AEROTHAI RADIO OF THAILAND Co.,Ltd.  คุณมาโนช  สวัสดี
  8. บริษัท เทยิน (ประเทศไทย) จำกัด                คุณสมหวัง  ถุงสุวรรณ
  9. Royal Orchid Sheraton Hotel & Towers        คุณกนกนาฎ  สุทธศิริ  
  10. บริษัท เมอส์กไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด          ดร.เทอดทูน  ไทศรีวิชัย  
  11. บริษัทSomboon Group                             คุณอัสนียา  สุวรรณศิริกุล    

 

ผู้นำเสนอ : คุณอัสนียา  สุวรรณศิริกุล   

 

เราเปรียบกลุ่มเราเหมือนกับคน 3 วัย คือ 1) วัยสูงอายุ (ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก องค์กรที่เก่าแก่ องค์กรของครอบครัวที่เจริญเติบโต) 2) วัยกลางคน (มีหน่วยงานวิสาหกิจที่ร่ำรวยอยู่ในกลุ่ม ไม่ค่อยสะทกสะท้านกับภาวะวิกฤตเท่าใด) 3) กลุ่มเด็กแนว (องค์กรเกิดใหม่ ไม่ค่อยสะทกสะท้านกับภาวะวิกฤต เช่น ธนาคารกรุงไทย KTC) ในธุรกิจที่แยก 3 รูปแบบคงบ่งบอกถึงความชัดเจนว่า ความสุขคงมีความแตกต่างตามธุรกิจของ 3 วัย  ไม่ว่าคุณจะเป็นองค์กรใด ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเก่าแก่ องค์กรรัฐวิสาหกิจ องค์กร เอกชน บนพื้นฐานที่คุณยืนอยู่ได้ในโลกใบนี้ คือ บนพื้นฐานของความสุขที่ เลือกดื่มได้ เลือกกินได้ เราเชื่อว่า ไม่ว่าจะไร้รูปแบบหรือ ไม่ว่าจะ Happy 8   ซึ่งคิดว่าเป็นเครื่องมือที่ง่าย  จากการใช้ในทุกองค์กรแล้ว ผลของมันปรากฏว่า บนพื้นฐานของความสุขที่คนมีและมีความสุข จะทำให้องค์กรมีความสุข เป็นองค์กรที่แข็งแรง และถ้าทุกองค์กรเป็นองค์กรที่แข็งแรง ประเทศไทยก็จะเป็นประเทศที่แข็งแรงและมีความสุข

องค์กรของพวกเราทั้งหมดในกลุ่มนี้ ถ้าเราได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน ในองค์กรลักษณะเหล่านี้ องค์กรเก่าแก่ มาจากครอบครัว เช่น เซ็นทรัล รีเทล ก็จะคำนึงถึงการสร้างความสุขในตัวพนักงานและครอบครัวให้เกิดขึ้น กิจกรรมต่างๆ ก็จะไปในทิศทางแนวนั้น หรือ สมบูรณ์กรุ๊ปเอง ก็จะเน้นการสร้างความสุขในรูปครอบครัวพนักงาน และเน้นธรรมะ ด้วยการสร้างคนจากจิตวิญญาณ สร้างให้ความสุขที่เกิดขึ้น จากหัวใจก่อนและไปสร้างความรู้พัฒนาให้คนมีความสามารถขึ้น เช่นเดียวกันกับรัฐวิสาหกิจ KTC หรือ ธนาคารกรุงไทย หรือทั้ง 3 โรงพยาบาล ได้แก่ บำรุงราษฎร์ ศรีวิชัย เทพทารินทร์  และวิทยุการบิน ซึ่งเวลาที่สร้างความสุขก็แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งหนึ่งที่หนีไม่พ้นคือไม่ใช่ว่าสร้างความสุขวันนี้  แต่เน้นเรื่องการป้องกันสิ่งต่างๆ ที่ไม่ดี ไม่ให้เกิดขึ้น เพื่อที่ว่าไม่ต้องใช้งบประมาณ หรือ ทุ่มเททรัพยากรมากจนเกินไปในการแก้ไข เช่น มีโครงการป้องกันโรค โครงการแบ่งปัน จิตอาสาที่เกิดจากตัวพนักงานเอง เช่น พนักงานที่อยู่ในโรงพยาบาลมีการรวมตัวกันทำงานจิตอาสาไปดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งที่มีอาการหนัก ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้ มีจิตใจเศร้าสร้อยและหงอยเหงา  พนักงานอาสาก็ไปสร้างความสุขให้กับคนไข้กลุ่มนี้ โดยไม่ได้คาดหวังผลตอบแทน และกำลังรวบรวมชุมชนเข้ามาช่วยด้วย

โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ มีกิจกรรม คล้าย Core competency ทำตัววัฒนธรรมที่ปลูกฝังผู้ให้บริการใส่ใจในงานที่ทำ มีความรับผิดชอบ มี Card เป็น double score  ปรากฏว่าตื่นตัวทั้งโรงพยาบาล  หรือมีการให้ up sell ห้องของคนไข้ ช่วยกันดูแลธุรกิจคล้ายการบริการโรงแรม ซึ่งเป็นวิธีจูงใจให้พนักงานที่แตกต่างกัน   หรือแม้แต่ของบริษัท KTC มีการทำงานแบบไร้รูปแบบ แต่ทุกคนสามารถสนุกกับงานที่ทำในทุกวันที่ทำงาน

          ซึ่งวิธีการพัฒนา ของ 3 รุ่นก็จะแตกต่างกัน

กลุ่มรุ่นเก่าแก่  ก็จะมีตัวชี้วัด มีขั้นตอน เช่น สมบูรณ์กรุ๊ปทำ Core competency จะได้รายได้มากขึ้นก็ต้องมีความสามารถมากขึ้น

กลุ่มรุ่นใหม่ เช่น KTC เป็นองค์กรไร้รูปแบบ ผู้บริหารต้องการนโยบายอะไรลงมา ฝ่าย HR จะคิดและแปลงออกมาเป็นกิจกรรม เช่น การพัฒนา Core competency ของพนังกานตามลำดับชั้น ที่นี่ใช้ชื่อว่า การส่งเสริมยกระดับความสามารถของพนักงานด้วย Reality Show สำหรับ Call Center ทุกคนก็กระตือรือร้นในการพัฒนา อันได้แก่ เรียนรู้เรื่องเสียง เรียนรู้เรื่องของการแสดงออก และเรื่องบุคลิกภาพ ทำให้พนักงานสนุกกับการพัฒนา  

นอกจากนี้โรงพยาบาลศรีวิชัย 3 และบำรุงราษฎร์  ก็มีการยกระดับพนักงาน เช่น ผู้ช่วยพยาบาลก็ได้รับการยกระดับเป็นพยาบาล ด้วยการให้การศึกษา  หรือ คุณสมหวัง จากบริษัท เทยิน  ทฤษฏีของการให้  5 ให้คือ (1) การให้ความรู้  (2)ให้ความเป็นธรรมต่อพนักงานทุกคน (3)ให้กำลังใจ (4) ให้อภัย และ (5) ให้ความช่วยเหลือ สามารถเปลี่ยนแนวความคิดของหัวหน้างาน 90 คน กลายเป็นผู้ให้ใน 5 ประเด็น

และต้องเน้นเรื่องการสื่อสาร ไม่ว่าผู้บริหารต้องการอะไร จะทำอะไร สร้างความสุขแบบไหนมาจากเรื่องของการสื่อสาร แต่สิ่งที่สำคัญคือ CEO แสดงตัวที่ยืนอยู่เหนือความสุขทั้งปวงและเปล่งแสงออกมาเป็น role model ให้พนักงานได้เห็น เช่น การสื่อสารว่าองค์กรเราแข็งแรง ซึ่ง  KTC  ทำโครงการที่ไม่ต้องเสียเงิน ชื่อ โครงการขาคุณเพื่อขาเทียม โดยการให้พนักงานวิ่งออกกำลังกายรอบสวนเบญจศิริ  750 เมตร CEO และผู้บริหารทุกคนมาร่วมวิ่งด้วย เป้าให้ได้ 1000 กิโลเมตร ผลที่ได้คือ 2000 กิโลเมตร สร้างความเชื่อมั่นต่อองค์กร  เงินที่ได้จะไปบริจาคให้กับมูลนิธิขาเทียมแห่งประเทศไทย เงินที่ได้มาจากงบประมาณ CSR นี่คือ Message ที่ต้องการจะสื่อให้พนักงานรับทราบคือ องค์กรแข็งแรง วัดความฟิตของคนในองค์กร

 

นอกจากนี้ยังได้หลักคิดดีดี จากคุณสมหวัง ผู้บริหารจากบริษัท เทยิน ดังนี้

 

ความสุขเป็นเรื่องง่ายๆ และหาได้ง่ายในภาวะวิกฤต

สิ่งที่สำคัญที่สุดให้คนเกิดความรู้สึก รักและประทับ คือ เรื่องของการสื่อสาร สิ่งสำคัญไม่ได้ขึ้นกับขนาดขององค์กร แม้ว่าองค์กรจะใหญ่หรือเล็ก ถ้าประสิทธิภาพการสื่อสารดี ผมเชื่อว่า คนจะสุขไม่สุขมันอยู่ที่การสื่อสาร ไม่สามารถชั่ง ตวงวัดได้ ความสุขเกิดจากในใจ  คนที่ทำงานด้วยกัน ทุกท่านย่อมมีเพื่อนร่วมงาน ตั้งแต่เป็นผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา สิ่งที่จะเป็นความสุขคือ ได้ใจ  ให้ทำด้วยใจ  ผมจึงสร้างทฤษฎีการให้ เพื่อที่จะได้มากกว่า และ CEO ต้องสร้างตัวแทน ขอย้ำว่า ความสุขเกิดได้ไม่ยากครับ

หมายเลขบันทึก: 290897เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2009 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท