การจัดการความรู้จากการปฏิบัติ


การจัดการความรู้จากการปฏิบัติ

 

 

กรมการพัฒนาชุมชน ส่งเสริมให้คนในองค์กร สกัดความรู้ของตนเองจากการปฎิบัติ และนี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งซึ่ง จนท.ของเราที่ถอดวิธีปฏิบัตงานหน้างานเพื่อเเลกเปลี่ยนกันครับ

วิธีทำ/วิธีปฏิบัติ  เรื่อง       เทคนิคที่ทำให้การจัดเก็บข้อมูล จปฐ. มีประสิทธิภาพ

วิธีทำ

ข้อแนะนำ/ข้อพึงระวัง

        การจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ถือได้ว่า  ประชาชน   คือแก่นหัวใจของการจัดเก็บ  เพราะสามารถทราบได้ว่าตนเองรวมทั้งหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด มีคุณภาพชีวิตเป็นอย่างไร... และอย่างน้อย  ในฐานะเป็นคนไทยควรจะมีระดับความเป็นอยู่ไม่ต่ำกว่าระดับใด มีปัญหาที่จะต้องแก้ไขหรือพัฒนาในเรื่องใดบ้าง  และผู้ที่สามารถจะช่วยให้การจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพนั้น ก็คือ พัฒนากร

        ฉะนั้น  สิ่งที่จะช่วยให้พัฒนากรประสบผลสำเร็จ   ในการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ให้มีประสิทธิภาพได้นั้น เรียกว่า เทคนิค  โดยมีขั้นตอนดังนี้

        1. ตรวจสอบดูว่าข้อมูลที่จัดเก็บมานั้นตรงกับข้อเท็จจริงหรือไม่  โดยให้เปรียบเทียบจำนวนครัวเรือน หมู่บ้าน ระหว่างปีที่จัดเก็บกับปีที่ผ่านมาว่ามีความแตกต่างจากเกณฑ์ที่ควรจะเป็นหรือไม่ เพื่อให้ได้คำตอบ ที่ถูกต้องของข้อมูล

        2. สุ่มตรวจสอบการผ่านเกณฑ์ของตัวชี้วัดที่ Hothit  คือ  ตัวชี้วัดที่ 5  เด็กกินนมแม่ฯ  ตัวชี้วัดที่ 11 คนอายุ   35 ปีขึ้นไป มีการตรวจสุขภาพประจำปี และตัวชี้วัดที่ 30 รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี  ให้ดูว่าทั้ง 3 ตัวชี้วัดนี้ แต่ละตัวมีความสัมพันธ์และสอดคล้องตรงกับความเป็นจริงกับพื้นที่หรือไม่

        3. ตรวจสอบข้อมูลในภาพรวมของหมู่บ้าน ตำบล ว่าเป็นข้อมูลของปีปัจจุบันหรือไม่ เพราะเท่าที่พบมีบางพื้นที่ไม่ได้ทำการจัดเก็บข้อมูลจริง เพียงแต่ปรับเปลี่ยนเฉพาะปี พ.ศ. เท่านั้น

         4. เทคนิคที่กล่าวมาข้างต้น แม้นเป็นเทคนิคเพียงเล็กน้อย แต่หากพัฒนากรดำเนินการอย่างเคร่งครัด เชื่อว่าจะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และสมบูรณ์ นั่นหมายถึงว่าสามารถเป็นฐานข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง.

1. กรณีข้อเท็จจริงที่ตรวจพบแตกต่างจากเกณฑ์ที่ควรจะเป็น จะต้องวิเคราะห์ต่อไปว่า  หากไม่ทำการแก้ไขหรือปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้อง จะส่งผลกระทบทางตรงหรือทางอ้อมอะไรบ้าง

2. หลักเกณฑ์/สิ่งที่ควรจะเป็น จะต้องเป็นสิ่งที่ถูกต้องและใช้เป็นหลักในการดำเนินการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ได้

3. ข้อเท็จจริง/สิ่งที่เป็นอยู่  คือการที่พัฒนากรได้ค้นพบและได้ตรวจสอบ   แน่ชัดแล้วว่าเป็นข้อมูลที่มีความถูกต้องและเที่ยงตรง

4. ผลกระทบ  เมื่อข้อเท็จจริงพบว่าข้อมูลไม่มีความถูกต้องหรือมีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง อัน เนื่องมาจากสิ่งที่เป็นอยู่แตกต่างจากสิ่ง ที่ควรจะเป็น  พัฒนากรต้องรีบทำการแก้ไขปรับปรุงข้อมูลให้มีความถูกต้องทันที  เพื่อมิให้ส่งผลกระทบไปยังภาพรวม

5. ข้อมูล จปฐ. ต้องมีคุณภาพและประสิทธภาพครบ 4 องค์ประกอบดังนี้

    1)  ข้อมูลต้องมีความถูกต้องครบถ้วนและสมบูรณ์

    2)  ข้อมูลต้องมีความเชื่อถือได้

    3)  ข้อมูลต้องมีความเกี่ยวข้องและมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน

    4)  ข้อมูลต้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 เจ้าของเรื่อง   นางสายสุนีย์  แก้วเรืองเนตร   ติดต่อได้ที่   ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนพิษณุโลก

 

หมายเลขบันทึก: 291254เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2009 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

แลกเปลี่ยนวิธีปฏิบัติกัน เป็นส่วนหนึ่งของKM KM KM KM

ขอบคุณอาจารย์ที่ แบ่งปันข้อมูลที่ดี มีประโชน์ หากมีโอกาส จะเริ่ม Km ในเนื้องาน หลังจากที่ บันทึกเรื่องอื่น ๆ เรื่อยเฉี่อย มานาน

สวัสดีครับ ขอให้อาจารย์ มีสุขภาวะที่ดีครับ

ประชามีสุข เธอเป็นคนไฝ่รู้มากๆ คนหนึ่งนักพัฒนาต้องมีคุณลักษณะเเบบนี้ พี่ขอชื่นชมครับ

งานCD DAY จัดสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ขอขอบคุณทุกฝ่ายครับ

เพื่อนอ้อยเล็กน่ารักเสมอเลยนะ...ขอบใจจ๊ะ บำรุงร่างกายเเละลดไขมันซะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท