ธรรมะตามพระราชดำริปรารภสมเด็จย่า...พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร-๑


หลักธรรมโดยย่อในพุทธศาสนา

คำนำ

สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาล ทรงมีพระราชปารภว่า นักเรียนนักศึกษา ตลอดถึงข้าราชการผู้ที่ไปศึกษาต่อ หรือไปรับราชการ ณ ต่างประเทศ ควรจะมีหนังสือแนะแนวคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาเป็นคู่มือ สำหรับอ่านเพื่อให้เกิดความรู้ เป็นแนวทางสำหรับปฏิบัติตนเอง และเพื่ออธิบายให้บรรดามิตรชาวต่างประเทศ ผู้ต้องการจะทราบเข้าใจได้ถึงหลักธรรมบางประการในพระพุทธศาสนา จึงทรงอาราธนา พระสาสนโสภณ (สุวฑฺฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร ให้เรียบเรียงเรื่อง พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร ในแนวความโดยพระราชประสงค์ในพากย์ภาษาไทย และทรงอาราธนาให้พระขนฺติปาโล (Laurence C.R.Mills) วัดบวรนิเวศวิหาร กับพระนาคเสโน วัดเบญจมบพิตร แปลเป็นภาษาอังกฤษขึ้นก่อน และโปรดให้พระยาศรีวิสารวาจา พันตำรวจโท เอ็จ ณ ป้อมเพ็ชร์ และนายจอห์น โบลแฟลด์ ตรวจแปลเรียบเรียงขึ้นอีกโดยตลอด จนเป็นที่พอพระราชหฤทัยในพากย์ภาษาอังกฤษแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดให้จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในวารดิถีคล้ายวันประสูติ วันที่ ๒๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๐

วังสระปทุม

วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๐

มื่อก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ได้มีมหาบุรุษท่านหนึ่งเกิดขึ้นมาในโลก เป็นโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ซึ่งบัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล มีพระนามว่า สิทธัตถะ ต่อมาอีก ๓๕ ปี พระสิทธัตถะได้ตรัสรู้ธรรม ได้พระนามตามความตรัสรู้ว่า พุทธะ ซึ่งไทยเราเรียกว่า "พระพุทธเจ้า

ระองค์ได้ทรงประกาศพระธรรมที่ได้ตรัสรู้แก่ประชาชน จึงเกิดพระพุทธศาสนา (คำสั่งสอนของพระพุทธะ และบริษัท ๔ คือ ภิกษุ (สามเณร) ภิกษุณี (สามเณรี) อุบาสก อุบาสิกาขึ้นในโลกจำเดิมแต่นั้น

บัดนี้ ในเมืองไทยมีแต่ภิกษุ* (สามเณร) อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุนั้นคือชายที่ถือบวช ปฏบัติพระวินัยของภิกษุ สามเณรนั้นคือชายผู้มีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปี หรือแม้เกิน ๒๐ ปี** แล้วเข้ามาถือบวช ปฏิบัติสิกขาของสามเณร อุบาสก อุบาสิกานั้น คือ คฤหัสถ์ชาย หญิงผู้นับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ (ที่พึ่ง) และปฏิบัติอยู่ในศีลของคฤหัสถ์

บัดนี้ มีคำเรียกชายหญิงทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ผู้ประกาศตนถึงพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะว่า พุทธมามกะ พุทธมามิกา แปลว่า ผู้นับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นพระของตน พระพุทธศาสนาได้แผ่ออกจากประเทศถิ่นเกิด ไปในประเทศต่างๆในโลก

หลักเคารพสูงสุดในพระศาสนา คือ พระรัตนตรัย (รัตนะ ๓)

ได้แก่พระพุทธเจ้า คือพระผู้ตรัสรู้พระธรรมแล้วทรงประกาศสั่งสอนตั้งพระพุทธศาสนาขึ้น

พระธรรม คือ สัจธรรม (ธรรม คือความจริง) ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และได้ทรงประกาศสั่งสอนเป็นพระศาสนาขึ้น

พระสงฆ์ คือหมู่ชนผู้ได้ฟังคำสั่งสอน ได้ปฏิบัติและได้รู้ตามพระพุทธเจ้า บางพวกออกบวชตาม ได้ช่วยนำพระพุทธศาสนาและสืบต่อวงศ์การบวชมาจนถึงปัจจุบันนี้

.....................................................................

หมายเหตุ

* ปัจจุบันมีภิกษุณี และสามเณรีเกิดขึ้นในประเทศไทยแล้ว

** สามเณร และสามเณรี อาจหมายถึงผู้ที่อายุมากกว่า ๒๐ ปี ที่บวชและปฏิบัติสิกขาของสามเณร และสามเณรีเป็นเวลา ๒ ปีก่อน จึงสามารถบวชเป็นพระภิกษุ หรือพระภิกษุณีตามกฎของวัด หรือของการบวชภิกษุณีได้

......................................................................

ทุกคนที่เข้ามานับถือพระพุทธศาสนา จะเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม จะถือบวชก็ตาม ต้องทำกิจเบื้องต้น คือปฏิญาณตนถึงพระรัตนตรัยนี้เป็นสรณะ คือที่พึ่ง หรือดังที่เรียกว่านับถือเป็นพระของตน เทียบกับทางสกุล คือ นับถือพระพุทธเจ้าเป็นพระบิดา ผู้ให้กำเนิดชีวิตในทางจิตใจของตน

พุทธศาสนิกชนย่อมสังคมกับผู้นับถือศาสนาอื่นได้ และย่อมแสดงความเรพต่อสิ่งเคารพในศาสนาอื่นได้ตามมารยาทที่เหมาะสม เช่นเดียวกับแสดงความเคารพบิดาหรือมารดาของผู้อื่นได้ แต่ก็คงมีบิดาของตน ฉะนั้น จึงไม่ขาดจากความเป็นพุทธศาสนิกชนตลอดเวลาที่ยังนับถือพระรัตนตรัยเป็นของตน เช่นเดียวกับเมื่อยังไม่ตัดบิดาของตน ไปรับบิดาของเขามาเป็นบิดา ก็คงเป็นบุตรธิดาของบิดาตนอบู่ หรือเมื่อยังไม่แปลงสัญชาติเป็นอื่น ก็คงเป็นไทยอยู่นั่นเอง

ฉะนั้น พระพุทธศาสนาจึงไม่คับแคบ ทั้งไม่สอนให้ลบหลู่ใคร ตรงกันข้ามกลับให้เคารพต่อผู้ควรเคารพทั้งปวง และไม่ซ่อนเร้นหวงธรรมไว้โดยเฉพาะ ใครจะมาศึกษาปฏิบัติก็ได้ทั้งนั้น โดยไม่ต้องมานับถือก่อน ทั้งนี้ เพราะแสดงธรรมที่เปิดทางให้พิสูจน์ได้ว่าเป็นสัจจะ (ความจริง) ที่เป็นประโยชน์สุขแก่การดำรงชีวิตในปัจจุบัน สัจธรรมที่เป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนา คือ อริยสัจ ๔

ริยสัจ แปลว่า สัจจะของผู้ประเสริฐ (หรือผู้เจริญ) สัจจะที่ผู้ประเสริฐพึงรู้ สัจจะที่ทำให้เป็นผู้ประเสริฐ หรือแปลรวบรัดว่า สัจจะอย่างประเสริฐ พึงทำความเข้าใจก่อนว่า มิใช่สัจจะตามชอบใจของโลกหรือของตนเอง แต่เป็นสัจจะทางปัญญาโดยตรง

ริยสัจมี ๔ คือ

ทุกข์ ได้แก่ความเกิด ความแก่ ความตาย ซึ่งเป็นธรรมดาของชีวิต และความโศกระทม ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ซึ่งมีแก่จิตใจและร่างกายเป็นครั้งคราว ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รักไม่ชอบ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบ ความปรารถนาไม่สมหวัง กล่าวโดยย่อก็คือ กายและใจนี้เองที่เป็นทุกข์ต่างๆ จะพูดว่า ชีวิตนี้เป็นทุกข์ต่างๆดังกล่าวก็ได้

สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตใจ คือดิ้นรนทะยานอยากเพื่อที่จะได้สิ่งที่ปรารถนาอยากได้ ดิ้นรนทะยานอยากเพื่อจะเป็นอะไรต่างๆ ดิ้นรนทะยานอยากที่จะไม่เป็นในภาวะที่ไม่ชอบต่างๆ

นิโรธ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากดังกล่าว

มรรค ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ทางมีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ เพียรพยายามชอบ สติชอบ ตั้งใจชอบ

ได้มีบางคนเข้าใจว่า พระพุทธศาสนามองในแง่ร้ายเพราะแสดงให้เห็นแต่ทุกข์ และสอนสูงเกินกว่าที่คนทั่วไปจะรับได้ เพราะสอนให้ดับความดิ้นรนทะยานอยากเสียหมด ซึ่งจะเป็นไปยาก เห็นว่าจะต้องมีผู้เข้าใจดังนี้ จึงต้องซ้อมความเข้าใจไว้ก่อนที่จะแจกอริยสัจออกไป พระพุทธศาสนามิได้มองในแง่ร้ายหรือแง่ดีทั้งสองแต่อย่างเดียว แต่มองในแง่ของสัจจะ คือความจริงซึ่งต้องใช้ปัญญาและจิตใจที่บริสุทธิ์ประกอบกันพิจารณา

ตามประวัติพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้ามิได้ทรงแสดงอริยสัจแก่ใครง่ายๆ แต่ได้ทรงอบรมด้วยธรรมข้ออื่นจนผู้นั้นมีจิตใจบริสุทธิ์พอที่จะรับได้แล้ว จึงทรงแสดงอริยสัจ ธรรมข้ออื่นที่ทรงอบรมอยู่เสมอสำหรับคฤหัสถ์นั้น

คือ ทรงพรรณนาทาน พรรณนาศีล พรรณนาผลของทาน ศีล ที่เรียกว่าสวรรค์ (หมายถึงความสุขสมบูรณ์ต่างๆที่เกิดจากทาน ศีล แม้ในชีวิตนี้) พรรณนาโทษของกาม (สิ่งที่ผูกใจให้รักใคร่ปรารถนา) และอานิสงส์ คือผลดีของการพรากใจออกจากกามได้

เทียบด้วยระดับการศึกษาปัจจุบัน ก็เหมือนอย่างทรงแสดงอริยสัจแก่นักศึกษาชั้นมหาวิทยาลัย ส่วนนักเรียนที่ต่ำลงมา ก็ทรงแสดงธรรมข้ออื่นตามสมควรแก่ระดับ พระพุทธเจ้าจะไม่ทรงแสดงธรรมที่สูงเกินกว่าระดับของผู้ฟัง ซึ่งจะไม่เกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

แต่ผู้ที่มุ่งศึกษาแสวงหาความรู้แม้จะยังปฏิบัติไม่ได้ ก็ยังเป็นทางเจริญความรู้ในสัจจะที่ตอบได้ตามเหตุผล และอาจพิจารณาผ่อนลงมาปฏิบัติทั้งที่ยังมีตัณหา คือความอยากดังกล่าวอยู่นั่นแหละ ทางพิจารณานั้นพึงมีได้ เช่นที่จะกล่าวเป็นแนวคิดดังนี้

ทุกๆคนปรารถนาสุข ไม่ต้องการทุกข์ แต่ทำไมคนเราจึงยังต้องเป็นทุกข์ และไม่สามารถจะแก้ทุกข์ของตนเองได้ บางทียิ่งแก้ก็ยิ่งเป็นทุกข์มาก

ทั้งนี้ ก็เพราะไม่รู้เหตุผลตามเป็นจริงว่า อะไรเป็นเหตุของทุกข์ อะไรเป็นเหตุของสุข ทำเหตุที่ให้เกิดสุข

อุปสรรคที่สำคัญอันหนึ่งก็คือใจของตนเอง เพราะคนเราตามใจตนเองมากไป จึงต้องเกิดความเดือดร้อน

ที่พูดกันว่าตามใจตนเองนั้น โดยที่แท้ก็คือตามใจตัณหา คือความอยากของใจ ในขั้นโลกๆนี้ยังไม่ต้องดับความอยากให้หมด เพราะยังต้องอาศัยความอยากเพื่อสร้างโลก หรือสร้างตนเองให้เจริญต่อไป

แต่ก็ต้องมีการควบคุมความอยากให้อยุ่ในขอบเขตที่สมควร และจะต้องรุ้จักอิ่ม รู้จักพอในสิ่งที่ควรอิ่มควรพอ ดับตัณหาได้เพียงเท่านี้ ก็พอครองชีวิตอยู่เป็นสุขในโลก ผู้ก่อไฟเผาตนเองและเผาโลกอยู่ทุกกาลสมัยก็คือผู้ที่ไม่ควบคุมตัณหาของใจให้อยู่ในขอบเขต

ถ้าคนเรามีความอยากจะได้วิชา ก็ตั้งใจพากเพียรเรียน มีความอยากจะได้ทรัพย์ ยศ ก็ตั้งใจเพียรทำงานให้ดี ตามกำลังตามทางที่สมควร ดังนี้แล้วก็ใช้ได้ แปลว่า ปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ในทางโลก และก็อยุ่ในทางธรรมด้วย

แต่คนเราต้องการมีการพักผ่อน ร่างกายก็ต้องมีการพัก ต้องให้หลับ ซึ่งเป็นการพักทางร่างกาย จิตใจก็ต้องมีเวลาที่ปล่อยให้ว่าง ถ้าจิตใจยังมุ่งคิดอะไรอยู่ ไม่ปล่อยความคิดนั้นแล้วก็หลับไม่ลง

ผู้ที่ต้องการมีความสนุกสนานจากรูป เสียง ทั้งหลาย เช่นชอบฟังดนตรีที่ไพเราะ หากจะถูกกะเกณฑ์ให้ต้องฟังอยู่นานเกินไป เสียงดนตรีที่ไพเราะนั้นจ่อหูอยู่นานเกินไป จะก่อให้เกิดความทุกข์อย่างยิ่ง จะต้องการหนีไปให้พ้น ต้องการกลับไปอยู่ในสภาวะที่ปราศจากเสียง คือความสงบ

จิตใจของคนเราต้องการความสงบดังนี้อยู่ทุกวัน วันหนึ่งเป็นเวลาไม่น้อย นี้คือความสงบใจ กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความสงบ ความดิ้นรนทะยานอยากของใจ ซึ่งเป็นความดับทุกข์นั่นเอง ฉะนั้น ถ้าทำความเข้าใจให้ดีว่า ความดับทุกข์ก็คือความสงบใจ ซึ่งเป็นอาหารใจที่ทุกๆคนต้องการอยู่ทุกวัน ก็จะค่อยเข้าใจในข้อนิโรธนี้ขึ้น

ควรคิดต่อไปว่า ใจที่ไม่สงบนั้น ก็เพราะเกิดความดิ้นรนขึ้น และก็บัญชาให้ทำ พูด คิด ไปตามใจที่ดิ้นรนนั้น เมื่อปฏิบัติตามใจไปแล้วก็อาจสงบลงได้ แต่การ

หมายเลขบันทึก: 292062เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2009 06:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2013 14:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

นักเรียนผู้ศึกษาวิชาการต่างๆ ก็มุ่งให้ได้ปัญญาสำหรับที่จะพินิจพิจารณา และลงความเห็นโดยความถูกชอบตามหลักแห่งเหตุผลตามเป้นจริง และโดยเฉพาะควรอบรมปัญญาในไตรลักษณ์และปฏิบัติพรหมวิหาร ๔

*******************************************

ขอบคุณค่ะ...

  • บันทึกนี้...
  • ทำให้ผม...
  • ชัดเจนขึ้นมากเลยครับ
  • จะนำไปพัฒนาตนเองนะครับ
  • ขอบคุณมาก ๆ นะครับ

สวัสดีค่ะ

มาอ่านด้วยใจที่อนุโมทนากับจิตอันเป็นกุศลของผู้เขียนบันทึกค่ะ

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

สวัสดีครับ

แวะมาอ่านครับ ใช่คำแปลของบันทึกที่เป็นภาษาอังกฤษหรือเปล่า รู้สึกเรียนรู้ได้ดีขึ้น แต่ผมก็ชอบที่เป็นภาษาอังกฤษนะครับ เพราะมันทำให้เรารู้ว่าต้องเรียนรู้อย่างไร จึงจะได้ความรู้นั้นมา

ขอบคุณครับ

ใช่ค่ะ เป็นต้นฉบับ แล้วสมเด็จย่าโปรดให้แปลเป็นภาษาอังกฤษอีกทีค่ะ

ดิฉันก็ชอบฉบับภาษาอังกฤษค่ะ ทำให้ได้รู้ศัพท์ทางพุทธศาสนา

ที่สมเด็จย่าโปรดให้แปลเป็นภาษาอังกฤษยังมีอีก 2 เรื่องค่ะ คือการฝึกสมาธิเบื้องต้น กับ ศีล แล้วจะทยอยบันทึกค่ะ

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

เจริญพรคุณโยมณัฐรดา

  • ขออนุโมทนาชื่นชมที่ได้เผยแผ่คำสอนทางศาสนาสู่สาธารณะ
  • เคยได้ยินคำพูดนี้ไหม วัด ศาสนสถาน ถ้าไม่มีอุบาสิกาท่าจะลำบากด้วยการเป็นอยู่ของพระสงห์องค์เณรแน่เลย
  • คือ วัดนั้นมีแต่นางฟ้า เทพธิดา เต็มไปหมดที่มีจิตใจงดงามตั้งใจอุปถัมภ์บำรุงวัดวาอาราม
  • เมื่อวานวันพระมีโยมถือศีลอุโบสถ นอนพักที่วัด ประมาณสิบกว่าท่าน มีเทพบุตรเพียงท่านเดียวเอง.(เทพบุตรเขาอ้างว่าไม่ว่าง-ระวังจะวุ่นนะ)

ขอเจริญพร

เป็นหลักธรรมที่ควรน้อมนำไปปฏิบัติค่ะ สมควรแก่การเผยแพร่ค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท