โครงการประชุมวิชาการ Monday Meeting ครั้งที่ 5 หัวข้อ “EU Watch มองยุโรปผ่านไทย: มุมมองพัฒนาการยุโรปที่ควรเรียนรู้เพื่อพัฒนาประเทศไทย”


โครงการประชุมวิชาการ Monday Meeting ครั้งที่ 5

หัวข้อEU Watch มองยุโรปผ่านไทย: มุมมองพัฒนาการยุโรปที่ควรเรียนรู้

เพื่อพัฒนาประเทศไทย

 

 

 หลักการและเหตุผล

จากแนวคิดของ รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร รองศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการที่จะสร้างประชาคมนักวิจัยสายนิติศาสตร์ทั้งในระดับดุษฎีบัณฑิต ระดับมหาบัณฑิต และระดับบัณฑิต ให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ จึงได้ผลักดันให้เกิดโครงการเสวนาวิชาการ Monday Meeting เพื่อเป็นการเปิดพื้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และสร้างจุดเชื่อมระหว่างนิติศาสตร์และสังคม อาทิ การเงิน การค้าการลงทุน IT เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น

สำหรับหัวข้อในการจัดเสวนาวิชาการ Monday Meeting ครั้งที่ 5 นี้ จะเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักวิชาการสายนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ผ่านมุมมองของนักวิชาการของประเทศไทยที่มองพัฒนาการยุโรป เพื่อที่จะเรียนรู้สำหรับนำไปพัฒนาประเทศไทย เนื่องจากยุโรปมีพัฒนาการความเจริญก้าวหน้าในหลาย ๆ ด้าน และด้านหนึ่งที่สำคัญสำหรับมวลมิตรทางวิชาการด้านสถานะบุคคล และด้านสิทธิมนุษยชนของรศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทรนั้น คือ ด้านการจัดการประชากรของภูมิภาคนี้ จนมีการ Harmonization ทั้งพรมแดน และประชากร เพื่อที่จะนำไปสู่การตอบโจทย์ของการจัดการประชากรในภูมิภาค

             พร้อมกันนี้ทางโครงการติดตามพัฒนาการในยุโรปภายใต้โครงการ Global Intelligence Unit (Europe Watch) ได้เล็งเห็นถึงความรู้ความสามารถ และประสบการณ์การทำงานในด้านระหว่างประเทศ อีกทั้งงานด้านสิทธิมนุษยชน อีกทั้งการร่วมทำงานกับภาครัฐของรศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร รองศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้ขอสัมภาษณ์ และขอความคิดเห็น พร้อมทั้งข้อเสนอแนะ และประสบการณ์การทำงานของรศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร เพื่อประมวลวิเคราะห์ความคิดเห็นและความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายประกอบยุทธศาสตร์ของกรมยุโรปฯ ต่อไป ดังนั้น การจัดโครงการเสวนาวิชาการ Monday Meeting ครั้งที่ 5 นี้จึงมีขึ้นเพื่อรับฟังการแสดงทัศนะ และบอกเล่าประสบการณ์ทำงานของรศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทรในงานด้านการจัดการประชากร และด้านสิทธิมนุษยชนอีกด้วย

            ซึ่งทางคณะทำงาน Monday Meeting เห็นว่า หัวข้อและประเด็นดังกล่าวมีความน่าสนใจในเชิงการตอบโจทย์ของสังคม (social need) เพราะว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของพัฒนาการด้านสิทธิมนุษยชน และด้านการจัดการประชากรในทวีปยุโรป เพื่อจะเป็นการนำมาปรับให้เข้ากับสังคมและวัฒนธรรมของประเทศไทย จึงนำมาสู่การพัฒนาเป็นความร่วมมือและเป็นหัวข้อหนึ่งของ Monday meeting ประจำวันที่ 24 สิงหาคม 2552

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้สัมภาษณ์ และเสนอข้อคิดเห็น พร้อมทั้งความเห็นแนะนำในมุมมองของรศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนจิตรา สายสุนทร ซึ่งเป็นผู้ที่ทำงานในด้านกฎหมายระหว่างประเทศสำหรับการจัดทำรายงานเชิงนโนบายต่อกรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทาง ในการดำเนินยุทธศาสตร์และนโยบายต่างประเทศของไทยต่อยุโรป

          2. เพื่อถอดประสบการณ์การทำงานและข้อคิดเห็นของผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมในนโยบายของไทยกับยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ที่มิใช่บุคคลากรภาครัฐ และ/หรือเป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียในนโยบายของไทยกับยุโรป สำหรับโครงการนี้ก็คือ รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

3. เพื่อเป็นเวทีร่วมกันสร้างและพัฒนาเครือข่ายระหว่างภาควิชาการ ภาคราชการ องค์กรพัฒนาเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาองค์ความรู้ที่ชัดเจนต่อประเด็นในเรื่องการพัฒนาการของยุโรป และวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้น รวมถึงการจัดการด้านสิทธิมนุษยชน และการจัดการประชากรในภูมิภาคนี้

 

องค์กรรับผิดชอบ

·       ประชาคมนักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอกเพื่อวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการจัดการประชากร

 

เครือข่าย/ภาคี : ต้นเรื่อง

·       ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ที่ปรึกษา

·       รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ผู้เข้าร่วมการประชุม

·       ประมาณ 10 -15 คน อันประกอบด้วย (1) ภาควิชาการ (2) ภาคองค์กรพัฒนาเอกชน (3) ผู้สนใจทั่วไป

 

สถานที่

·       ห้อง 221 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ได้เสนอข้อคิดเห็น ในมุมมองของรศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร ซึ่งเป็นผู้ที่ทำงานด้านกฎหมายระหว่างประเทศสำหรับการจัดทำรายงานเชิงนโนบายต่อกรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทาง ในการดำเนินยุทธศาสตร์และนโยบายต่างประเทศของไทยต่อยุโรป

          2. ได้เรียนรู้ประสบการณ์การทำงานและข้อคิดเห็นของผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมในนโยบายของไทยกับยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ที่มิใช่บุคคลากรภาครัฐ และ/หรือเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบายของไทยกับยุโรป สำหรับโครงการนี้ก็คือ รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนจิตรา สายสุนทร

3. ได้เกิดการร่วมกันสร้างและพัฒนาเครือข่ายระหว่างภาควิชาการ ภาคราชการ องค์กรพัฒนาเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาองค์ความรู้ที่ชัดเจนต่อประเด็นในเรื่องของพัฒนาการของยุโรป และวิเคราะห์สถาการณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้น รวมถึงการจัดการด้านสิทธิมนุษยชน และการจัดการประชากรในภูมิภาคนี้

 

ผู้เข้าร่วมการเสวนา

1. รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร รองศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2. อาจารย์กษิร ชีพเป็นสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3. อาจารย์กิติวรญา รัตนมณี ผู้ช่วยทางวิชาการ รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ฯ

4. อาจารย์อัจฉรา สุทธิสุนทรินทร์ เลขานุการและผู้ช่วยทางวิชาการ รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ฯ

5. อาจารย์ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวัง

สภาวะไร้รัฐ (SWIT) และนักศึกษาปริญญาเอกคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

6. คุณปรากรณ์ สิริพรโอภาส นักศึกษาปริญญาโท สาขากฎหมายระหว่างประเทศ

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

7. คุณนิมิตรา ประดับชนานุรักษ์ นักวิจัยประจำโครงการติดตามพัฒนาการในยุโรปภายใต้โครงการ Global Intelligence Unit (Europe Watch)

8. คุณปุณฑวิชญ์ ฉัตรมงคลชาติ นักศึกษาปริญญาโท สาขากฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

9. คุณวรรษวรรณ นิวาตวงศ์ นักศึกษาปริญญาโท สาขากฎหมายการค้าระหว่าง

ประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

10. คุณศิวานุช สร้อยทอง นักศึกษาปริญญาโท สาขากฎหมายอาญา

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ภาคผนวก

 

สืบเนื่องจากในปัจจุบันได้มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพในการเจรจาต่อรองทางการค้าระหว่างประเทศ และความมั่นคงเจริญก้าวหน้าของแต่ละภูมิภาค อีกทั้งนำมาสู่การรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในเกือบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค และหนึ่งในภูมิภาคที่มีพัฒนาการด้านนี้มาอย่างยาวนานและมีความเจริญก้าวหน้ามากก็คือ ภูมิภาคยุโรป

สหภาพยุโรป (European Union –EU) เป็นกลุ่มประเทศที่มีบทบาทความสำคัญในการสร้างกระแสและทิศทางทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจและสังคมระดับโลก พัฒนาการในด้านต่าง ๆ กอรปกับทิศทางการดำเนินนโยบายของสหภาพยุโรปได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายในด้านการต่างประเทศนานาประเทศ และสำหรับประเทศไทยแล้วก็เป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญในเรื่องของพัฒนาการ และการดำเนินนโยบายการต่างประเทศของกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป เนื่องจากเหตุผลหลายประการ ประการหนึ่งก็คือ สหภาพยุโรปเป็นประเทศคู่ค้าของไทยในอันดับต้น ๆ อีกทั้งการรวมตัวของกลุ่มประเทศอาเซียนที่จะพัฒนาให้เป็นการรวมตัวกันอย่างแน่นแฟ้น และมั่นคงจนเป็นกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ที่มีบทบาทต่อเวทีโลกเหมือนอย่างเช่นยุโรป จากเหตุผลเหล่านี้ทำให้ไม่อาจหลีกเลี่ยงการที่จะศึกษาพัฒนาการ และการค้น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของสหภาพยุโรป เพื่อการกำหนดทิศทางของประเทศไทยในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับสหภาพยุโรป

            ดังนั้น กรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งได้เห็นความสำคัญของภูมิภาคยุโรปจึงได้ให้ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดทำโครงการติดตามพัฒนาการในยุโรปภายใต้โครงการ Global Intelligence Unit (Europe Watch) หรือ Flagship Project ของ โดยมีโครงการย่อยลำดับที่ 2 คือ การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อเป็นแนวทางสำหรับกรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ ในการดำเนินยุทธศาสตร์และนโยบายต่างประเทศของไทยต่อยุโรป

 

หมายเลขบันทึก: 292134เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2009 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท