กรณีศึกษา : การตัดต่อเสียงนายกฯ แล้วเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต


พระราชบัญญัติการกระทำผิดว่าด้วยคอมพิวเตอร์ จะได้กรณีศึกษาเพิ่มอีกเรื่องหนึ่ง นั่นคือ กรณีการตัดต่อเสียงนายกฯ แล้วเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต เพราะข้อกฎหมายที่น่าสนใจมี 2 ลักษณะคือ ความผิดต่อบุคคล หรือความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ

พระราชบัญญัติการกระทำผิดว่าด้วยคอมพิวเตอร์ จะได้กรณีศึกษาเพิ่มอีกเรื่องหนึ่ง นั่นคือ กรณีการตัดต่อเสียงนายกฯ แล้วเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต เพราะข้อกฎหมายที่น่าสนใจมี 2 ลักษณะคือ ความผิดต่อบุคคล หรือความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ  ความแตกต่างของ 2 ลักษณะนี้ไม่เหมือนกันคือ  ถ้าการกระทำผิดนั้นเป็นการกระทำผิดต่อบุคคลก็จะมีโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท

การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพและเสียงของบุคคล

จำคุกไม่เกิน 3 ปี

ปรับไม่เกิน 60,000 บาท

แต่ถ้านายกฯ ฟ้องในฐานะนายกรัฐมนตรี  และเห็นว่าผู้กระทำผิดจงใจให้เกิดกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ/เศรษฐกิจ  จะมีโทษจำคุกระหว่าง 3-15 ปี และปรับระหว่าง 60,000 - 300,000 บาท

การกระทำต่อความมั่นคง
- ก่อความเสียหายแก่ข้อมูลคอมพิวเตอร์


- กระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ/เศรษฐกิจ

- เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต


ไม่เกิน 10 ปี

3 ปีถึง 15 ปี

10 ปีถึง 20 ปี

และไม่เกิน 200,000 บาท

 

60,000-300,000 บาท


ไม่มี

ส่วนผู้ให้บริการ

ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด

ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด

ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด

 

ท่านที่มีคลิปนายกฯ ที่ถูกตัดต่อก็โปรดระมัดระวังอย่าส่งต่อ  เพราะในทางคดีจะถือว่าท่านเป็นผู้เผยแพร่นะครับ  

เรื่องนี้คงอีกยาว  ติดตามกันได้อีกนาน   ผลลัพธ์จะเป็นกรณีศึกษาปัญหาที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์

 

ติดตามรายละเอียด

ไอซีทีเผยพบคลิปนายกตัดต่อ16 จุด

http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9520000098497

 

ไอซีทีเผยการตรวจสอบคลิปเสียงนายกของกันตนาเพียง 80 % พบจุดตัดต่อทั้งสิ้น 16 จุด เชื่อหาผู้เชียวชาญที่ติดงานต่างประเทศเดินทางกลับมาตรวจสอบจะพบจุดตัดต่อมากว่า 20 จุด เผยพบแหล่งปล่อยคลิปแล้ว 2 แหล่งแต่ยังไม่ขอเปิดเผยหวั่นคนผิดไหวตัว ยันงานนี้ไม่มีจับแพะ
       
       นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีที แถลงผลการตรวจสอบคลิปเสียง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แทนร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รมว.ไอซีที ซึ่งติดประชุมกอ.รมน. และประชุมพิจารณางบประมาณปี 2553 ว่าจากการตรวจสอบของบริษัท กันตนา พบว่าคลิปเสียงดังกล่าวมีการตัดต่อทั้งหมด 16 จุด โดยการตรวจสอบครอบคลุมเนื้อหา 80% ของความยาวคลิป 3 นาที โดยการตรวจสอบยังไม่ดำเนินการครอบคลุมเนื้อหา 100 % เพราะมีระยะเวลาการตรวจสอบจำกัด เนื่องจากไอซีทีได้ส่งคลิปเสียงให้กันตนาตรวจสอบเมื่อเวลา 11.00 น. ของวันนี้
       
       อย่างไรก็ดีกันตนาจะดำเนินการตรวจสอบคลิปเสียงดังกล่าวอีกครั้ง โดยผู้เชี่ยวชาญการตัดต่อที่ติดงานในต่างประเทศขณะนี้ คาดว่าการตรวจสอบอย่างละเอียดจากผู้เชี่ยวชาญครอบคลุมเนื้อหา100%อีกครั้งจะพบการตัดต่อมากกว่า 20 จุด
       
       ส่วนตัวอย่างข้อความที่พบว่ามีการตัดต่อ คือช่วงนาทีที่ 2.28 ของคลิปมีเสียงบรรยากาศและเสียงรบกวนไม่คงที่ ผิดกลับเสียงในช่วงหลัง เป็นประโยค”ปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิตจากการปฎิบัติการของเจ้าหน้าที่ในช่วงการสลายการชุมนุม” และในนาทีที่ 2.58 ของคลิป พบว่าคำไม่สมบูรณ์ หัวคำขาด ไม่ต่อเนื่องและจุดที่ 3 คือ มีเสียงบรรยากาศไม่คงที่ ประโยคไม่สมบูรณ์รวมถึงจังหวะการอ่านไม่เป็นธรรมชาติ
       
       นายสือกล่าวต่อว่าจากการตรวจสอบขณะนี้พบแหล่งที่มาของการปล่อยคลิปเสียงนายกแล้วจำนวน 2 แหล่งซึ่งทั้งหมดอยู่ในประเทศไทย โดยกระทรวงไอซีทีจะยังไม่เปิดเผยแหล่งที่มาดังกล่าว เพื่อป้องกันการไหวตัว และยู่ระหว่างการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี โดยการจับกุมครังนี้ยืนยันว่าจะไม่มีแพะอย่างแน่นอน

 

หมายเลขบันทึก: 292256เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2009 15:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากค่ะ อาจารย์ ที่นำความรู้มาให้ผู้อ่านได้เข้าใจ และรู้ถึงโทษที่ได้ทำไปด้วย

อาจารย์สบายดีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท