ระบบสื่อสาร กับ วิกฤติภัยพิบัติทางธรรมชาติ (วันนี้ซ้อมสึนามิ ระบบล่ม)


สิ่งที่น่าคิดคือ หากภัยพิบัตินั้นไม่ใช่คลื่นสึนามิ แต่เป็นแผ่นดินไหวในเมืองใหญ่ อย่างที่เคยเกิดขึ้นที่ไทเป หรือ โกเบ ดูความโกลาหลที่เกิดขึ้นว่าจะหนักขนาดไหน คนที่ติดอยู่ในซากจะโทรออกมาได้หรือเปล่าว่าตัวเองอยู่ที่ไหนอย่างไร

พูดไม่ออก บอกไม่ถูก
ฟังข่าวการซ่อมภัยสึนามิวันนี้ ที่หลายสิบประเทศร่วมกันจัดการขึ้น
บ้านเราระบบสื่อสารล่มก่อน ไม่ใช่แค่โทรไม่ติด แม้แต่ส่ง SMS ยังไม่ได้เลย

ในยามปกติ ตอนนี้มือถือก็แทบจะโทรไม่ติดอยู่แล้ว ด้วยเหตุผลสองประการด้วยกันคือ การแข่งโปรโมชั่น จนทำให้พฤติกรรมการโทรสูงขึ้น และ การผูกการสิทธิในการเชื่อมช่องสัญญาณ ที่บังคับให้ต้องไปต่อท่อกับ TOT

จำได้ว่า ตอนที่อยู่ที่เขาหลัก หลังเหตุการณ์อยู่ประมาณสามเดือน มีแผ่นดินไหวขนาดเกือบ 8 ริกเตอร์ ชาวบ้านและเหล่าอาสาสมัครวิ่งกันหนีตายขึ้นมาบนเขา หลังจากทราบข่าว มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นระหว่างความแตกตื่น เกือบห้าทุ่มแล้ว การสื่อสารก็แทบโทรกันไม่ติด ต้องตามทุกคนที่อยู่ข้างล่างให้ขึ้นมาข้างบน วิธีการที่ดีที่สุดตอนนั้นคือส่ง SMS เพราะใช้ช่องสัญญาณน้อยกว่าการโทรศัพท์

นี่ขนาดยังไม่ใช่เหตุการณ์จริง ยังไม่มีประชาชนนับล้านที่พยายาม Call ถึงกัน ในช่วงเวลาดังกล่าว ระบบก็ล่มซะแล้ว

 

สิ่งที่น่าคิดคือ หากภัยพิบัตินั้นไม่ใช่คลื่นสึนามิ แต่เป็นแผ่นดินไหวในเมืองใหญ่ อย่างที่เคยเกิดขึ้นที่ไทเป หรือ โกเบ ดูความโกลาหลที่เกิดขึ้นว่าจะหนักขนาดไหน คนที่ติดอยู่ในซากจะโทรออกมาได้หรือเปล่าว่าตัวเองอยู่ที่ไหนอย่างไร คนจำนวนเท่าไหร่ ที่จะโทรหากันเพื่อเช็คความเป็นอยู่ วิธีการไหนที่จะทำให้การสื่อสารเป็นประโยชน์สูงสุด ในด้านการขอความช่วยเหลือ และ สั่งการ แต่โอ้....แล้วถ้าระบบไฟฟ้าดับล่ะ ชุมสายจะเป็นอย่างไร

ในสถานการณ์เช่นนั้น คนที่ไม่เกี่ยวข้อง(แต่กี่คนล่ะที่ไม่เกี่ยว) ต้องไม่ใช้โทรศัพท์ ปล่อยให้ช่องสัญญาณว่างให้มากที่สุด หรือถ้าจะสื่อสารกัน ก็ใช้ SMS เป็นหลัก เมื่อตรวจสอบได้แล้ว ต้องยุติติการใช้เครือข่าย

จำได้ว่าหลังเหตุการณ์สึนามิ มีการประชุมของผุ้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยที่พูดถึงการปลดล็อค และการเชื่อมสัญญาณกันข้ามข่าย เช่น หากเครือข่ายใดเครือข่ายหนึ่งขอบริษัทหนึ่งล่มไป ผู้ใช้บริการสามารถใช้ข้ามเครือข่ายกันได้ในช่วงเวลานั้น  ระบบชุมสายพิเศษแบบรถโมบาย หรือ การใช้บอลลูนเพื่อติดตั้งเครือข่ายก็สำคัญเอามาก ๆ

เรื่องแบบนี้ คงต้องให้ กทช ช่วยเข้ามาดู และ ลองตีโจทย์ร่วมกันว่า มาตราฐานของระบบโทรคมนาคมที่จะเป็นระบบที่เอื้อต่อการรับมือภัยพิบัตินั้นควรเป็นเช่นใด มิใช่มองอยู่แค่ จะเปิดเสรี หรือ ให้บริการโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพของระบบสื่อสาร

Link ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์อาสาสมัครสึนามิ ที่เขาหลัก พังงา

คำสำคัญ (Tags): #เทคโนโลยี
หมายเลขบันทึก: 29291เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2006 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ในช่วงที่เกิดภัยธรรมชาติ เครือข่ายนักวิทยุสมัครเล่น จะเป็นอาสามัครรูปแบบหนึ่งที่ช่วยเรื่องการติดต่อสื่อสารได้เป็นอย่างดี เพราะมีโครงข่ายอยู่ทั่วประเทศ และมีเกือบจะทุกพื้นที่ ในช่วงก่อนที่ระบบโทรศัพท์มือถือจะบูมขนาดนี้ ซึ่งปัจจุบันกลับมีบทบาทน้อยลงไปมาก.. น่าห่วงอยู่ ทางผู้ที่เกี่ยวข้องก็น่าจะหันมามองตรงจุดนี้บ้าง ด้วยความห่วงใยจาก E20JXO
QRU 73

วิทยุสมัครเล่นเป็นพระเอกในคราว

  • ใต้ฝุ่นเกย์
  • กรณีเมือง Darwin ออสเตรเลียโดนพายุถล่มราบเป็นหน้ากลองทั้งเมือง (ราวๆ ปี 1969)
  • อีกหลายครั้ง เช่น ซึนามิ น้ำท่วมหาดใหญ่ และที่อื่นๆ
  • กรณีเด็กชาวอินเดียโดนงูกัด แล้วนักวิทยุสมัครเล่นหาเซรุ่มมาให้จากสิงคโปร์

ยินดีมากครับที่เจอ บก.ลายจุด ที่นี่โดยบังเอิญ

http://gotoknow.org/arrive-alive

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท