เมื่อได้ชื่อว่าเป็น “ข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”


เมื่อได้ชื่อว่าเป็น “ข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”

เมื่อได้ชื่อว่าเป็น ข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 

ในวันที่อากาศมืดมัวของเย็นวันเสาร์ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ไกลจากโรงพยาบาลจังหวัด ประมาณ 40 กิโลเมตร

ฉันซึ่งเป็นแพทย์เวร  ขับรถออกจากโรงพยาบาล มุ่งหน้าตรงไปยังตลาดประจำอำเภอ เพื่อรับประทานอาหารเย็น

 วันนี้ มีคนไข้ ยุ่งทั้งวัน  หิวจังเลย ฉันนึกในใจ พร้อมกับจอดรถที่ร้านข้างทางและสั่งอาหารมารับประทาน

กริ๊ง   กริ๊ง

เสียงโทรศัพท์ดังขึ้น ในขณะที่ฉันกำลังจะตักอาหารเข้าปากพอดี  เฮ้อ ยังไม่มีอะไรตกถึงท้องเลย ฉันบ่นกับตัวเอง

มีคนไข้มาอีกแล้วล่ะซิฉันคิดพร้อมกับมือก็รีบคว้าโทรศัพท์มารับ  ด้วยกลัวว่าปลายทางจะรอ

หมอค่ะ มีคนไข้หายใจหอบมาก มาที่ห้องฉุกเฉินค่ะพยาบาลประจำห้องฉุกเฉินโทรมานั่นเอง

พ่นยาและให้ออกซิเจนก่อนน่ะ  เดี๋ยวหมอไปดูค่ะฉันพูด พร้อมกับรีบรับประทานอาหารมื้อนั้นด้วยความรวดเร็ว จนหมดภายใน 5 นาที

ฉันรีบขับรถกลับไปที่โรงพยาบาล ราวกับรถจะเหาะได้ก็ไม่ปาน เพราะรู้ดีว่าทุกวินาทีนับจากนี้ของฉันล้วนเป็นเวลาที่มีค่า ในการที่จะสามารถยื้อชีวิตของผู้ป่วยให้รอดพ้นจากความตายได้

              ฉันรีบวิ่งไปที่ห้องฉุกเฉิน และก็ทราบในทันทีหลังจากได้รับรายงานและตรวจดูอาการว่า คนไข้ผู้นี้มีอาการ หายใจหอบเหนื่อย อัตราการหายใจมากกว่า 40 ครั้ง/นาที ระดับออกซิเจนในเลือด น้อยกว่า 80%  ในขณะพ่นยาขยายหลอดลม ผู้ป่วยมีอาการกระสับกระส่ายมาก ไม่สามารถควบคุมสติ เนื่องจากความทุกข์ทรมาน ทุรนทุราย   ฉัน และเจ้าหน้าที่ห้องฉุกเฉิน ได้ร่วมกันใส่ท่อช่วยหายใจ เพื่อช่วยชีวิต ผู้ป่วยรายนี้   อย่างเต็มความสามารถ เพราะตลอดเวลา ที่ทำการรักษานั้น ผู้ป่วยรายนี้ มีอาการขัดขืน ไม่ยอมทำตามคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายต่อตัวผู้ป่วยเอง เนื่องด้วยอาการของโรคหอบหืด ซึ่งขาดสติ    บรรยากาศในขณะนั้นเต็มไปด้วยเสียงระงมของญาติที่พยายามเกลี้ยกล่อมและเรียกสติของผู้ป่วย   เจ้าหน้าที่และคนที่อยู่รอบข้าง ช่วยกัน จับแขน/มือ/เท้า เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยดิ้น แต่ก็ไม่น่าเชื่อว่า ชายวัย 50 กว่า ผู้นี้ จะมีเรี่ยวแรง กำลัง ที่ทำให้ เจ้าหน้าที่และชายฉกรรจ์ จำนวนไม่น้อย ต้องออกกำลัง ช่วยกันกด/ทับ ผู้ป่วยรายนี้ เพื่อให้การรักษาลุล่วงไปด้วยดี ในความเห็นของเจ้าหน้าที่ และแพทย์เวรผู้รักษา ต่างลงความเห็น ว่า ผู้ป่วยรายนี้ มีอาการที่อยู่ในขั้นวิกฤต มีความเสี่ยงสูงมาก     ผู้ป่วยถูกส่งไปโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัด ในเวลาอันรวดเร็ว   ฉันได้แต่นึกภาวนาให้คนไข้ของฉัน.....ปลอดภัย

 

             ภายหลังจากผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อ ณ โรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัด ทางเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล   ก็ได้รับการแจ้งจากทางญาติผู้ป่วยว่า อาการของผู้ป่วยรายนี้ เป็นปรกติดีแล้ว สามารถ หายใจได้เป็นปรกติ และรับประทานอาหารได้  นำความซาบซึ้ง มาแก่ ญาติผู้ป่วย และ เจ้าหน้าที่ซึ่งร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ในวันนั้น

                   จากเหตุการณ์ครั้งนี้ บางมุมมองก็อาจจะไม่ผิดแปลกแตกต่าง จากการทำงานในแต่ละวัน ซึ่งอาจจะดูเป็นเรื่องธรรมดา แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึงบางสิ่งบางอย่าง ที่เป็นประโยชน์และเป็นหัวใจ ของผู้ที่ได้ชื่อว่า เป็น ข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ซึ่งควรเสียสละ สามัคคี ทำงานเพื่อประชาชน ไม่นิ่งเฉยต่อความทุกข์ร้อนของผู้ที่ลำบาก คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน โดยยึดถือจรรยาบรรณและจริยธรรม ที่ได้รับการอบรมสั่งสม เป็นเข็มทิศในการทำงานไม่ให้หลงทางและหลงลืมตัว ว่าวิเศษกว่าผู้อื่น  รู้มากกว่าผู้อื่น มีอภิสิทธิ์มากกว่าผู้อื่นแต่อย่างใด  ในทางตรงกันข้าม  กลับจะต้องอ่อนน้อม มากกว่าผู้อื่น เสียสละมากกว่าผู้อื่น และจะต้องเหนื่อยมากกว่าผู้อื่น    เปรียบดอกไม้ที่ไม่มีดอก  เราก็อาจจะดูเป็นเพียงแค่วัชพืช เช่นกัน ผู้ที่ได้ชื่อว่า ข้าราชการแพทย์/พยาบาล/ทหาร/ตำรวจ/อาจารย์ หรือหน่วยงานต่างๆ    ถ้าไม่มีจรรยาบรรณ และคุณธรรม ก็หมดราศี  ไม่สมควรได้รับการยกย่อง  เพราะฉะนั้น เข็มทิศชีวิตในการทำงานของท่านทั้งหลาย  จะให้เป็นไปในทิศทางไหน ก็โปรดจงเลือกเอา 

 

 

     พญ.ปรียสุดา นาคาคง

แพทย์ประจำรพ.บางกระทุ่ม

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 293120เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2009 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับคุณหมอ

อาชีพที่เหนื่อยที่สุดเลยครับ อาชีพที่ต้องดูแลรักษาชีวิตคนครับ

เหนื่อยกายและใจด้วยครับ

แต่ด้วยคำว่า"ข้าราชการภายใต้เบื้องพระยุคลบาท"ผมไม่เคยท้อถอยครับ

เหนื่อยเมื่อไรผมจะหันไปมองรูปในหลวงแล้วเหมือกำลังใจมาทันที ทำให้หายเหนื่อยไปตั้งเยอะครับ

ขอส่งกำลังใจมาให้ครับ

ชื่นชมครับคุณหมอ ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะ  

  •  มาเป็นกำลังใจให้คุณหมอค่ะ 

 

 

การทำงานโดย "สัมมาอาชีวะ" เรียกงานสุจริต

หากเพิ่มทำงานโดยตั้งใจทำให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น เรียก สุจริตกำลังสองค่ะ

อนุโมทนาด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท