ชวนดู กองทุน 1 บาท และเส้นกราฟก็เดินลง เดินลง


ความเป็นผู้นำชุมชนอยู่ในวิถีของคนเหล่านี้

        ศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนเพื่อความยั่งยืน   

ภาพข้างล่างนี้

 เป็นภาพ แสดงสถานะกองทุนสวัสดิการตำบลสำโรง อ.เมือง จ.สุรินทร์ ปีที่ 1 - 30

( เงินรับจ่ายสวัสดิการ ) ในแต่ละปี  กรณีสมาชิกปัจจุบัน  ตอนนี้ มีอยู่ 366 คน

                                       

        ในกฏระเบียบของกองทุน มีเรื่อง การจ่ายบำนาญ

 

 แก่ ( บำนาญ )

- กรณีสมาชิกที่อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป และได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแล้ว หรือที่ยังไม่ได้รับ  ฝากสัจจะครบ  ๕ ปี   ได้บำนาญเดือนละ  ๑๐๐ บาท   จนกระทั่งเสียชีวิต

- กรณีสมาชิกที่มีอายุต่ำกว่า  ๖๐ ปี 

    ฝากสัจจะครบ     ปี         อายุครบ  ๖๐ ปี    บำนาญเดือนละ   ๑๕๐   บาท

   ฝากสัจจะครบ ๖๑๐ ปี      อายุครบ ๖๐ ปี      บำนาญเดือนละ  ๒๐๐  บาท

   ฝากสัจจะครบ ๑๑๑๕ ปี   อายุครบ ๖๐ ปี      บำนาญเดือนละ  ๒๕๐  บาท

  ฝากสัจจะครบ ๑๖๒๐ ปี    อายุครบ ๖๐ ปี      บำนาญเดือนละ  ๓๐๐  บาท

  ฝากสัจจะครบ ๒๑๒๕ ปี   อายุครบ ๖๐ ปี      บำนาญเดือนละ  ๓๕๐  บาท

  ฝากสัจจะครบ ๒๖๓๐ ปี   อายุครบ ๖๐ ปี      บำนาญเดือนละ   ๔๐๐  บาท

  ฝากสัจจะครบ ๓๑๓๕ ปี   อายุครบ ๖๐ ปี      บำนาญเดือนละ  ๔๕๐ บาท

  ฝากสัจจะครบ ๓๕๔๐ ปี   อายุครบ ๖๐ ปี      บำนาญเดือนละ  ๕๐๐  บาท

  ฝากสัจจะครบ ๔๑๔๕ปี    อายุครบ ๖๐ ปี      บำนาญเดือนละ  ๕๕๐  บาท

  ฝากสัจจะครบ ๔๖๕๐ ปี   อายุครบ ๖๐ ปี     บำนาญเดือนละ    ๖๐๐  บาท

  ฝากสัจจะครบ ๕๐๕๖ ปี   อายุครบ ๖๐ ปี     บำนาญเดือนละ    ๗๐๐  บาท

   ฝากสัจจะครบ ๕๕๖๐ ปี  อายุครบ ๖๐ ปี     บำนาญเดือนละ    ๘๐๐  บาท

            มอบบำนาญจำนวนคงที่  จนกระทั่งเสียชีวิต  

 

             จากกราฟ  ข้างต้น  จะเห็นว่า

 

- เส้นสีน้ำเงิน " กองทุน 1 บาท "  เป็นกรณีที่รายรับมาจาก การสะสมของชาวบ้าน อย่างเดียว

 ไม่มีการสมทบจากที่ใด  กองทุนดำเนินไปได้เรื่อยๆ จน หลังปีที่ 5 ที่เริ่มจ่ายบำนาญ ให้กับ

สมาชิกที่เป็นผู้สูงอายุ จำนวน  158 ราย จาก สมาชิกทั้งหมด  366 คน เส้นกราฟก็เริ่มลงมาเรื่อยๆ

 

-  เส้นชมพู  " กองทุน 2 บาท "  สมมุติให้ รัฐจ่าย 1 บาท ชาวบ้านสะสม 1 บาท ก็จะเห็นว่า

 ยืดอายุเส้นกราฟ ขาลงไปอีก 

 

-  เช่นเดียวกับ เส้นเหลือง  ที่รัฐจ่าย 1  องค์กรท้องถิ่น 1  ชาวบ้าน 1  ก็ยืดลมหายใจของ

กองทุนไปได้อีกหน่อย

 

       กราฟเหล่านี้  เมื่อให้แกนนำชาวบ้านบางคนดูก่อน เชิงปรึกษากลุ่มย่อย  ก็ให้เห็น

ศักยภาพของผู้นำชาวบ้าน ในการดูข้อมูลและการอ่านพยากรณ์อนาคตได้อย่างเข้าใจ

 

        พี่ละเมียด  ผ่องใส  เป็น อบต. หมู่3 ที่คลุกคลี เรื่อง ระบบการเงินของชุมชนมานาน 

ทั้ง กองทุนเงินล้าน  กองทุนออมทรัพย์สัจจะ กองทุนอื่นๆ รวมทั้งเป็นกรรมการของ

 กองทุนสวัสดิการ  พี่ละเมียด คิดเลขเร็ว ทั้งๆที่เรียนมาน้อย  แต่เห็นตัวเลขเข้าใจง่ายมากเลย 

 

 พี่บอกว่า  " เห็นกราฟ อย่างนี้ เข้าใจเลย "  และว่าต้องหาทางแก้ไข ว่าแล้ว พี่ก็เสนอแนะ

ในหลายๆด้าน  ทั้งปรับกฎระเบียบ  ทั้งเพิ่มเงื่อนไข

 

        ทำให้เห็นว่า  เวลาเราเห็นข้อมูล ในขณะที่บางคน    อาจจะงง    อาจจะตกใจ

และกลัวอนาคต    แต่พี่ละเมียด ไม่เลย  ความเป็นผู้นำชุมชนอยู่ในวิถีของคนเหล่านี้ 

 

หมายเลขบันทึก: 293286เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2009 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ตามมาทักทายพี่หน่อย
  • สบายดีไหม
  • เคยไปดูกองทุนหมู่บ้านที่ลุงคล้าว
  • ที่จะนะ
  • ปรากฎว่า
  • มีปัญหา คือมีเงินมากเกินแต่ไม่มีคนกู้ครับ
  • ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆ

หวัดดีคะอาจารย์ขจิต สบายดีนะ

เรื่องกองทุนของชาวบ้านน่าสนใจดีนะ เพราะเป็นการ

ดูแลกันเอง ช่วยกันระดับเพื่อนบ้าน และสามารถแทรกเรื่องอื่นๆเข้าไปได้ด้วย

กองทุนที่มีเงินมากเกิน ไม่มีคนกู้ แสดงว่าชุมชนเข้าถึงความ พอเพียง จริงๆ

อย่างนี้ต้องพาชาวบ้านไปดูงาน

พี่หน่อยชอบเที่ยว อาจารย์ขจิตไปด้วยกันมั้ย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท