แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา


หากมีเวลาว่างขอเชิญชวนให้คุณได้ลองมาเที่ยวที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รับรองว่าคุณจะได้ความประทับใจกลับไป

แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

            วิหารมงคลบพิตร

      

 

 

                  วิหารพระมงคลบพิตร ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา ทางทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์  สันนิษฐานกันว่า สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นราวแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยตามพงศาวดารวิหารพระมงคลบพิตรนั้น เดิมประดิษฐานอยู่ด้านทิศตะวันออกของ พระราชวังหลวง บางคนสันนิษฐานว่า เคยประดิษฐานอยู่กลางแจ้งที่วัดชีเชียงมาก่อน ในปี พ.ศ. ๒๑๔๖ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โปรดฯ ให้ชลอมาไว้ทางด้านทิศตะวันตก แล้วให้สร้างมณฑปขึ้นครอบไว้ โดยมีหลักฐานจากภาพวาดของชาวตะวันตกที่เข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ว่าเป็นรูปร่างคล้ายๆมณฑป

                 ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๒๔๖ แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือ ยอดมณฑปต้องอสนีบาต (ฟ้าผ่า) ไฟไหม้เครื่องบนมณฑปหักพังลงมาต้องพระเศียรหัก สมเด็จพระเจ้าเสือ จึงโปรดฯให้แปลงมณฑปเป็นวิหารแต่ยังคงส่วนยอดของมณฑปไว้ แล้วซ่อมพระเศียรพระพุทธรูปใหม่ กระทั่งในรัชกาล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่หมด เปลี่ยนหลังคาคล้ายในปัจจุบัน เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งสุดท้ายวิหารและพระพุทธรูปถูกไฟไหม้ ชำรุดทรุดโทรม เครื่องบนวิหารหักลงมาต้องพระเมาฬี และพระกรข้างขวาหัก

                  ในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ สมัยพระยาโบราณราชธานินทร์ ตำแหน่งสุมุหเทศาภิบาลมณฑล อยุธยา คุณหญิงอมเรศร์สมบัติซึ่งเป็นภรรยาของพระยาโบราณราชานินท์ ได้ขอยื่นเรื่องซ่อมแซมวิหาร แต่รัฐบาลไม่อนุญาต เนื่องจากต้องการที่จะให้พระกลางแจ้งเหมือน      ไดบุซึของญี่ปุ่นต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ รัฐบาลสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงได้เริ่มการบูรณะปฏิสังขรณ์พระวิหารและองค์พระพุทธเสียใหม่ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

 

                                            

       

 

พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปใหญ่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์องค์เดียวในประเทศไทย  ลงรักปิดทองมีแกนเป็นอิฐ ส่วนผิวนอกบุด้วยสำริด ทำเป็นท่อนๆมาเชื่อมกัน สูง ๑๒.๕๔ เมตร หน้าตักกว้าง ๔ วาเศษ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระไชยราชา ราวพ.ศ. ๒๐๘๑ เดิมประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทรงโปรดเกล้าให้อัญเชิญมาไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์

 

 

 

 วัดไชยวัฒนาราม

                       

  

 

                  วัดไชยวัฒนาราม ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2173 โดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นบนที่ที่เป็นบ้านเดิมของพระองค์เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายพระราชมารดา แต่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือนครละแวกโดยจำลองแบบมาจากปราสาทนครวัด

 สถาปัตยกรรม               

ฐานภายใน              

วัดไชยวัฒนาราม มีปรางค์ประธานและปรางค์มุมอยู่บนฐานเดียวกัน พระปรางค์ประธานนำรูปแบบของพระปรางค์สมัยอยุธยาตอนต้นมาก่อสร้าง แต่ปรางค์ประธานที่วัดไชยวัฒนารามทำมุขทิศยื่นออกมามากกว่า บนยอดองค์พระปรางค์ใหญ่อาจเคยประดิษฐานพระเจดีย์ขนาดเล็ก สื่อถึงพระเจดีย์จุฬามณีบนยอดเขาพระสุเมรุ รอบพระปรางค์ใหญ่ล้อมรอบไปด้วยระเบียงคตที่เดิมนั้นมีหลังคา ภายในระเบียงคตประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยที่เคยลงรักปิดทองจำนวน 120 องค์ เป็นเสมือนกำแพงเขตศักดิ์สิทธิ์ ตามแนวระเบียงคตตรงทิศทั้งแปดสร้างเมรุทิศ และ เมรุมุม (เจดีย์รอบๆพระปรางค์ใหญ่) ภายในเมรุทุกองค์ประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่อง ภายในซุ้มเรือนแก้วล้วนลงรักปิดทอง ฝ่าเพดานทำด้วยไม้ประดับลวดลายลงรักปิดทองเช่นกัน

เมรุทิศเมรุราย

เมรุทิศเมรุราย ตั้งล้อมรอบพระปรางค์อยู่ทั้งสิ้น 8 องค์ โดยผนังภายในเมรุเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปใบไม้ใบกนก ซึ่งลบเลือนไปมากแล้ว ผนังด้านนอกของเมรุมีภาพปูนปั้นพุทธประวัติ จำนวน 12 ภาพ ซึ่งในปัจจุบันเลือนไปแล้วเช่นกัน แต่เมื่อ 20 ปีที่แล้วยังสามารถเห็นได้ชัด

เมรุเป็นทรงปราสาท ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป 7 ชั้น รองรับส่วนยอดที่ ชื่อที่มานั้นนำมาจากเมรุ พระบรมศพพระมหากษัตริย์สมัยพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีแนวความคิด มาจากคติเขาพระสุเมรุอีกต่อหนึ่ง

                                                                               

          

วัดพนัญเชิง

                                                                                                                   

ภาพเคลื่อนไหวภาพเคลื่อนไหว

 

 

                   วัดพนัญเชิงวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ตำบลคลองสวนพลู เป็นวัดที่มีมาแต่โบราณ ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่จากหนังสือพงศาวดารเหนือ กล่าวว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้ง ขอพระธิดากรุงจีน มาอภิเษกด้วย ขณะที่พระนางสร้อยดอกหมาก เดินทางมาถึงบริเวณหน้าวัด พระเจ้าสายน้ำผึ้งมาปลูกพลับพลารออยู่ ได้ส่งทหารไปเชิญพระนางขึ้นมาที่พลับพลา พระนางสร้อยดอกหมาก น้อยใจที่พระเจ้าสายน้ำผึ้งไม่มารับด้วยพระองค์เอง จึงกลั้นใจตาย พระเจ้าสายน้ำผึ้ง เสียพระทัยมาก จึงสร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึก แด่พระนางสร้อยดอกหมาก และพระราชทานนามว่า "วัดเจ้าพระนางเชิง" ในพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐกล่าวว่า แรกสถาปนาวัด ได้มีการสร้างพระพุทธรูป เมื่อปี พ.ศ. 1867 คือก่อนพระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยา 26 ปี เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 14 เมตรเศษ สูง 19 เมตร พระพุทะรูปองค์นี้ ชาวจีนนับถือมาก เรียกว่า "ซำปอกง" แปลว่า รัตนตรัย คนไทยทั่วไป เรียก "หลวงพ่อโต" หรือ "หลวงพ่อพนัญเชิง" เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ลงรักปิดทองในสมัยอู่ทอง  องค์หลวงพ่อได้รับการบูรณะซ่อมแซมตลอดมา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และรัชกาลที่ 4 ทำการซ่อมแซมใหม่ทั้งองค์ แล้วถวายพระนามว่า "พระพุทธไตรรัตนายก"สมัยรัชกาลที่ 7 ได้เปลี่ยนพระอุณาโลมเดิมมาเป็น ทองคำหนัก 47 บาท ในปี พ.ศ. 2472 ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า "เมื่อกรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่า ครั้งที่ 2 พระพุทธรูปองค์นี้ มีน้ำพระเนตรไหลออกมาทั้งสองข้าง" มีผู้นับถือกันมากจนถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ที่เจ็บป่วย จะถวายให้เป็นลูกของหลวงพ่อแล้วจะหายป่วยไข้ หรือไม่ก็จุดธูปเทียนอธิฐาน ขอให้หลวงพ่อคุ่มครองรักษา บารมีของหลวงพ่อจะแผ่มาปกป้องคุ้มครองรักษาให้ นอกจากนี้บริเวณด้านข้างวิหารหลวงพ่อโต ติดริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก เป็นที่ตั้งศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมากเป็นอาคารแบบเก๋งจีน มีพระรูปเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ประดิษฐานอยู่บนชั้นสองของศาล ให้ทุกคนแวะเวียนไปไหว้กันด้วยบริเวณด้านหน้าพระวิหาร หลวงพ่อโต มีพระอุโบสถ ที่ภายในมีสิ่งที่มีคุณค่ายิ่ง คือ พระพุทธรูป ประดิษฐานเรียงรายอยู่ 5 องค์ องค์กลางเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ส่วนพระพุทธรูปองค์ที่อยู่ด้านซ้าย และองค์ที่อยู่ด้านขวาของพระประธาน คือ พระพุทธรูปทองคำ และนาค สมัยสุโขทัย ปัจจุบัน ที่วัดนี้กลางเดือนสิบ จะมีงานทิ้งกระจาด และ งานนมัสการประจำปี

                   

                           

 

ประวัติหลวงพ่อโต

พระพุทธไตรรัตนนายก ที่ชาวไทยรู้จักท่านในนาม “หลวงพ่อโต” หรือ “หลวงพ่อซำปอกง” ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชนชาวไทยและชาวจีนทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็น “เจ้าผู้คุ้มครองทางทะเล

หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง เป็นพระพุทธรูปเนื้อปูนปั้นพุทธลักษณะ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 7 วา 10 นิ้ว สูงตลอดรัศมี 9 วา 2 ศอก สร้างขึ้น เมื่อปีชวด พ.ศ.1867 ก่อน พระเจ้าอู่ทอง สร้างกรุงศรีอยุธยา 26 ปี ความศักดิ์สิทธิ์ของ หลวงพ่อโต เลื่องชื่อลือชามาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี กล่าวคือ เมื่อใกล้จะเสียกรุง หลวงพ่อโต มีน้ำพระเนตรไหลมาทั้ง 2 ข้าง เป็นลางบอกเหตุการณ์ล่วงหน้า ทั้งยังแสดงอิทธิปฏิหาริย์รอดพ้นจากการเผาผลาญทำลายของข้าศึกอย่างน่าอัศจรรย์ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 บริเวณวัดพนัญเชิงถูกเครื่องบินทิ้งระเบิดถึง 20 ลูก แต่ไม่มีลูกใดเกิดระเบิดเลย ทั้งที่บริเวณห่างออกไปเกิดระเบิดเสียงดังตูมตาม

เมื่อเกิดโรคระบาดต่างๆ เช่น อหิวาตกโรค และไข้ทรพิษ หรือลูกเด็กเล็กแดงมีอาการ เจ็บไข้ได้ป่วยชาวบ้านจะมาขอน้ำพระพุทธมนต์ ขี้ธูป และดอกไม้บูชาองค์หลวงพ่อโต ไปดื่มกินจนหายจากโรคภัย ไข้เจ็บต่างๆทันตาเห็นพระบารมีหลวงพ่อโต ยังสามารถช่วยขจัดทุกข์ภัยตลอดทั้งดลบันดาลให้โชคลาภ กิจการเจริญรุ่งเรือง สมหวังเรื่องขอบุตร-ธิดา ดังปรารถนาทุกประการหลวงพ่อโต เป็นที่เคารพนับถือของชนชาวจีน ที่มาตั้งภูมิลำเนานานแล้ว ตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า สมัยนั้นเดินทางกันโดยทางเรือ บริเวณลำน้ำที่หน้าวัดพนัญเชิง เป็นวังวนน้ำเชี่ยว
จัด เรือ แพที่สัญจรไปมามักล่มจมอยู่เสมอ พ่อค้าวานิชชาวจีนที่เดินทางมาค้าขายทางเรือ เมื่อได้กราบไหว้องค์หลวง พ่อโต ดลบันดาลให้แคล้วคลาดปลอดภัยในการเดินทาง จึงมีความเคารพนับถือ หลวงพ่อโต อย่างยิ่ง พากันขานพระนามว่า “ซำปอฮุดกง” หรือ “หลวงพ่อซำปอกง” เจ้าผู้คุ้มครองทางทะเล อภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ แห่งองค์หลวงพ่อโตเป็นที่สักการะของ พระมหากษัตริย์ ประชาชนชาวไทยและชาวจีน ตั้งแต่สมัยอยุธยามาตราบเท่าทุกวันนี้ 

 

 พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา

 

ภาพเคลื่อนไหวภาพเคลื่อนไหว

 

                     พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2500 ทรงมีพระราชปรารภกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ และอธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้นว่า

โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะนี้ สมควรจะได้มีพิพิธภัณฑสถานเก็บรักษา และตั้งแสดงให้ประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานี้ หาควรนำไปเก็บรักษา และตั้งแสดง ณ ที่อื่นไม่

กรมศิลปากรจึงได้สร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ขึ้นเพื่อเก็บรักษาจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ และโบราณวัตถุพบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อาคารก่อสร้างด้วยเงินบริจาคจากประชาชน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ผู้ทรงสร้างพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นนามพิพิธภัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2504

โบราณวัตถุที่สำคัญ อาทิ พระแสงดาบทองคำ ขนาด ยาว 115 ซม. กว้าง 5.5 สมัยอยุธยา ได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ พระเต้าทักษิโณทกทองคำ ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.7 ซม. สูง 18.5 ซม. สมัยอยุธยา ได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ช้างทรงเครื่องทองคำ ขนาด ยาว 15.5 ซม. สูง 12 ซม. สมัยอยุธยา ได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

นอกจากนี้จัดแสดงในลักษณะของพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ในแหล่งอนุสรณ์สถาน คือ จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่พบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจากการขุดแต่งบูรณะโบราณสถาน ซึ่งจัดแสดง 3 อาคาร ซึ่งได้จัดแสดง เครื่องปั้นดินเผา และเครื่องถ้วย เงินตรา จัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุที่พบในประเทศไทยตั้งแต่สมัยทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง อยุธยา รัตนโกสินทร์ เพื่อใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบ ฯลฯ

การให้บริการ 1.ให้บริการบรรยายนำชมแก่ สถานศึกษา โรงเรียน สถาบันต่างๆ ทั้งในและนอกสถานที่ 2.ให้บริการจำหน่ายหนังสือ โปสการ์ด สิ่งพิมพ์ และของที่ระลึก เวลาทำการ 9.00-16.00 น. เปิด วันพุธ-วันอาทิตย์ ปิด วันจันทร์-วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์

ค่าธรรมเนียม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ถนนโรจนะ พระนครศรีอยุธยา 13000 โทรศัพท์ : แฟกซ์ 0-3524-1587   

  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 296490เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2009 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท