หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

สุดยอดค่ายภาษาและวรรณกรรม


ค่ายพัฒนาศักยภาพทางด้านภาษาและวรรณกรรมสำหรับในเมืองไทยมิใช่เพิ่งจะดำเนินการเป็นครั้งแรก ในความเป็นจริงได้มีการดำเนินการไปแล้วหลายครั้งคราว แต่เป็นเพราะความไม่แน่นอนในการสนับสนุนส่งเสริมอย่างจริงจัง จึงทำให้ไม่ต่อเนื่อง ไม่เป็นผลอย่างชัดเจนนัก หากค่ายนี้สามารถดำเนินการเช่นนี้ได้อย่างต่อเนื่อง จริงจัง ภายในไม่เกิน ๑๐ ปี เมืองไทยก็จะมีศิลปินนักเขียนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพประดับวงการวรรณกรรม สร้างสรรค์งานดี ๆ ให้ผู้คนได้เสพงานสร้างสรรค์สติปัญญาสืบไป
    อาจารย์ครับ “มาลา  คำจันทร์” ไม่มาเหรอครับ ?
    
    อาจารย์คะ รู้จัก “แรคำ  ประโดยคำ” ไหมคะ ?
    
    คำถามแรก เด็กนักเรียนวัยสิบขวบ เพิ่งจะขึ้น ป.๔ ถามกับอาจารย์เจริญ  มาลาโรจน์ วิทยากรประจำกลุ่มเรื่องสั้น ในค่ายสร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม ด้วยสีหน้าค่อนข้างผิดหวัง เด็กน้อยมาเข้าค่ายนี้เพราะคาดหวังว่าจะได้เรียนเขียนเรื่องสั้นกับ “ครูมาลา  คำจันทร์” ถามออกไปโดยมิทันรู้ว่าคนที่ถามถึง กับคนที่ถูกถาม คน ๆ เดียวกันบัดนี้ยืนอยู่เบื้องหน้า
    คำถามที่สอง อารมณ์ใกล้เคียงกัน เด็กหญิงร่างเล็ก เพิ่งจะขึ้น ม.๒ รู้สึกผิดหวังเล็ก ๆ เมื่อไม่ได้พบกวีซีไรท์ ผู้เป็นนักเขียนในดวงใจ ที่ค่ายฯ ประชาสัมพันธ์ไว้ว่า ผู้ที่จะฝึกฝนตนเองด้านกวีในค่ายนี้ จะได้เล่าเรียนเขียนกวีกับ “แรคำ  ประโดยคำ” ซึ่งถูกแนะนำในค่ายว่า รองศาสตราจารย์สุพรรณ  ทองคล้อย จากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เด็กหญิงถามออกไปเพราะทราบว่าเขาอยู่ที่เดียวกันและน่าจะรู้จักแรคำ อย่างจุดไต้ตำตอ
    เด็กหญิงและเด็กชายทั้งสองคนเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งในบรรดาเด็กและเยาวชนที่เข้าค่ายกว่า ๖๐ ชีวิต ที่ใฝ่ฝัน  อยากพบ อยากเจอ อยากได้เรียนกับนักเขียนผู้มีชื่อ อย่าง เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์, มาลา  คำจันทร์, แรคำ  ประโดยคำ กระทั่งวิลักษณ์  ศรีป่าซาง
    
    ค่ายสร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม ดำเนินการโดย ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันส่งเสริมอัจริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้ (สสอน.) องค์การมหาชน ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดในระหว่างวันที่ ๒๗ เมษายน – ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ระยะเวลา ๑๐ วันเต็ม ณ ริมดอยรีสอร์ท อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ สถานที่สวยงามอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของดอยหลวงเชียงดาว
    ผู้เข้าค่ายมีตั้งแต่หนูน้อยเพิ่งจะขึ้นชั้น ป.๔ ไปจนถึงหนุ่มสาววัยใสที่จะขึ้นชั้น ม.๕ ในภาคเรียนหน้า มาจากทุกทิศทั่วไทย กรุงเทพฯ สงขลา ศรีษะเกษ มหาสารคาม เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอนอุตรดิตถ์ ฯลฯ แต่ละคนฝีไม้ลายมือฉกาจฉกรรจ์ทั้งเขียนและพูด
    
    “ลีลาวดี” มีสีงดงาม           เมื่อยามดอกบานกลิ่นหอมหนักหนา
    ใครได้ดอมดม คงสมอุรา     สมนามที่ว่า “ลีลาวดี”
    
    ประพันธ์โดย ด.ช.กร  ฉัตรชาตรี นักเรียนชั้น ป.๕ ร.ร.อนุบาลกิตติยา จ.มหาสารคาม เมื่อถูกมอบหมายจากวิทยากร ให้ไปเดินชมสวนภายในรีสอร์ท แล้วสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกออกมาเป็นบทกวี
    หรืออีกหนึ่งบทประพันธ์ ที่มาจากการแข่งขันการต่อทีละวรรค ซึ่งแต่ละกลุ่มทั้ง ๖ กลุ่ม จะมีเวลาคิดเพียง ๒๐ วินาที โดยมี ครูมาลา  คำจันทร์ ขึ้นต้นให้

    

         ท้อเราปลุก ทุกข์เราปลอบ มอบข้อคิด     เพื่อชีวิต สรรค์สร้าง หนทางใหม่
    เพื่อปูทาง ให้ความฝัน เดินทางไป   ร่วมรวมใจ หล่อหลอม เป็นหนึ่งเดียว
         สร้างวันใหม่ ด้วยพลังใจ อันใสสด     จักปรากฏ พลังธรรม์ อันแน่นเหนียว
    สู่สรรค์สร้าง สืบสาน สู่กลมเกลียว     คมและเขี้ยว ผองไทย ย่อมไม่แพ้
         เลือดไทยแท้ สรรค์สร้าง พลังศิลป์     อย่าทิ้งทอด เถื่อนถิ่น ไม่แยแส
    ร่วมพลัง แห่งฤทัย ให้ดูแล     คอยเผื่อแผ่ ไมตรีจิต สถิตเอย...
    
    การเข้าค่าย แบ่งเป็น ๒ ช่วง ช่วงแรกคือ ๒ วันแรก ผู้เข้าค่ายจะหมุนเวียนไปเรียนรู้ตามฐานต่าง ๆ ๓ ฐาน คือ ฐานการพูด กับ รศ.ดร.สมพงษ์  วิทยศักดิ์พันธ์  ฐานกวี กับ แรคำ  ประโดยคำ และวิลักษณ์  ศรีป่าซาง และฐานเรื่องสั้น  กับ มาลา คำจันทร์
    ช่วงที่สอง อีก ๖ วันถัดมา บรรดาผู้เข้าค่ายจะเลือกไปเรียนรู้ตามความสมัครใจของตนเอง ในฐานที่เข้าไปเวียนเรียนรู้ บ้างก็ตั้งใจจะฝึกฝนทักษะที่ตนเองถนัดเพื่อพัฒนาต่อยอก บ้างก็เลือกลงฐานที่ตนเองยังไม่เก่ง อยากจะพัฒนาตนเองเพิ่มเติมด้านนี้
    ช่วงสุดท้ายอีก ๒ วัน เด็ก ๆ จะได้พบปะและเรียนรู้จากเนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์
    ในวันเริ่มค่าย อาจารย์เจริญ  มาลาโรจน์ ผู้ถูกนักเรียนถามถึงตนเอง กล่าวกับทีมงานว่ามีความหนักใจไม่น้อย เพราะมีทั้งเด็กเล็ก เด็กโต คละเคล้ากัน เกรงว่าความแตกต่างของกลุ่มเป้าหมายจะเป็นอุปสรรค และเมื่อค่ายผ่านพ้นไปได้เพียงสองวัน การณ์กลับกลายไม่เป็นดังเช่นที่กังวล พบกับผู้เขียนถึงกับยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ เป็นปลื้มกับผลงานของบรรดาเด็ก ๆ พร้อมกับหอบเอางานเด็ก ๆ มาโชว์ และได้พูดถึงค่ายฯ นี้ว่า ชอบค่ายฯ นี้ เด็กเก่ง การจัดค่ายไม่กรอบเกณฑ์ตายตัว แต่ลื่นไหลไปตามสถานการณ์
    
    นายกิตติ์ธเนศ  โรจนอัครศักดิ์ ผู้ประสานงานค่ายฯ จาก สสอน. กล่าวว่า

    

    “...ค่ายฯ นี้เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจการพัฒนาศักยภาพผู้มีความสามารถพิเศษ ของ สสอน. สำหรับค่ายภาษาและวรรณกรรมนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้น โดย รศ.ดร.สมพงษ์  วิทยศักดิ์พันธ์ อาสาดำเนินการช่วยประสานงานจัดหานักเขียนชั้นเยี่ยมมาเป็นวิทยากร เป็นแรงดึงดูดเด็กๆ ที่มีความสามารถพิเศษให้มาเข้าค่าย...
    ...นักเขียนที่มาเป็นวิทยากร นอกจากความสามารถอันโดดเด่นของแต่ละท่านแล้ว ยังมีความสามารถในการสอนสูง เด็ก ๆ ตื่นตัวอยากเรียนรู้ อยากพัฒนาตนเองตลอดเวลา...
    ...สำหรับผลงานจากการเข้าค่ายจะถูกคัดเลือก มารวมเล่ม ตีพิมพ์เผยแพร่ ทั้งบทพูด กวีและเรื่องสั้น และในส่วนการพัฒนาต่อเนื่องหลังสิ้นสุดการเข้าค่าย ผู้มีความสามารถสูงและโดดเด่น จะได้เรียนทางไกลกับครูนักเขียนที่มาเป็นวิทยากร ในระหว่างที่รอเข้าค่ายในครั้งต่อไป...”
    
    ค่ายพัฒนาศักยภาพทางด้านภาษาและวรรณกรรมสำหรับในเมืองไทยมิใช่เพิ่งจะดำเนินการเป็นครั้งแรก ในความเป็นจริงได้มีการดำเนินการไปแล้วหลายครั้งคราว แต่เป็นเพราะความไม่แน่นอนในการสนับสนุนส่งเสริมอย่างจริงจัง จึงทำให้ไม่ต่อเนื่อง ไม่เป็นผลอย่างชัดเจนนัก หากค่ายนี้สามารถดำเนินการเช่นนี้ได้อย่างต่อเนื่อง จริงจัง ภายในไม่เกิน ๑๐ ปี เมืองไทยก็จะมีศิลปินนักเขียนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพประดับวงการวรรณกรรม สร้างสรรค์งานดี ๆ ให้ผู้คนได้เสพงานสร้างสรรค์สติปัญญาสืบไป
 
หมายเลขบันทึก: 298419เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2009 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 13:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

สวัสดีค่ะคุณหนานเกียรติ

เคยได้มีโอกาสพบอ.มาลา คำจันทร์ ที่บ้านอุ้ยใจคำ ตาปัญโญ โครงการอุ้ยสอนหลาน ที่เชียงใหม่ค่ะ

ประท้บใจความเรียบง่าย เป็นกันเองของท่านมาก ๆ

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

สวัสดีครับ คนไม่มีราก

แหะ แหะ พูดแล้วจะหาว่าคุย...

งั้นคุยเลยละกัน

ผมเป็นลูกศิษย์แกครับ

ได้ทั้งแรงบันดาลใจการเขียนจากท่าน

ผมเริ่มเขียนหนังสือจากการสอนของครูมาลาครับ

ระยะหลังไม่ค่อยได้พบ แต่โทรคุยกันบ้างครับ

มาชม บางครั้งเรารู้จักแต่ผลงานไม่รู้จักตัวตนจริงนะครับ เอาของหวานมาให้ชิม...

อาจารย์ umi ครับ

แหม่... ถ้ามีแตงไทใส่มาด้วย

สุดยอดเลยครับ

 

กิจกรรมลักษณะดีๆเช่นนี้ อิจฉา จังเลยครับ

สวัสดีค่ะพี่หนานเกียรติ

เมื่อวานอาร์มส่งเมลหาแล้วค่ะ

ยังไม่ได้รับหรือค่ะ ง่ะ....อาร์มจะลองส่งไปใหม่นะค่ะ ระบบน่าจะมีปัญหา

พี่มะปรางได้โทรหาพี่หนานเกียรติหรือยังค่ะ

^_^

มาลา คำจันทร์ รู้จักชื่อมานาน แต่ไม่ค่อยได้ติดตามผลงานท่าน รวมทั้งนักเขียนที่ว่ามานั่นด้วย แม้แต่ท่านเนาวรัตน์ พี่ไม่ติดวรรณกรรมแนวนี้

โอ๊ย !เมื่อยตา บอกว่าขอตัวใหญ่ๆหน่อยก็ไม่ได้

 

น้อง แพนด้าน้อย ครับ

แปลว่าไรเหรอ ม่ายข้าวจาย...

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

ท่านรองครับ small man

ผมพลัดหลงเข้าไปอยู่ในวงการนี้พักใหญ่ พูดได้ว่าพอมีประสบการณืในการจัดกิจกรรมเสริมเพื่อพัฒนาและค้นหาศักยภาพเด็กได้ประมาณนึง

มีอะไรพอจะเป็นประโยชน์กับท่านรอง (ว่าที่นกอินทรี) ยินดีนะครับ

เอ่ยปากได้โดยมิต้องเกรงใจ

น้อง อาร์ม ครับ

ไม่ได้รับจริง ๆ ครับ

แต่มะปรางค์หวานเอ้ยเปรี้ยว โทรหาแล้วครับ

   

ผมเดินทางถึงขอนแก่นแล้ว

กลับไปว่าจะให้แม่เฌวาพาไปถ้ำกระบอกหน่อยครับ

แบบว่าติด G2K หนะครับ ติดงอมแงม มีเวลาเป็นไม่ได้...

คุณพี่ ครู ป.1

แหะ แหะ ขอโทษ ลืมจริง ๆ

แก้ไขแล้วอ่ะ ขอโทษ ๆ ๆ ๆ ๆ (สักวันเป็น สว. คงจะเข้าใจกว่านี้...ฮิ ฮิ...)

ครูมาลานี่สุดยอดครูเลยนะ เรื่องคิดและเขียนผมเกิดจากครูนี่แหละ

แรคำ ประโดยคำ ผมก็มิได้อ่านงานมาก่อน ร่ำเมรัยด้วยกันจึงพบว่าไม่ธรรมดา ฝากเนื้อฝากตัวเป็นศิษย์ไปเรียบร้อยโรงเรียนเฌวา

ส่วน อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ รู้จักห่าง ๆ ไม่สนิทมาก แต่ก็ชื่นชมท่านมาก

สวัสดีค่ะน้องหนานเกียรติ

  • ครูต้อยอ่านแล้วประทับใจทั้งสำนวนผู้เขียนบันทึก
  • ที่บรรจงถ่ายทอดเรื่องราวให้ได้จินตนาการไปด้วย
  • อยากแปลงร่างเป็นเด็กน้อยบ้างจังเลย
  • ชอบการจัดกิจกรรมเรียนรู้ลักษณะแบบนี้ค่ะ
  • อ.เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์ ท่านเคยสอนครูต้อยสมัยเรียนบรรณารักษ์
  • ที่มศว.ประสานมิตร  2 ครั้งค่ะ
  • เรื่องกลอนนี่ชอบอ่านค่ะ
  • แต่แต่งไม่เป็นขอสารภาพ
  • ขอบคุณค่ะ

 

 

 

พี่ krutoi ครับ

ขอบคุณมากครับพี่...

ชมกันอย่างนี้หัวโนหมดครับ (ลอยไปชนเพดาน...)

ผมพลัดหลงเข้าไปอยู่ในวงการนี้ (ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษ) มาพักใหญ่ครับ มีโอกาสได้รู้จักคนดัง ๆ แยะ ได้ฝากเนื้อฝากตัวเป็นลูกศิษย์ลูกหา ที่สำคัญได้เรียนรู้และฝึกหัดตัวเองในงานนี้ จนทำอะไรต่อมิอะไรเยอะแยะ รวมท้ังค่ายฯ นี้

ทั้งที่มีครูดี แต่ผมก็พัฒนาตัวเองได้แค่นี้ (เสียชื่อครู..)

ครูคงกลุ้มที่มีลูกศิษย์อย่างผม

สวัสดีครับ คุณสามสัก

ขอบคุณที่มาเยี่ยมชมครับ

ผมชอบภาพที่ทำให้มากเลยครับ

สงสัยต้องแวะไปคารวะถึงถิ่นซะแล้ว

แวะมาอ่านกิจกรรมดีๆที่คนเขียนชวนให้ติดตาม

สวัสดีครับ pa_daeng

ขอบคุณที่มาอ่านและชมครับ

มีคนอ่านงานผม ก็อยากจะเขียนเรื่อย ๆ ครับ

  • อ่านตั้งแต่ต้นจนจบ ...
  • สุดยอดค่ายภาษาและวรรณกรรมจริงๆค่ะ
  • โทรหาได้ ตามสบายนะคะ
  • คืนนี้..ราตรีสวัสดิ์..ง่วงนอนแล้ว

สวัสดีค่ะพี่หนานเกีรยติ

ตอนนี้คงอยู่ในงาน GotoKnow Forum สัญจร ครั้งที่1 ที่ขอนแก่นแล้วใช่ไหมค่ะ

ขอส่งกำลังใจไปให้ผู้ร่วมงานทุกท่านค่ะ

^_^

ท้อเราปลุก ทุกข์เราปลอบ มอบข้อคิด     เพื่อชีวิต สรรค์สร้าง หนทางใหม่

    เพื่อปูทาง ให้ความฝัน เดินทางไป   ร่วมรวมใจ หล่อหลอม เป็นหนึ่งเดียว
         สร้างวันใหม่ ด้วยพลังใจ อันใสสด     จักปรากฏ พลังธรรม์ อันแน่นเหนียว
    สู่สรรค์สร้าง สืบสาน สู่กลมเกลียว     คมและเขี้ยว ผองไทย ย่อมไม่แพ้
         เลือดไทยแท้ สรรค์สร้าง พลังศิลป์     อย่าทิ้งทอด เถื่อนถิ่น ไม่แยแส
    ร่วมพลัง แห่งฤทัย ให้ดูแล     คอยเผื่อแผ่ ไมตรีจิต สถิตเอย...

เพลงนี้ร้องแล้วให้พลังค่ะพี่หนานเกียรติ

สวัสดีครับ คุณ ลีลาวดี

ขอบคุณที่แวะมาอ่านและดีใจที่ชอบครับ

เย็นนี้ผมคงถึงพิษณุโลก แล้วจะโทรหานะครับ

น้องอาร์ม ครับ

กิจกรรมที่ขอนแก่นเยี่ยมมาก ๆ ทุกคนชื่นชมยินดี

กำลังจะเขียนบันทึกต่ออีกตอนครับ

น้องกอ ครับ สุดสายป่าน

ขอบคุณที่แวะมาอ่านครับ

ท่านจตุคามเรียบร้อยโรงเรียนน้องกอหรือยังครับ

 

พี่หนานติดตามงานเขียนของท่านในมติชนไหมค่ะท่านมาลาคำจันทร์รู้จริงรู้ลึกกับจารีตของคนเมืองล้านนาจนไม่น่าเชื่อ..เพราะท่านขียนหนังสือต่างๆหลายแนว..นับถือค่ะ

ครู rinda ครับ

ตามอ่านอยู่เป็นระยะครับ

ท่านนี่ปราชญ์ล้านนาตัวจริง ล้านนาทั้งตัวและหัวใจ

ผมภูมิใจมากที่มีโอกาสได้เป็นลูกศิษย์

พูดถึงขึ้นมาก็คิดถึงเลย...

  • มาบอกว่า
  • บันทึกลักษณะนี้น่าอ่านค่ะ
  • เวลาอ่าน คนอ่านได้มุมมองและเรียนรู้ไปด้วยอีกหลายมุม
  • ขึ้นกับประสบการณ์ของแต่ละคน
  • นี่เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของเรื่องเล่า
  • ที่มีบรรยากาศผสมผสานอยู่ด้วย
  • โดยไม่ต้องแปลมาบอกต่อ
  • ที่น้องมีทักษะในการถ่ายทอดอยู่นะคะ
  • อย่าลืมนำมันไปใช้
  • กับเรื่องด้านวิชาการอื่นๆที่บังเอิญไปเกี่ยวนะน้อง
  • ........
  • ขอบคุณเรื่องเล่านี้
  • ที่ทำให้ได้เรียนรู้ร่วมไปด้วย
  • ........
  • เป็นเรื่องเล่าที่มีชีวิตที่เพิ่มชีวาให้คนอ่าน
  • วันนี้มีความสุขกับเด็กในเรื่องค่ะ
  • สุขใจกับความใฝ่เรียนรู้ที่ได้สัมผัส
  • สุขใจกับเรื่องดีๆที่เขาได้เรียนรู้
  • สุขใจกับประสบการณ์ที่เด็กๆได้รับ
  • ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

สวัสดีครับ คุณ tha9027

ผมคุ้นกับสำนวนการเขียนและวิธีการให้กำลังใจแบบนี้มากครับ

แต่มิกล้สฟันธง

ขอบคุณอย่างสูงที่เข้ามาอ่าน ให้คำแนะนำและให้กำลังใจ

ขอบคุณมาก ๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท