“วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อหารูปแบบและวิธีการในการสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตามนโยบายของรัฐบาล” ระดับตำบลสำโรง อ.เมือง จังหวัดสุรินทร์


เสนอให้มีการจัดตั้งสถาบันการเงินชุมชน

 

15 ก.ย. 52 

เพื่อนำเสนอ ผลงาน   โครงการ “วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อหา

รูปแบบและวิธีการในการสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตามนโยบาย

ของรัฐบาล”    ระดับตำบลสำโรง   อ.เมือง  จังหวัดสุรินทร์ 

 

                           

           สมาชิกผู้เข้าร่วมประกอบด้วยแกนนำแต่ละหมู่บ้าน

            

        ท่านกำนันสุนีย์  ประวัติพร ต.สำโรง  กล่าวเปิดการประชุม

 

         ระดมความคิดเห็นต่อการแก้ไขปัญหาสำหรับ กองบุญคุณธรรมเพื่อจัดสวัสดิการชุมชนต.สำโรงในอนาคต หลังฟังการวิเคราะห์สถานการณ์เงินของกองทุน 

-   ให้มีการขยายฐานสมาชิกจากกลุ่มเด็กๆ ในตำบลมีสถานศึกษา เป็นศูนย์เด็กเล็ก  จำนวน 4 โรง และโรงเรียนประถม จำนวน  4 โรง   การเข้ามาเป็นของสมาชิกจะทำให้ได้ฝึกการออมตั้งแต่เล็กๆ

 

-   เสนอให้มีการจัดตั้งสถาบันการเงินชุมชน เพื่อให้มีกลไก ที่ชาวบ้านบริหาร

การเงินของชุมชนอย่างมีระบบและพึ่งตนเองในระยะยาว

 

-   เสนอให้ปรับระเบียบ ข้อ เรื่อง     การให้ บำนาญ   เสนอให้ยืดเวลา การรับ

บำนาญ จาก 5 ปี ไปเป็น 10 ปี หรือ 15 ปี  โดย เริ่ม 1 ม.ค. 2553 ให้มีกฎใหม่

ส่วนกฎเก่าก็ยังดำเนินไปสำหรับสมาชิกเก่า ก่อน 1 ม.ค. 53

 

-  เสนอให้เปิดรับสมาชิกเป็นวาระๆ เช่น 3 เดือน  6 เดือน  ซึ่งจะสะดวกในการ

ให้บริการเมื่อต้องจ่ายสวัสดิการโดยพร้อมเพรียงกัน

 

-  เสนอให้มีการประชุมสมาชิก ปีละ 1 ครั้ง เพื่อทำความเข้าใจกฎระเบียบ

/เป้าหมายของสวัสดิการชุมชน  โดยให้กำหนด  กลาง ธ.ค. 52

 

-  เสนอให้ยืดอายุการรับสวัสดิการ ในข้อ ตาย เช่น  6 เดือน – 1 ปี รับ 2,500 บ.  

 2 ปี  รับ 5,000 บ.

 

-  ข้อเสนอต่อรัฐบาล หนุนย้ำ ว่า “ สวัสดิการชุมชนเป็นวาระแห่งชาติ “    

  เสนอให้มี กระทรวงสวัสดิการชุมชน  ให้องค์กรชุมชนมีส่วนร่วม เสนอกฎหมาย

เช่น  รัฐต้องจ่ายเงินผู้สูงอายุผ่านกองทุนสวัสดิการ

 

-  เสนอให้เป็นกฎระเบียบจากวาระแห่งชาติ ให้ รัฐ   อบต.  อบจ.  สมทบกองทุนสวัสดิการทุกปี  ปีละ 1 บ. 2 บ. หรือ 5 บ.

 

หมายเหตุ  ที่ประชุม มีความสนใจในการคุยรายละเอียดในการจัดตั้ง

สถาบันการเงินชุมชน

 

- ชุมชนสามารถบริหารการเงินภายในชุมชนากกองทุนต่างๆ  บริหารให้เกิดประโยชน์ต่อสมาชิกในชุมชน ส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง รู้การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ

สังคม  อื่นๆร่วมกัน

 

- เสนอให้การก่อตั้ง เริ่มจากสมาชิกที่สนใจ

 

- เสนอให้มีการรวมเงิน เริ่มจาก กลุ่มออมทรัพย์ เช่น  บ้านแสลงพันธ์ 

ออมทรัพย์สัจจะ มี ประมาณ  600,000  บาท ซึ่งการเป็นสถาบันการเงิน

สามารถเริ่มได้จาก 1 หมู่  ก็ได้

 

- มองหาแหล่งเงินในชุมชน เพื่อให้เข้ามาเป็นสมาชิก                                                               

1. กองทุนหมู่บ้าน  ( เงินล้าน )   ขอให้แต่ละหมู่ เช่น จาก 15 หมู่บ้าน

นำเงิน จำนวน 10,000 บ. มาลงสมาชิก และฝาก เพื่อ รอรับดอกผลเพื่อนำกลับไปสู่แต่ละหมู่บ้านต่อไป

2. สมาชิกทั่วไป ฝาก ถอน กู้ได้ เหมือนระบบธนาคารในเมือง

3. กองทุนอื่นๆในชุมชน นำมาฝากได้

4.เงินฝากของนักเรียนในตำบล

 

 

 

 

 

                                

                               

 

             

คำสำคัญ (Tags): #สวัสดิการชุมชน
หมายเลขบันทึก: 298801เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2009 19:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะคุณหน่อย

ตามมาอ่านเพื่อขอเรียนรู้ด้วยคนค่ะ

น่าสนใจเรียนรู้เบื้องหลังข้อเสนอแต่ละข้อ ว่ามีที่มาที่ไปของแนวคิดอย่างไร คิดว่าข้อเสนอทุกข้อ มีเหตุผล มุมมอง และวิธีคิดอยู่เบื้องหลังตามประสบการณ์ของพื้นที่... บางข้อก็พอเดาได้ค่ะ

ที่เดาไม่ออกคือ เบื้องหลังหรือแนวคิดเรื่องที่ต้องการ "สถาบันการเงินชุมชน"

ส่วนเรื่อง สวัสดิการผู้เสียชีวิต การเพิ่มเงินตามเวลาก็เหมาะสมดีค่ะ แต่ "ขนาดของเงิน" จะเป็นเท่าไร อันนี้น่าคิดค่ะ อันที่จริงหลักคิดสำคัญคือ การออมค่ะ ออมมาก (คือคนที่ออมมานาน) ก็ได้เงินสะสมมากและได้รับคืนในรูปเงินฌานกิจเมื่อเสียชีวิต หากได้รับคืนมากกว่าเงินออมของตัวเองมากๆ แปลว่า กำลังเอาเงินของคนอื่นมา (ถ้าเอามาไม่มากนักหรือมีสมาชิกมาก ก็ถือว่า เฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขกัน แต่ถ้าเอามามากเกินไปเมื่อเทียบกับจำนวนสมาชิก แปลว่า กำลังผลักภาระไปให้คนในอนาคต) ตรงนี้คือที่ต้องระวังนิดหนึ่งค่ะ

ขอบคุณอาจารยืปัท มากคะ เรื่องสถาบันการเงินชุมชน ผู้นำชุมชน มีข้อมูลมานานนะ เคยไปดูงานหลายที่

จากที่ อบต. พาไป นานแล้ว และก็แกนนำกองทุนสวัสดิการก็ล้วนเป็น กรรมการ

หลายกองทุนในชุมชน การทำงานก็เป็นไปแบบลูกทุ่ง แต่ผู้นำเขาคิดว่าต้องมีระบบมากกว่านี้ มีการบริหาร

ที่ดีกว่า หรือทำให้เกิดความเชื่อมั่นมากกว่า และล่าสุดที่ ผู้นำไปดูงานที่ ต.แนงมุด ( สถาบันการเงิน ) เขาก็รู้สึกว่า

มันไม่น่าจะยาก ในการดูแล รวบรวมเงืนในชุมชน ในตำบล เพื่อก่อให้เกิดส่งเสริมการออม และการให้การสนับสนุน

เรื่องการเงินแก่ผู้ที่เดือดร้อน หรือคนในชุมชนที่ต้องการลงทุนในธุรกิจการเกษตร หรือเรื่องอื่นๆ และที่สุดหน่อยว่าเป็นรูปแบบ

การพัฒนาคนทำงานให้เป็นทีมระดับชุมชน

วันที่ 1 ก.ย. ก็นัดคุยกันอีกคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท