โครงร่างการวิจัยนำเสนอ


ปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่ของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน

แบบเสนอโครงร่างการวิจัย (Research proposal)

 

  1. 1.       ชื่อโครงการวิจัย :   ปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่ของแพทย์ ในโรงพยาบาลชุมชน ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

( Factors Affecting Retention of General Practitioners at Community Hospital under the Ministry of Public Health)

  1. 2.       ผู้ทำวิจัย        :   นายแพทย์ อารักษ์  วงศ์วรชาติ  นายแพทย์เชี่ยวชาญ โรงพยาบาลสิชล  จังหวัดนครศรีธรรมราช
  2. 3.       ประเภทของงานวิจัย  :  วิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive study)
  3. 4.       สาขาวิชาที่ทำการวิจัย  :  การแพทย์ และสาธารณสุข
  4. 5.       คำสำคัญของเรื่องที่ทำวิจัย  ( keyword ) : แพทย์ โรงพยาบาลชุมชน

       6.  ความสำคัญ  ที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย  :  

                   ปัญหาขาดแคลนกำลังคนในระบบสุขภาพ โดยเฉพาะในโรงพยาบาลชุมชน ที่มีปัญหาขาดแคลนแพทย์เรื้อรังมายาวนานกว่า 25 ปี ที่ประเทศไทยผลิตแพทย์มากว่า สี่หมื่นคน แต่มีแพทย์ทำงานใน รพ.ชุมชน จำนวน 728 แห่งเพียง 3,200 คนเท่านั้น คิดเป็น ร้อยละ 8 ของประเทศ นอกจากนั้นแพทย์ส่วนใหญ่ร้อยละ 60 เป็นแพทย์ใช้ทุนอายุราชการเพียง1-3ปี ส่งผลให้ประชาชนในชนบทได้รับบริการจากแพทย์มือใหม่หัดขับเสียเป็นส่วนใหญ่ ปัญหานี้แก้ไขได้ยาก เนื่องจากระบบทุนนิยม ระบบสุขภาพที่มุ่งตามแพทย์ตะวันตก ตามอย่างอเมริกาที่มุ่งแพทย์เฉพาะทาง แพทยสภาเองมีผู้บริหารที่มีแนวคิดไปในทิศทางดังกล่าว ระบบทุนนิยมที่ให้ ปัจจัยด้านการเงินเป็นตัวแปรสำคัญที่ดูดแพทย์ออกจากชนบท ประกอบกับความขาดแคลนในหลายด้านทั้งการศึกษาต่อ ความก้าวหน้า ค่าตอบแทน ภาระงาน ครอบครัว ความห่างไกลความเจริญ ศักดิ์ศรีแพทย์ชั้นสอง และระบบในกระทรวงสาธารณสุขเองที่สร้างความเหลื่อมล้ำแบ่งแยกปกครอง ทำให้แพทย์ส่วนใหญ่อยู่ในโรงพยาบาลชุมชนได้ไม่นาน ในประเทศอังกฤษและอีกหลายประเทศที่เห็นปัญหาระบบสุขภาพในอเมริกา ค่าใช้จ่ายสูง จึงพัฒนาแพทย์ปฐมภูมิ รักษาใกล้บ้าน และสร้างโอกาสให้จูงใจต่อการอยู่ชนบท ทำให้มีแพทย์อยู่ในชนบทกว่าร้อยละ 60 ตรงกันข้ามกับประเทศไทย   ปัจจุบันมีการสร้างแรงจูงใจด้านความก้าวหน้า ค่าตอบแทนเหมาะสม ในเรื่อง เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายในโรงพยาบาลชุมชน ทำให้มีแพทย์ขอบรรจุกลับเข้ารับราชการกว่า 40 คนในรอบ 6 เดือนหลังประกาศใช้มาตรการดังกล่าว และแพทย์ร้อยละ84 พอใจที่จะอยู่ โรงพยาบาลชุมชน นานขึ้นการศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่ของแพทย์ ในโรงพยาบาลชุมชนจะช่วยให้รัฐบาล มีแนวทางการวางแผนเรื่องอัตรากำลังคนด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะแพทย์ ต่อไปในอนาคต และการตัดสินใจในเชิงนโยบายต่อมาตรการสร้างแรงจูงใจค่าตอบแทน ความก้าวหน้า ว่าจะยังคงอยู่ต่อไปหรือไม่

 

     

 

 7.  วัตถุประสงค์ของการวิจัย

                7.1  เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่ของแพทย์ ในโรงพยาบาลชุมชน สังกัด กระทรวงสาธารณสุข

                7.2  เพื่อศึกษาประสิทธิผลของมาตรการเพิ่มค่าตอบแทนเรื่อง เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายและความก้าวหน้าในวิชาชีพ ของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน

 

8.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                8.1  ผลการศึกษาวิจัย จะช่วยให้ทราบว่าถึงปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่ของแพทย์ ในโรงพยาบาลชุมชน เพื่อการป้องกันปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในชนบท

                8.2   ผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์และแนวทางในการวางมาตรการเพิ่มค่าตอบแทนเรื่อง เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย และความก้าวหน้าในวิชาชีพ ของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนต่อไป

 

 9.  หน่วยงานที่นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

1. โรงพยาบาลชุมชน  :  เพื่อเพิ่มคุณภาพงานของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน มีความสุขในการทำงาน การลาออกน้อยลงกว่าทุกปีที่ผ่านมา แพทย์มีกำลังใจในการทำงานมากขึ้น

2. กระทรวงสาธารณสุข  :  เพื่อเป็นแนวทางในการสนับสนุนแพทย์ในชนบทและเพิ่มความก้าวหน้าให้กับแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนทั้งผู้อำนวยการและแพทย์ประจำกว่า ให้สามารถก้าวหน้าได้ถึงระดับ เชี่ยวชาญ

 

       10.  ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

นิลเนตร วีระสมบัติ โรงพยาบาลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ศึกษาเรื่อง การคงอยู่ของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนของประเทศไทย: กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายปรากฏการณ์การย้ายออกและการคงอยู่ของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน ค้นหาปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการคงอยู่ของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน พัฒนาตัวแบบการคงอยู่ของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนของประเทศไทย วิธีการศึกษาแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน 1) ทบทวนปรากฏการณ์การคงอยู่ของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน จากอดีตจน ถึงปัจจุบันร่วมกับการทบทวนวรรณกรรม นำมาพัฒนาเป็นตัวแบบเชิงทฤษฎีการคงอยู่ของแพทย์ ในโรงพยาบาลชุมชนของประเทศไทย 2)วิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของแพทย์ใช้ทุนครบจากงานการเจ้าหน้าที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา65 คน ส่วนที่สอง ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกแพทย์ใช้ทุนครบที่คงอยู่ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา 39 คน ในเดือนเมษายน 2551 นำสิ่งที่ค้นพบมาปรับตัวแบบเชิงทฤษฎี 3) วิจัยเชิงปริมาณ ทดสอบตัวแบบโดยสำรวจแพทย์ที่คงอยู่ในโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ ผลการศึกษาในขั้นตอนที่สอง พบว่า แพทย์ที่คงอยู่ทั้งหมดมีระยะเวลาปฏิบัติงานเฉลี่ย 9 ปี (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 7.4, พิสัย 2.2-26.2) ช่วงอายุ 25-30 ปี มีระยะเวลาปฏิบัติงานเฉลี่ยต่ำสุด (3.1 ปี) และอายุมากกว่า 50 ปี มีระยะเวลาปฏิบัติงานเฉลี่ยสูงสุด (23.5 ปี) การคงอยู่ของแพทย์ผันแปรไปตาม อายุ สถานภาพสมรส ภูมิลำเนาบ้านเกิดหรือการตั้งถิ่นฐานที่อยู่ ตำแหน่ง และรูปแบบการศึกษา การสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการคงอยู่ของแพทย์มี 3 กลุ่มปัจจัย 1) ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ ทัศนคติที่ดีต่อชนบท ภาระงานที่เหมาะสม และค่าตอบแทนจูงใจที่เหมาะสม 2) ปัจจัยด้านโรงพยาบาลชุมชน ได้แก่ ขนาดโรงพยาบาลชุมชน ระบบบริหารในการดูแลผู้ป่วยทางคลินิก และความสัมพันธ์กับผู้บริหารและทีมงาน 3)ปัจจัยด้านชุมชนในเขตชนบท ได้แก่ความเจริญของชุมชน การยกย่องเชิงสังคม และความรับผิดชอบต่อครอบครัว ผู้วิจัยได้ปรับตัวแบบการคงอยู่ของแพทย์ในโรงพยาบาล ชุมชน เพื่อทำการทดสอบเชิงปริมาณกับแพทย์โรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศต่อไป สรุปผลการศึกษา สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาการคงอยู่ของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมาและพัฒนานโยบายการคงอยู่ของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนของประเทศไทย

สมหมาย เลาหะจินดา และ กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ ศึกษา ปัญหาอุปสรรคและความความต้องการของแพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนในเขตการสาธารณสุขที่ 8,9,10 ต่อการให้บริการสุขภาพจิต ในโรงพยาบาลชุมชนทุกโรงพยาบาลในเขตการสาธารณสุขที่ 8,9,10 ในช่วงที่เก็บข้อมูล จำนวน 840 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบผสมผสาน (Multistage sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง คือ แพทย์ จำนวน 200 คน พยาบาลวิชาชีพจำนวน 320 คน พยาบาลเทคนิคจำนวน 320 คน จาก 151 โรงพยาบาลชุมชนในเขตการสาธารณสุขที่ 8,9,10 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบคำถามปลายปิดให้เลือกตอบและคำถามชนิดมาตราช่วง (Likert scale) โดยผู้วิจัยสร้างขึ้นเองและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยส่งทางไปรษณีย์ ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาทั้งหมดร้อยละ 83.93 ประกอบด้วย แพทย์ 152 คน (ร้อยละ 76.00 ) พยาบาลวิชาชีพ 283 คน (ร้อยละ 88.44 ) และพยาบาลเทคนิค 270 คน (ร้อยละ 84.38 ) แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS/PC โดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนชนิดทางเดียว (oNE WAY ANALYSIS OF VARIANCE) การทดสอบคงวามแตกต่างเป็นรายคู่   lSD (lEAST SIGNIFICANT DIFFERENCE) และการทดสอบเปรียบเทียบค่า t (t-test) ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาการขาดแคลนปัจจัยในการดำเนินงานสุขภาพจิตในโรงพยาบาลชุมชนในเขต 8,9,10 มีดังนี้
                        1.1 หมวดคนหรือบุคลากรโรงพยาบาลชุมชนในเขต 8,9,10 ส่วนใหญ่มีปัจจัยทางด้านบุคลากรน้อย เมื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบสรุปว่าเป็นปัญหาอยู่ในระดับกลาง
                        1.2 หมวดงบประมาณโรงพยาบาลชุมชนในเขต 8,9,10 ส่วนใหญ่มีปัจจัยทางด้านงบประมาณจำนวนน้อย เมื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบสรุปว่าเป็นปัญหาอยู่ในระดับน้อย
                        1.3 หมวดวัสดุอุปกรณ์โรงพยาบาลชุมชนในเขต 8,9,10 ส่วนใหญ่มีปัจจัยทางด้านวัสดุอุปกรณ์จำนวนน้อย เมื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบสรุปว่าเป็นปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง
                        1.4 หมวดการจัดการโรงพยาบาลชุมชนในเขต 8,9,10 ส่วนใหญ่มีปัจจัยทางด้านการจัดการจำนวนน้อย เมื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบสรุปว่าเป็นปัญหาอยู่ในระดับน้อย
                        1.5 หมวดเทคโนโลยีโรงพยาบาลชุมชนในเขต 8,9,10 ส่วนใหญ่มีปัจจัยทางด้านเทคโนโลยีจำนวนน้อย เมื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบสรุปว่าเป็นปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง
            2. แพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนในเขต 8,9,10 มีความต้องการปัจจัยในการดำเนินงานสุขภาพจิตทั้งหมวดบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ การจัดการและเทคโนโลยีอยู่ในระดับมาก
            3. แพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนในเขต 8,9,10 ส่วนใหญ่มีทัศนคติเชิงบวกต่องานสุขภาพจิตและไม่เป็นอุปสรรคต่อการบริการสุขภาพจิต
            4. ความแตกต่างของตำแหน่งเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานสุขภาพจิตของโรงพยาบาลชุมชนในเขต 8,9,10
            5. ความแตกต่างของการนิเทศงานสุขภาพจิต ไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานสุขภาพจิตของโรงพยาบาลชุมชนในเขต 8,9,10
            6. ความแตกต่างของการได้รับการศึกษา / อบรมเพิ่มเติมด้านสุขภาพจิต จิตเวชเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานสุขภาพจิตของโรงพยาบาลชุมชนในเขต 8,9,10
            7. การมีหรือไม่มีแผนงานสุขภาพจิตเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานสุขภาพจิตของโรงพยาบาลชุมชนในเขต 8,9,10

            จากผลการศึกษาดังกล่าว ผู้วิจัยเห็นว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบงานสุขภาพจิต ควรจะได้มีการสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรของโรงพยาบาลได้รับการศึกษา / อบรมเพิ่มเติมด้านสุขภาพจิต จิตเวช ตลอดจนการนิเทศงาน การถ่ายทอดและสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับท้องถิ่น

 

11.  เอกสารอ้างอิง  ( References)

1. Anthony Harding, Paula Whitehead, Parisa Aslani and Timothy Chen. Factors affecting the recruitment and retention of pharmacists to practice sites in rural and remote areas of New South Wales: A qualitative study. Australian Journal of Rural Health . Volume 14 Issue 5Pages 214 – 218.

2. Susan J. Conte, Allen W. Imershein,  Michael K. Magill. Rural Community and Physician Perspectives on Resource Factors Affecting Physician Retention. The Journal of Rural Health. Volume 8 Issue 3, Pages 185 – 196.

   

12.  วิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน

         12.1  วางแผนค้นคว้าหาความรู้งานวิจัย  และทบทวนวรรณกรรม

         12.2  จัดทำแบบสอบถามในแพทย์ ในโรงพยาบาลชุมชน กระทรวงสาธารณสุข

12.3   ส่งแบบสอบถามให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบ

12.4   เก็บรวบรวมข้อมูล  โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้น

12.5   นำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติ

12.6   สรุปผลข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ทางสถิติ

12.7  วิจารณ์ผลการศึกษาวิจัย   

12.8  จัดทำรูปเล่มต้นฉบับงานวิจัย

 

 

13.  ขอบเขตงานวิจัย

        ศึกษาในกลุ่มแพทย์ ในโรงพยาบาลชุมชน กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่  1  ตุลาคม  2552 ถึง  31  ธันวาคม  2552  ระยะเวลาเก็บข้อมูล  3 เดือน ทำการสุ่ม( Random sampling) จากแพทย์ที่ทำงานในโรงพยาบาลชุมชนทั้งประเทศ จำนวนประมาณ  80  คน ตามกลุ่มขนาดโรงพยาบาล  30,60,90และ120 เตียงขึ้นไป

 

14.  ระยะเวลาการวิจัย

              ระยะเวลา  3 เดือน    ตั้งแต่วันที่  1  ตุลาคม  2552 ถึง  31  ธันวาคม  2552 

 

15.  แผนการดำเนินงานวิจัย     ( Gantt  Chart )

 

กิจกรรม

เดือน

 

กันยายน

ตุลาคม

พฤศจิกายน

ธันวาคม

1.  วางแผนงานวิจัย , ทบทวนวรรณกรรม

 

 

 

 

2.  ออกแบบสอบถาม

 

 

 

 

3.  ทดสอบแบบสอบถาม

 

 

 

 

4.  ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน

 

 

 

 

5.  คัดเลือกกลุ่มศึกษา

 

 

 

 

6.  เก็บรวบรวมข้อมูล

 

 

 

 

7.  วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

 

 

 

 

8.  สรุปผลข้อมูล

 

 

 

 

9. วิจารณ์ผลการศึกษาวิจัย

 

 

 

 

10.  จัดทำรูปเล่มต้นฉบับงานวิจัย

 

 

 

 

 

 

16.  สถานที่เก็บข้อมูล

       โรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ  กระทรวงสาธารณสุข     

 

17.  อุปกรณ์ในการวิจัย

         เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ

         ส่วนที่ 1  แบบสำรวจปัจจัยพื้นฐาน  ได้แก่ เพศ อายุ อายุราชการ การศึกษา ภูมิลำเนา และโรคประจำตัว

         ส่วนที่ 2  ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยการคงอยู่ของแพทย์ ได้แก่ ความพึงพอใจในความก้าวหน้า, รายได้, ค่าตอบแทน ภาระงาน ระบบการทำงาน ชุมชนที่อยู่อาศัย และระยะเวลาการทำงาน

         การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ

- นำแบบสำรวจการแพ้สารทึบรังสีให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบเนื้อหา ( content validity )

       - หาความเที่ยงตรงของเครื่องมือโดยวิธีของ Kuder Richardson

 

18.  งบประมาณ 

ค่าจัดทำเอกสาร                                         5,000 บาท

ค่าจัดส่งแบบสอบถาม                              3,000 บาท

ค่าอุปกรณ์ สำนักงาน                             7,000 บาท

สามารถถัวเฉลี่ยทุกรายการ

รวม                                                        15,000 บาท

 

 

 

                                                                                

                               (  นายแพทย์ อารักษ์  วงศ์วรชาติ )

หมายเลขบันทึก: 300372เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2009 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท