พัฒนางานประจำ ทำไม!! ต้องเป็นวิจัย


การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย เป็นการพัฒนาให้เกิดองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์และต่อยอดองค์ความรู้ต่อไป

เมื่อวันที่ 23-25 ก.ย.2552 ที่ผ่านมา ได้เข้าร่วมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

 หัวข้อ “การเพิ่มประสิทธิภาพของงานประจำด้วยการทำวิจัย” (Routine to Research)

 สถานที่ฝึกอบรม : ณ ตึกเพียรวิจิตร ชั้น 9 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วทุกภาคของประเทศ รวมทั้งผู้สนใจทั่วไป รวมประมาณ 80 คน

 R2r1

บรรยายโดย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร  วงศ์ธนวสุ   อาจารย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 เนื้อหาสาระในการฝึกอบรม

  1. นัยสำคัญของการวิจัยเพื่อการพัฒนางาน
  2. การกำหนดประเด็นปัญหาเพื่อการพัฒนางาน
  3. กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนางาน
  4. การค้นหากลยุทธ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน
  5. การดำเนินการเพื่อพัฒนางาน
  6. การออกแบบเครื่องมือในการประเมินผลการปรับปรุงงาน
  7. การจัดทำโครงร่างการวิจัยเพื่อพัฒนางาน

        งานประจำ เปรียบเสมือนขุมทรัพย์สำหรับการเรียนรู้และการสร้างสรรค์ ที่สามารถทำให้เราเติบโตได้ตลอดเวลา งานประจำจึงเป็นสิ่งสำคัญและสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพในการเรียนรู้ของทุกคน การเรียนรู้จึงไม่เพียงเป็นการคืนศักดิ์ศรีความเป็นคนให้กับคนทำงาน หากแต่ยังเป็นการรักษาไว้ซึ่งศรัทธาต่อการทำงานอย่าง “มืออาชีพ”

        กระบวนการที่จะทำให้ได้งานที่มีลักษณะที่พึงประสงค์ของ “การวิจัย” การทำงานวิจัยจากงานประจำ (Routine to Research) หรือ R2R เป็นรูปแบบของการผสมผสานระหว่างการพัฒนาคุณภาพการทำงานและการวิจัย

 R2r2

สิ่งสำคัญของการทำวิจัยคือ เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ จากองค์ประกอบ 4 ประการ ได้แก่

1.  คำถามต้องมาจากปัญหาที่เกิดขึ้นจริง

2.  คนทำวิจัยต้องเป็นคนที่กำลังเผชิญปัญหา

3.  ผลลัพธ์ที่ได้คือปัญหาที่ได้รับการแก้ไขและเกิดการบริการที่ดีขึ้น

4.  สามารถนำผลงานวิจัยมาใช้เผยแพร่ต่อไปได้

 เริ่มการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ((((นำภาพ เริ่มฝึกอบรม ตลอดจนปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการฯ มาฝาก))))

 R2r3

การผ่อนคลายทุกช่วงของการฝึกอบรม เพื่อฝึกสติ สมาธิ และปัญญา

R2r4

สิ่งที่ได้จากการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

  • การวิจัย (Research) = Re คือ การทำซ้ำ, search คือ การค้นหา ดังนั้น การวิจัยคือ การค้นหาอยู่บ่อย ๆ หรือทำการค้นหาซ้ำ ๆ หลายครั้ง อย่างเป็นระบบ มีหลักการที่ตรวจสอบและอ้างอิงได้
  • ก่อนเริ่มพัฒนางานประจำเป็นงานวิจัย เราต้อง
    • วิเคราะห์ตนเองก่อนว่า เราอยู่ในงานประจำส่วนใด ประเภทใด และรู้ว่าจะทำอะไร
    • งานที่จะทำ มีปัญหาอะไร ถ้าไม่แก้ปัญหาจะเกิดอะไร
    • ทบทวน ศึกษา ค้นหาปัญหาที่จะแก้ไขให้ได้
    • สรุป รวบรวมข้อมูลจากงานประจำที่ปฏิบัติเป็นประจำอย่างเป็นระบบ
    • จัดลำดับความสำคัญของงานและประมวลข้อมูลเพื่อให้เห็นปัญหาในแต่ละเรื่อง
    • ศึกษาหาความรู้เพื่อประกอบการจัดทำวิจัยพัฒนางานประจำ ในการอ้างอิงประกอบ
    • เริ่มดำเนินการวิจัย
      • กำหนดหัวข้อวิจัย โดยใช้ฐาน อดีต ปัจจุบัน และอนาคต เพื่อทบทวนหาโจทย์ปัญหาที่จะแก้ไข โดยการทำวิจัย
      • การทำวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำ ต้องเป็นงานที่ตนเองปฏิบัติอยู่เป็นประจำและต่อเนื่อง
      • สามารถรู้และเข้าใจในโจทย์/หัวข้อวิจัยที่ตนเองจะศึกษา
      • เริ่มดำเนินการวิจัยอย่างเป็นขั้นตอน ตั้งแต่
        • เริ่มกล่าวถึงความเป็นมาของเรื่องที่จะศึกษา โดยบอกเล่าให้เห็นภาพรวมของที่มาของปัญหาที่จะแก้ไข (แสดงให้เห็นว่าจะศึกษาอะไร ทำไมต้องศึกษา มีความจำเป็นและสำคัญอย่างไร เกิดขึ้นที่ไหน เกิดกับใคร ขนาดและผลกระทบอย่างไร
        • บอกถึงวัตถุประสงค์ ขอบเขตการศึกษา ประโยชน์ที่จะได้รับ
        • ผลลัพธ์ (ตัวชี้วัด) ได้อะไรบ้าง

R2r5

  • หลักการทบทวนวรรณกรรมเพื่อหาหัวข้อ
    • พัฒนาการของแนวคิด, แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพของงาน
    • กระบวนการและขั้นตอนที่จำเป็นต้องรู้
    • มีองค์ความรู้อะไรบ้าง, กฎหมาย กฎเกณฑ์อะไร, ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น
  • ขั้นตอนในการศึกษา
    • ระเบียบวิธีวิจัยต้องดูที่วัตถุประสงค์เป็นตัวตั้ง แล้วอธิบายโดยละเอียดว่าทำอย่างไร
    • ประชากร, กลุ่มตัวอย่าง, แหล่งข้อมูล (ข้อมูลทุติยภูมิ,ปฐมภูมิ) ต้องกำหนดให้ชัดเจนในการทำวิจัย
  • ผลการศึกษา
    • นำเสนอผลที่ได้จากการศึกษา เป็นอย่างไร
  • สรุป อภิปรายผล และเสนอแนะ
    • สรุปผล และเสนอแนะแนวทางแก้ไข เพื่อเป็นการต่อยอดในการศึกษาวิจัยต่อไป
  • การอ้างอิงเอกสาร
    • ต้องอ้างอิงที่มาของข้อมูลประกอบการจัดทำวิจัยทุกเรื่องตามระเบียบหลักเกณฑ์ของการอ้างอิงข้อมูลนั้นๆ

 

R2r6

แบ่งกลุ่มย่อย เพื่อฝึกเขียนโครงการวิจัย โดยเริ่มจากการกำหนดหัวข้อวิจัย วัตถุประสงค์ที่จะทำวิจัย และผลที่จะได้รับจากการทำวิจัย

R2r7

R2r8

ปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ผู้เข้าอบรม

  • ได้รับประกาศนียบัตร เพื่อรับรองว่า ผ่านการฝึกปฏิบัติ"การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย" R2R แล้ว และถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน
  • ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
  • ได้ความรู้จากหน่วยงานอื่น ปัญหาอุปสรรคของหน่วยงานอื่น เพื่อนำมาประยุกต์และปรับปรุงต่องานตนเองที่ทำอยู่ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
  • ได้ฝึกสติ สมาธิ และปัญญา จากวิทยากรที่มีประสบการณ์
  • ได้โลกทัศน์ใหม่ ๆ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การฝึกอบรมในครั้งนี้เป็นอย่างดี
  • ได้แนวทางการพัฒนางานอย่างมีหลักการที่ดี เพื่อการประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการนำมาปฏิบัติอย่างแท้จริง
  • ฯลฯ

หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติงานประจำ ที่จะทำวิจัยเพื่อพัฒนางานตนเองต่อไป

(((((นำมาฝาก))))))))

หมายเลขบันทึก: 301675เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2009 04:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับคุณ บัวปริ่มน้ำ มาเรียนรู้การวิจัยในงานประจำ ที่ทำจนชินครับ

  • สวัสดียามเช้าตรู่ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกัน ค่ะ
  • ขอบคุณครับ ที่เอาเรื่องดี ๆ มาฝาก
  • ขอจงมีแต่ความสุขในการทำงานประจำและวิจัย

สวัสดีค่ะ แอบมาอ่านช้าไปหน่อย ขอบคุณค่ะที่นำมาเผยแพร่

พอดีต้องเขียนโครง R2R ค่ะ เลยค้นดูเพื่อทำความเข้าใจ เพราะไม่เคยอบรม

ทราบการอบรมช้าไปค่ะ ต้อมมีความปรารถนาที่จะรับความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้โอกาสข้างหน้าขอบคุณสำหรับความรู้ที่ให้มาค่ะ

กำลังอบรมครับ 3-5 ก.พ.2553 สุดยอดมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท