สื่อสัมมาวาจา สร้างค่านิยมการทำความดีให้เยาวชน


เรื่องเล่าเร้าพลังเหล่านี้ กำลังจะถูกถอดประสบการณ์ออกมาเป็นบทภาพยนต์และละครโทรทัศน์

 

ธัมมะสวัสดีครับ 

กัลยาณมิตรทุกท่าน 

หลังจากมีความตั้งใจว่าจะทำมาเป็นเวลาแรมปี 

บุญกุศลของเด็กๆและที่ทุกท่านร่วมกันทำมาก็ส่งผลให้ธัมมะจัดสรรค์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ 

เหตุปัจจัยต่างๆมาลงตัวกันพอดี ในวันที่9 เดือน9 ปี 2009 

ช่วงเช้าได้ติดตามพระอาจารย์ ไปประชุมในเวที "TPBS"   เวที รับฟังความคิดเห็น "ถอดบทเรียน เขียนอนาคต ทีวีไทย”

ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ช่องแรกที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของสถานีโทรทัศน์

โดยแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นเป็น 10 กลุ่ม คือ

          1. ข่าวและสารคดีเชิงข่าว

          2. รายการที่เกี่ยวเนื่องกับข่าว

          3. รายการเด็ก  เยาวชน  และครอบครัว

          4. รายการสารคดีและสารประโยชน์

          5. รายการศิลปวัฒนธรรม  การแสดงดนตรี  เกมโชว์  เรียลลิตี้โชว์

          6. รายการเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต  ชนกลุ่มน้อย  อาหาร  สุขภาพ  คุ้มครองผู้บริโภค  เกษตร  ชุมชน  ผู้พิการ  ธรรมะ

          7. รายการวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี  สารสนเทศ  สิ่งแวดล้อม

          8. รายการกีฬาและนันทนาการ

          9. รายการละครและภาพยนตร์

10. รายการวาไรตี้และท่องเที่ยว

   

 

 

 

 


ในระหว่างที่ มีการแบ่งกลุ่มย่อย ร่วมกันกำหนดทิศทางการพัฒนารายการของทีวีไทย 

กลุ่มรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว จะเป็นกลุ่มที่มีผู้เข้าร่วมระดมความคิดกันมากที่สุด 

จึงหาที่นั่งในกลุ่มอื่นๆ ที่มีคนน้อยๆ

หลังจากเดินดูแต่ละวงย่อย จึงมาขอนั่งกับกลุ่มรายการละครกับภาพยนต์

หลังจากเริ่มแนะนำตัว ก็พบว่ากลุ่มย่อยนี้น่าสนใจมาก เพราะมี คุณเทินพันธ์ รายการ hotshot film คุณพนิดา สถาบันคลังสมองของชาติ

คุณประภาส kiddee project รวมถึงเจ้าหน้าที่ผังรายการจาก TVTHAI และ NGO ท่านอื่นๆ

การแลกเปลี่ยนสนทนาเริ่มขึ้นได้ไม่นาน พี่แดง บ.จินตนาการ ก็เดินทางมาถึงและมานั่งร่วมวงสนทนาด้วย รู้สึกแปลกใจที่พี่เขามานั่งในกลุ่ม

ภาพยนต์และละครโทรทัศน์ เพราะถ้าพี่แดงร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่มรายการสารคดีจะตรงกับสายงานด้านที่ทำอยู่มากกว่า......

 

 

หลังจากแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย ในประเด็นต่างๆ ที่มีการเสนอให้นำกวีซีไรต์ เรื่องราวดีๆ นำมาทำเป็นบทละครภาพยนต์ 

คุณพนิดา ก็เสนอว่า องกรค์ภาครัฐอย่างเช่นกระทรวงวัฒนธรรม ควรจับมือร่วมกับ

ผู้ผลิตสื่อ สร้างปรากฎการณ์อย่างเช่น "เดจังกึม" 

ซึ่งความสำเร็จของเกาหลีนี้ มิได้เกิดจากโชค หรือความฟลุ๊ค
แต่เกิดจากการตั้งใจ ปราณีตออกแบบผลิตให้มันเป็นตามเป้าหมาย เพื่อตอบโจทย์ปัญหาสังคม ความแตกแยกในชนชาติ ของเกาหลีเอง ที่แบ่งเหนือใต้  ตอบโจทย์สังคมที่ต้องการหล่อหลอมพลเมืองและเยาวชน ให้มีความเสียสละ รักชาติรักส่วนรวม และเป็นคนดีมีคุณธรรม
เมื่อมีโอกาสได้เสนอความเห็นเกี่ยวกับ ภาพยนต์ละครโทรทัศน์ เกี่ยวกับเยาวชน จึงได้เสนอวงสนทนาว่า น่าจะมีการ นำประสบการณ์ การทำความดีของเด็กและเยาวชน ที่ทำกันเป็นหมู่คณะ ที่มาจากประสบการณ์ทการทำงานนี้ มาทำเป็นบทละครภาพยนต์โทรทัศน์บ้าง เพื่อสร้างกระแสค่านิยมในการทำความดีให้กับเยาวชนของประเทศ 

ซึ่งเราก็พบว่า การที่เด็กๆได้ลุกขึ้นมารวมกลุ่มกันทำความดีนี้ มีอุปสรรคมากมาย และพวกเขาก็ฟันฝ่ามาได้ เราควรจะสร้างสื่อที่ตอบโจทย์และแก้ปัญหาสังคมบ้าง หลังจากที่เราสร้างสื่อแล้วทำลายเยาวชนมามากแล้ว...

แนวความคิดหนึ่ง ที่ทำตามๆกันมา คือการยกย่องคนดีแบบเดี่ยวๆ เช่นในโรงเรียนมีนักเรียน 1000 คน ยกย่อง คนดีเลิศ คุณธรรมต้นแบบ สองสามคน หรืออย่างมากชั้นละคน 

ในมุมคนให้รางวัลคือ ต้องการให้นักเรียน ถือเอาเป็นแบบอย่าง ทำความดีตาม

แต่ในมุมของคนที่ได้รางวัลและมุมของเพื่อนนักเรียนคนอื่นๆคือ เขาเป็นตัวประหลาด   เราจึงพบปรากฏการณ์ที่คนอายที่จะทำความดีขึ้น

ความคิดที่ตามๆกันมาหลายๆสิบปีนี้ ก็เป็นกระแส ให้สื่อใหญ่ เช่นรายการ คนค้นคน เกิดขึ้น คนที่ชมรายการ ก็บอกว่าดีนะ แต่ไม่ทำตามหรอก ดีเกินไป

การยกย่องคนดีต้นแบบ เช่นนี้ เป็นสิ่งสำคัญ และต้องมีอยู่ แต่ควร ทำควบคู่กับการยกย่องคนที่ทำความดี เป็นทีม เป็นกลุ่ม เป็นหมู่คณะด้วย 

เพื่อสร้างค่านิยมในการทำความดี ให้มีพลัง และอิมเพ็คต่อสังคม
พระอาจารย์จึงมีสโลแกนที่ว่า "อย่าปล่อยให้ความดีโดดเดี่ยว"  เพื่อสื่อสารกับเด็กๆที่ทำโครงงาน

การยกย่องบุคคลเป็นแบบปัจเจคบุคคล คือยกย่องคนดีแบบเดี่ยวๆ ที่ทำๆกันมา มัน...เป็นอะไรที่ไม่ตรงสภาวะปัจจุบัน และไม่ตรงกับแนวคิดแบบพุทธ ที่ไม่เน้นเรื่องการมีตัวตน ไม่ยึดติดตัวตน
เรามีฮีโร่แบบหนังซุเปอร์แมน ซูเปอร์ฮีโร่มาเยอะแล้ว และเราก็พบว่า ฮีโร่ทุกคนจะต้องเจ็บปวดกับการถูกทิ้งให้ทำหน้าที่แบบโดดเดี่ยว ซึ่งเป็นการทำร้ายค่านิยมในการทำความดี

ตอนเด็กๆ ผมจำได้ว่าเคยดูหนังการ์ตูนญี่ปุ่น เช่น ยอดมนุษย์ 5สี 7สี เป็นต้น  : )
แต่พอโดนกระแสการคิดแบบแยกส่วนของตะวันตก เข้าครอบงำด้วยซูเปอร์ฮีโร่ ฮอลลีวูด นี้ ก็ทำให้คนไม่คิดทำความดีกันเป็นหมู่คณะกัน

ศิลปะ หรือศิลปิน ก็กลายเป็น ศิลปะบำรุงตัวตน เราจะเห็น อาจารย์ดังๆ ลงลายเซ็นในภาพวาด ซึ่งส่งเสริมตัวตน ส่งเสริมอีโก้
ส่วนศิลปะสาธารณะกุศลในสังคมไทยกลับหายไป

หากย้อนรอยไปมองร่องรอยของอดีต เราจะพบว่า คนไทยสังคมไทย มีอุบายลด ทิฐิมานะถือตน แม้กระทั่งงานศิลปะ
งานศิลปะที่ทำกันหลายๆคน เช่น บายศรีสู่ขวัญ การทำตุง กระทงยักษ์ แห่เทียนพรรษา ภาพวาดในโบสถ์ เป็นต้น
งานเหล่านี้ ล้วนเป็น ศิลปะสาธารณกุศล ที่ไม่มีใครลงลายเซ็น หรืือเขียนชื่อว่าใครทำ เป็นการทำแบบปิดทองหลังพระ

ซึ่งศิลปะสาธารณกุศลเช่นนี้ หล่อหลอมให้สังคมเป็นสุข ถือตัวถือตนน้อย 
วิจิตรงดงามเป็นเลิศได้เหมือนกัน แต่ทุกคนล้วนทำเพื่ออุทิศให้กับส่วนรวมอย่างแท้จริง
ซึ่งสิ่งดีๆเหล่านี้ เราต้องช่วยกันฟื้นขึ้นมา พร้อมๆกับขจัดความเชื่อแบบเก่าที่เป็นโมหะภูมิด้วย
และสื่อก็มีอิทธิพลอย่างมาก ในการสร้างหรือทำลายเยาวชน คนในชาติ
  • สื่อดีๆ อย่าง เดจังกึม จูมง มูยุล ที่เน้นความรักชาติ ประเพณีวัฒนธรรมการเสียสละ ก็ยังมี side effect คือเป็นค่านิยมที่ทำให้คนไทย นิยมต่างชาติ สินค้าต่างชาติ เงินไหลออกนอกประเทศ
  • สื่อน้ำเน่า ในบ้านเราก็ยังเน่าเหมือนเดิม สร้างภาพลบต่อประเทศ ปล่อยให้ตลกหยาบคายออกมาทำสื่อขายดี..และตบแย่งผัวแย่งเมียกันเหมือนเดิม จนประเทศเพื่อนบ้านคิดว่าหญิงไทยร้ายแบบนี้้กันทุกคนหรือ?

  • ในขณะที่ต่างชาติสร้างภาพลักษณ์แต่เราสร้างภาพลบ ญี่ปุ่นสร้างชาติด้วยการ์ตูน เกาหลีสร้างชาติด้วยซีรีย์ อเมริกาสร้างชาติด้วยฮอลลี่วูด แต่เรากลับทำลายชาติทำลายเยาวชนด้วยสื่อ

คงถึงเวลาที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมไทย ที่กำลังใช้สื่อทำลายชาติ หันมา ใช้สื่อสร้างชาติอย่างญี่ปุ่นและเกาหลีบ้าง

เราคงต้องมีคำจำกัดความของเสรีสื่อกันใหม่  

คือปล่อยให้สามารถสื่อสารความดีได้อย่างอิสระเสรีเต็มที่  

แต่จะไม่ยอมให้สื่อไม่ดี ออกมาทำร้ายลูกหลาน ทำลายสังคม สร้างความแตกแยกให้กับคนในชาติอย่างทุกวันนี้

ซึ่งต้องฝ่ากันอีกหลายด่านทศกัณฑ์  เพราะในยุคสังคมโมหะภูมินี้

การทำอะไรดีๆ หรือให้สิ่งดีๆเกิดขึ้นในสังคม 

จะทำได้ยากเย็นแสนเข็น.....แทบจะผลัก...กันไม่ไหว 

และจำไม่สามารถทำได้สำเร็จเลย.... หากไม่มีกัลยาณมิตรทุกท่านมารวมพลังกัน


ขอเชิญร่วมชมนิทรรศการ โครงงานคุณธรรม 

ในงาน"พลังเยาวชน พลังสังคม" ครั้งที่ 1 
"ร่วมสร้างประเทศไทย...ด้วยการให้"

และร่วมเวทีเสวนา

 

วันเสาร์ที่ 10 ต.ค. : ถอดองค์ความรู้โครงงาน สร้างเป็นบทภาพยนต์โทรทัศน์ 
เวลา10.00-16.30น. ณ หอประชุมชั้น5 หอศิลป์ฯ กทมฯ

วันอาทิตย์ที่ 11ต.ค. : ถอดรหัส ๙ วิธีฟื้นฟูชาติ 
เวลา13.00-18.00น. ณ หอประชุมชั้น5 หอศิลป์ฯ กทมฯ

ท่านสามารถรับชม การทำความดีของเด็กๆ จากสารคดีสั้นดอกไม้บาน ได้ใน youtube นะครับ

ที่มาของแรงบันดาลใจในการถอดบทเรียนเรื่องราวของพวกเขาออกมาเป็นบทภาพยนต์โทรทัศน์ครั้งนี้

  
Moral Project


ขอขอบคุณอนุโมทนาต่อศูนย์คุณธรรม และ บ.จินตนาการ  


หมายเลขบันทึก: 303254เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2009 18:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มาชื่นชม สื่อสร้างสรรค์แนวใหม่ เป็นกำลังใจค่ะ

สื่อ มีอิทธิพลต่อวิถีประชา จะนำพาไปทางใด

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ ขอบพระคุณท่านที่ส่งข่าวดีๆไปให้..น่าดีใจที่มีสื่อดีๆ..แต่ว่าจากการสังเกตในพื้นที่ไม่ค่อยมีคนเปิดชม ..ส่วนใหญ่ดูช่องที่มีละคร..ขออนุญาตพูดตรง ๆ นะครับ สื่อกระแสหลักนี้เป็นเรื่องของทุนนิยม มีแต่โฆษณา...ทั้งทีเป็นของรัฐทั้งนั้น...ยิ่งการใช้เนต ในชนบทบ้านนอก...น่าเสียดาย มีที่ อบต.ให้ใช้ฟรี  ตามโรงเรียนเห็นมีจานดาวเทียม  แต่ไม่ทราบว่า เด็กๆ จะมีโอกาสเข้าถึงมากน้อยแค่ใด...คนบ้านนอกยังขาดโอกาส  แต่ว่าทุกวันนี้ตามบ้านนอกจะมีเครื่องเล่นวีซีดี ดีวีดี กันเกือบทุกบ้าน ...ทำแจกทำขายราคาถูก ๆ รายการดีๆ คงเข้าถึงคนบ้านนอกได้บ้าง  ขออนุญาต ลปรร.  ครับผม

ด้านสื่อคงต้องช่วยกันขับเคลื่อนแบบคลื่นใต้น้ำต่อไปครับ

หากแนวคิด share bank ด้านสื่อลงตัวแล้ว คงจะเชิญชวนให้กัลยาณมิตรทุกท่านมาลงแขกลงขันช่วยกัน ทั้งแรงกายแรงใจต่อไปครับ

แวะมาชื่นชมสื่อที่สร้างสรรค์ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท