วัฒนธรรมการบริโภค


“..บ่อยครั้งแค่ไหนที่เข้าป่า นรินทร์ตอบว่า อย่างน้อยที่สุดสัปดาห์ละหนึ่งครั้งโดยเฉลี่ย เพราะไปหาอาหารป่า หรือก็ขอให้ได้เข้าป่า แม้จะไม่ได้อะไรติดมือมาเลยก็ตาม....” “ไปคนเดียวผมก็ยังไปเลย แรกๆก็กลัวๆกล้าๆ นานไปกลับสนุก กลางคืนก็ไปคนเดียว นอนกลางป่าเลย...”

เรื่องกินเรื่องอยู่นั้นไม่น่าจะเป็นเรื่อง แต่ก็เป็นเรื่อง โดยเฉพาะคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการกินการอยู่ และการดำรงชีวิต

       หลายปีก่อนที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะแพทย์ศาสตร์ร่วมกับคณะนักวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา ทำการศึกษาสาเหตุของการเกิดมะเร็งตับของคนอีสาน ค้นพบว่าเพราะวัฒนธรรมการบริโภคของคนอีสานนั้น “กินดิบ” จึงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมาก  อาหารที่ชาวอีสานกินดิบนั้นสารพัดอย่าง รวมไปถึง หอยน้ำจืด ซึ่งทางชีววิทยาพบว่า หอยนั้นเป็น Host ของพยาธิชนิดหนึ่งในวงจรชีวิตเขา เมื่อคนอีสานกินดิบ โอกาสที่พยาธิจะเข้าไปในร่างกายก็เกิดขึ้นได้ และพยาธิชนิดนี้เป็นสาเหตุหนึ่งของมะเร็งตับ

แม้แต่ท่านอาจารย์ที่รักเคารพของผมท่านหนึ่งซึ่งเป็นหัวหน้าภาพวิชาโภชนาการ มข. ก็เสียชีวิตเพราะมะเร็งตับ ซึ่งท่านก็บอกว่า ก็กินมาตั้งแต่เด็กๆ มาเข้าใจเอาตอนโต เรียนหนังสือแล้ว  แต่พยาธิมันเข้าไปอาศัยในร่างกายนานแล้ว และมาแสดงผลเอาตอนอายุเลยวัยกลางคนไปแล้ว....  นี่คือเรื่องวัฒนธรรมการกินอย่างหนึ่ง...

       คนใต้ ไปอยู่ไหนๆก็ต้องมองหาร้านอาหารปักษ์ใต้ ก็แกงเหลือง แกงไตปลา ขนมจีนแบบปักษ์ใต้ คั่วกลิ้ง ฯลฯ.....มันหร้อยจังฮู้.. ที่บ้านก็ต้องหามากินบ่อยๆหากคุณเธอไม่มีเวลาทำเอง...

ผมเองก็ติดน้ำพริก ผักสดหรือผักลวกก็ตาม สารพัดชนิดชอบมั๊กมั๊ก.... สมัยก่อนหากกลับบ้านก็ต้องให้แม่หรือน้องสาวทำปลาร้าทรงเครื่อง ที่มีผักพื้นบ้านเต็มถาด จะเป็นมื้อที่อร่อยที่สุดในโลกนี่เป็นวัฒนธรรมบริโภคของคนประจำภาค ประจำถิ่น ...เพราะติดในรส ที่ถูกฝึกมาทั้งชีวิตตั้งแต่เด็กๆ

       ผมมาอยู่ดงหลวงถิ่นชนเผ่า ไทโซ่ มีที่ตั้งชุมชนติดภูเขา ที่เรียกว่ามีระบบภูมินิเวศแบบเชิงเขา  ชาวบ้านก็จะมีวิถีชีวิตที่พึ่งพิงป่าสูงมาก กล่าวกันว่า ทุกคนทั้งหญิงและชายจะต้องขึ้นป่า ด้วยจิตวิญญาณ..

ดังนั้น ผมเคยขึ้นป่ากับชาวบ้าน พบว่าชาวบ้านเตรียมแต่ข้าวเหนียวไปเอามีดไปและเครื่องครัว อาหารการกินไปหาเอาข้างหน้า เช่นลงไปในลำห้วยก็ได้เขียด ได้หอยป่า ได้ปูภูเขา อาจจะได้ปลามา หากโชคดีก็ได้สัตว์ป่า ซึ่งเหลือน้อยเต็มทีแล้ว แล้วก็มาทำกินกันแบบลูกทุ่ง เอาใบไม้มารองอาหาร การหุงข้าวหากไม่ได้เอาหม้อไป หรือเอาหม้อที่ซ่อนไว้ในป่า ก็ไปตัดไม้ไผ่ปล้องใหญ่ๆมาผ่าครึ่งแล้วก็หุงข้าวในนั้น

       นรินทร์ เยาวชนรุ่นใหญ่ดงหลวงคนหนึ่งบอกว่า อาจารย์...เวลาเข้าป่าเขาหุงข้าวด้วยปล้องไม้ไผ่ ข้าวหอมมากๆ น่ากิน ช้อนก็ไม่จำเป็นต้องเอาติดตัวไปก็ได้ ใช้มือเรานี่แหละ หากวันนั้นมีต้มมีแกงก็ไปหาใบไม้สารพัดชนิดที่ใกล้ตัว เด็ดมาห่อทำเป็นช้อนตักน้ำแกงซดกิน  ใบไม้บางชนิดเมื่อโดนความร้อนมันก็หอม อร่อย... และที่สำคัญ “เราก็ติดใจในรสอาหาร และธรรมชาติของป่านั้น...”

ไม่ว่าวัยรุ่นวัยเฒ่าแค่ไหนวิถีชีวิตก็ขึ้นป่า...หากินกันแบบนั้น.. ผมเคยตั้งคำถามนรินทร์ เยาวชนรุ่นใหญ่ดงหลวงว่า

“..บ่อยครั้งแค่ไหนที่เข้าป่า นรินทร์ตอบว่า อย่างน้อยที่สุดสัปดาห์ละหนึ่งครั้งโดยเฉลี่ย เพราะไปหาอาหารป่า หรือก็ขอให้ได้เข้าป่า แม้จะไม่ได้อะไรติดมือมาเลยก็ตาม....”

“ไปคนเดียวผมก็ยังไปเลย แรกๆก็กลัวๆกล้าๆ นานไปกลับสนุก กลางคืนก็ไปคนเดียว นอนกลางป่าเลย...”

หมายเลขบันทึก: 303633เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2009 13:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

อ่านแล้วเห็นภาพอยากไปชิมอาหารป่า เคล้าบรรยากาศค่ะ

ช่วงอยู่อิสานพี่ที่ทำงานเค้าทอดไข่ แหนม รองใบตอง ไม่ใช้น้ำมัน ดีจังค่ะ มีกลิ่นหอมอร่อยด้วยค่ะ ที่ใต้มีหมกปลากับเครื่องแกง

ปลายฝนต้นหนาวเหมาะจะไปเข้าป่านะคะพี่ท่าน อิ่มอร่อยทุกมื้อนะคะ

 

  • สวัสดีครับ อ.บางทราย
  • วัฒนธรรมการกินการอยู่ฝังรากลึกอยู่ในคนแต่ละพื้นถิ่น
  • แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค
  • ผมว่าเป็นสิ่งดีๆ ที่หลายคนอาจไม่เข้าใจ
  • ..อยู่ที่ไหนก็รักที่นั่นนะครับ
  • ผมเคยเป็นเด็กเลี้ยงควายที่ต้องลงทุ่งหลังเกี่ยวข้าว
  • และเข้าป่าตอนเริ่มทำนา
  • มีหลายอย่างที่ยังติดตาตรึงใจอยู่จนทุกวันนี้
  • ได้ขี่ควาย  ปั้นลูกกระสุนดินเหนียว ทำอาหารจากผักหญ้าที่หาได้ระหว่างการเดินทาง ฯลฯ
  • เสียดายที่คนสมัยนี้ไม่โชคดีเหมือนผมตอนเป็นเด็กๆ
  • ขอบคุณมากครับที่บันทึกมาให้ได้ย้อนระลึกถึงอดีต

ว้าว

วิวัฒนาการ ในวัฒนธรรม การบริโภค จริงๆเลยครับ

..

เป้าหมาย รับประทานอาหาร เข้าร่างกาย

กระบวนการ หลายวิธี ตามวัฒนธรรม และความเชื่อ

...

อิ่มอร่อย ก็มีความสุขโดยแท้

นางสาว มยุวรรณ สำโรงแสง

นางสาวมยุวรรณ สำโรงแสง นิสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เอก สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา ปี 3

เรื่องอาหารการกิน และความเป็นอยู่เป็นเรื่องที่สำคัญที่ทุกคนจะต้องตระหนัก ซึ่งแต่ละภูมิภาคจะมีวัฒนธรรมในการการกินที่แตกต่างกัน เช่นวัฒนธรรมการกินในภาคอิสานซึ่งคนที่นั้นจะมีอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของภาค เช่นส้มตำ เป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของภาคและบางคนจะมองว่าคนอิสานกินอาหารสุกๆดิบๆ ไม่ถูกหลักอนามัย แต่คนในพื้นที่ก็ยังคงกินกันอยู่ถึงปัจจุบัน และอาหารที่คนในท้องถิ่นกินก็เป็นอาหารที่อยู่ในท้องถิ่นที่ปลูกผักกินเอง ปลอดสารพิษ นี่คือวัฒนธรรมในการบริโภคอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของภาคอิสาน

อ่านแล้วอยากจะนิยมไพรกับเพื่อนที่รู้ใจคะ

น้องปู  ปลายฝนต้นหนาวเหมาะขึ้นภู จะให้ดีก็หมดฝนจริงๆแล้วขึ้นนั่นแหละ กำลังดี บรรยากาศเข้าป่านั้นมันมาการผจญภัยแบบไหนไม่เทียบเท่า โดยเฉพาะป่าที่สมบูรณ์ นะสุดยอดจริงๆ เราจะเห็นในสิ่งที่มหัศจรรย์ของธรรมชาติและการอยู่อาศัยร่วมกันของสรรพสิ่งมีชีวิตบนนั้น แหะๆ  แต่ก็มีอันตรายมากด้วย ต้องเดินทางไปกับพรานท้องถิ่นที่เขารู้จักเส้นทางเดินครับ

หลายสิบปีก่อน นักศึกษา สถาบันแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯไปขึ้นภูกระดึงแล้วตกเขาเสียชีวิต  เพราะไม่รู้จักธรรมชาติของป่า.....และมีอีกมาก ที่เกิดอุบัติเหตุหนักบ้างเบาบ้างนะครับ

หากอยากขึ้น พี่เองกะว่า หนาวนี้คงได้หาทางขึ้นภูอีกครับไปสำรวจความอุดมของป่ากัน ครับ น้องปู...

สวัสดีน้องสิงห์

  • วัฒนธรรมการกินการอยู่ฝังรากลึกอยู่ในคนแต่ละพื้นถิ่นแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค ผมว่าเป็นสิ่งดีๆ ที่หลายคนอาจไม่เข้าใจ
  • คนเราเติบโตมาจากเบ้าหลอมของการเลี้ยงดูแบบไหนๆ โตขึ้นก็คุ้นชินแบบนั้นๆ ร่างกาย สำนึก การรับรู้ และการปรับตัวของร่างกานเข้ากับเงื่อนไขของท้องถิ่นนั้นๆอยู่แล้ว ยิ่งการบริโภคเป็นเรื่องที่ติดในรส สัมผัส ยิ่งไปใหญ่ พี่ไปเที่ยวเยอรมันหลายสิบปี ยังไปกินน้ำพริกผักดอง ไข่เจียวที่นั่นเลย คนไทยที่ไปเรียนหนังสือทำให้กิน
  • ..อยู่ที่ไหนก็รักที่นั่นนะครับ
  • ผมเคยเป็นเด็กเลี้ยงควายที่ต้องลงทุ่งหลังเกี่ยวข้าวและเข้าป่าตอนเริ่มทำนา
  • มีหลายอย่างที่ยังติดตาตรึงใจอยู่จนทุกวันนี้
  • ได้ขี่ควาย  ปั้นลูกกระสุนดินเหนียว ทำอาหารจากผักหญ้าที่หาได้ระหว่างการเดินทาง ฯลฯ เสียดายที่คนสมัยนี้ไม่โชคดีเหมือนผมตอนเป็นเด็กๆ
  • น้องสิงห์และคนรุ่นนี้โชคดีที่ผ่านยุคสมัยที่เป็นรอยต่อของสังคมชนบทกับสังคมเมืองมามากกว่า สัมผัสจริงๆมามากกว่าเด็กปัจจุบัน เราจึงเข้าใจ รับรู้ สำนึกในสิ่งเหล่านั้นมากมายกว่าเด็กสมัยนี้  คนที่ผ่านมาเช่นนั้นย่อมให้คุณค่าของวัฒนธรรมสูงกว่าคนที่ไม่เคยผ่านมานะครับ น้องสิงห์รู้ดีอยู่แล้ว

น้องตาหยูครับ  น้องคงเคยลุยป่ามาพอสมควรแล้วหละ รู้ซึ้งถึงธรรมชาติดีนะครับ มันมีเสน่ห์อย่างอธิบายไม่ถูก คนดงหลวงจึงบอกว่า อย่างไรก็ขึ้นป่า มันติด มันกระหาย มันอยาก ไม่รู้เหมือนเด็กเมืองต้องไปเดินห้า้งหรือเปล่านะ เดินจนติด ไม่รู้ไปไหน ไปห้าง..อิอิ

น้องสาว นางสาวมยุวรรณ สำโรงแสง นิสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เอก สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา ปี 3

 

มาฝึกงานที่โครงการพี่ไหม น่าสนใจนะ มีนักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยขอนแก่นมาฝึกงานเกือบทุกปีครับ หากมาฝึกของจริงจะรู้ว่า ชนบทของจริงกับที่เรียนในห้องเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร 

ดีใจที่นักศึกษาพัฒนาสังคมสนใจงานด้านนี้ ขอสนับสนุนนะครับ

สวัสดีครับคุณลินดาครับ

เคยไปเที่ยวป่าแบบดิบๆไหมครับ  สนุกมากนะครับ หากสนใจดงหลวงยินดีต้อนรับนะครับ

สวัสดีค่ะ

- เห็นบรรยากาศ แล้วคิดอยากจะกินกะเขาเหมือนกันค่ะ

- เดิมอยู่ชนบท กินข้าวป่า อร่อยที่สุด

- แต่ยังมีอาหารดิบเหมือนเดิม

- ตามสโลแกน " หมออนามัยกินก้อย"

สวัสดีครับ เพชรน้อย เคยอยู่ชนบทแถบไหนล่ะครับ คงย้อนนึกถึงความเคยชินเก่าๆได้นะครับ มันเป็นวิถีของชาวชนบท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทุนทางสังคม แต่ขณะเดียวกันเรามีวิชาการพัฒนาไปมาก เราก็ทราบว่า บางอย่างอาจต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น เพราะเราทราบเหตุผลทางวิชาการมากขึ้นนะครับ

แต่หลายอย่างเราก็ควรสืบต่อวัฒนธรรมที่ดีงามกันนะครับ  ยินดีที่รู้จักครับ

พี่บางทราย สวัสดีครับ

      "คนเราเติบโตมาจากเบ้าหลอมของการเลี้ยงดูแบบไหนๆ โตขึ้นก็คุ้นชินแบบนั้นๆ.."

      จริงแน่ๆ ครับเรื่องนี้ ผมมีเพื่อนไต้หวันคนหนึ่ง เขาบอกผมด้วยถ้อยคำที่แตกต่าง แต่น่าจะมีความหมายเดียวกัน แปลเป็นไทยได้อารมณ์ประมาณนี้ครับ

      "กับข้าวฝีมือแม่ อร่อยที่ซู้ด...." ^__^

      คิดไปคิดมา...เออ! จริงของเขาแฮะ....กับข้าวฝีมือแม่ อร่อยจริงๆ ด้วย...

----------------------------------------------

      นำโมเดลล่าสุดมาฝากด้วยครับ พับให้ น้องมี่-ลูกสาวของคุณอิง เพราะน้องมี่นี่สนใจ Origami เอามากๆ ทีเดียว

จัดฉากโดยเจ้าหนูนิ ลูกสาวคนเล็กของผมครับ เธอบอกว่า กระต่ายอยากขี่กบ....ใช้เป็น speed boat ซะเลย (อิอิ)

จากบันทึก : Origami สำหรับ น้องมี่ - นักพับกระดาษน้อย

อาจารย์ซิว เอ่ยชื่อนี้ทีไร เหมือนถูกซิวทุกที อิอิ

คนอะไรมีความสุขกับการพัฒนาสร้างสรรค์เสียจริงๆ นับถือ นับถือ

เออ...พับกระดาษแล้วเล่าเรื่องราวนี่เข้าท่าจริงๆนะ หากเอามาสร้างเป็นหนังก้ได้นะครับ อาจจะสร้างคณะละคอนที่ใช้กระดาษพับเล่าเรื่อง เอาเด็กๆมาเล่นกันคนละบทละตอน โอยหลับตาคงสนุปและสร้างวสรรค์น่าชื่นชมจริงๆ

เด็กๆสนุก ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ เป็นการกระตุ้นสมองสร้างความคิดริเริ่ม และความมั่นใจต่อตัวเอง..ฯลฯ

หยิบเรื่องราวที่สำคัญๆมาทำให้มีชีวิต เรื่องราวยังให้การเรียนรู้แก่เด็กคนอื่นๆ หรือผู้ชมแบบ เรียนแบบไม่ต้องเข้าห้องเรียน  สุดยอด..อ้าว ฝันไปโน่นแน่ะครับ อ.ซิว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท