ปฏิวัติงานศพ


งานศพ เป็นงานที่ไม่มีใครเตรียมการไว้ล่วงหน้า เจ้าภาพส่วนใหญ่ต่างอยู่ในอาการภาวะจิตใจย่ำแย่ และโศกเศร้า

เข้าย่างอายุเลยวัยรุ่นมาก็หลายปี แต่ใจยังคิดว่าตัวเองยังวัยรุ่นได้อยู่ก็คงจะเป็น "วัยรุ่นตอนปลาย" ได้ล่ะนะ...

   เรื่องของเรื่อง ที่จะเริ่มบันทึกนี้ เพราะเกิดไปสดุดกับประเพณีดั้งเดิม ที่เขามีมาแต่โบราณ

ซึ่งนับวันก็เป็นประเพณี วัฒนธรรมแบบกลายๆ จนชักเข้าขั้นเพี้ยนไปกันใหญ่ คือ เรื่อง การจัดงานศพ ...

ที่อยากพูดและอยากให้ปฏิวัติ ปฏิบัติกันใหม่ ก็คือ ขั้นตอนต่างๆที่ไม่เกี่ยวกับพิธีกรรม

เพราะส่วนนี้ เขาก็ดีอยู่แล้ว และที่เราจัดงานศพ ก็เพื่อเป็นเกียรติให้ผู้เสียชีวิต และครอบครัว

แต่หลังๆมานี้ เท่าที่เห็นจะกลายเป็นจัดเพื่อรักษาหน้าตาและกันคำครหาของชาวบ้านไปเสียมากกว่าเหตุผลหลักๆ

       ผู้เขียนเห็นด้วยกับการที่จัดงานศพที่วัด คือ การนำศพมาบรรจุไว้ที่วัด จนเสร็จลุล่วง เพราะเหตุผล ดังนี้

  1. เพื่อเจ้าภาพจะได้สะดวกในการดูแล
  2. แขกเหรื่อที่มาก็สะดวกในการเดินทางมา (ยิ่งสำหรับผู้ที่ไม่รู้จักบ้านผู้เสียชีวิตแล้วยิ่งง่ายที่สุด เพราะวัดเป็นสถานที่ๆ หาง่าย)
  3. การดูแลเลี้ยงแขกเหรื่อที่มาร่วมงานก็เป็นไปอย่างทั่วถึง
  4. เมื่อเสร็จพิธีกรรสทางสงฆ์ เจ้าภาพก็สามารถกลับไปพักผ่อนที่บ้านอย่างปรกติ ไม่ต้องลากสังขารมาต้อนรับแขกจน ตาโหล ดำ เป็นหมีแพนด้า
  5. งบประมาณในการจัดงานศพก็ไม่สิ้นเปลือง เหมือนกับจัดที่บ้าน (บางทีก็มีการดื่มสุราตลอดทั้งคืน โดยเหตุผล ว่าอยู่เป็นเพื่อนเจ้าภาพ)
  6. เพราะหลายๆงานที่เห็น เจ้าภาพส่วนใหญ่จะมักกังวลในการต้อนรับแขก และเรื่องข้าวปลาอาหาร จนบางทีกะผิดกะถูก เผลอๆ ก็จะโดนติเตียนไปอีกซ้ำสอง แต่หากเปลี่ยนเป็นจัดที่วัด และมอบหมายให้มีผู้ดูแล (ในต่างจังหวัด ก็จะมีการจัดกลุ่มแม่บ้านด้วยการจัดเวรกันมาคอยทำอาหาร เสริฟ และจนล้างเก็บจนเสร็จ) หรืออาจจะเป็นการจ้างคนมาคอยรับหน้าที่เรื่องการจัดหารอาหารเลี้ยงแขกเหรื่อในแต่ละวัน เพื่อเจ้าภาพจะได้ไม่ต้องมาวุ่นวายกับการซื้อของสดที่จะใช้มาทำอาหาร ตลอดทั้งงาน
  7. ส่วนใหญ่ที่ยังไม่นิยมแบบนี้ ก็เพราะกลัวชาวบ้านจะหาว่าไม่เอาสังคมมั่ง เลี้ยงไม่เต็มที่มั่งล่ะ ทั้งๆที่งานศพ แขกที่มาก็ต่างมาด้วยความเห็นใจ และโศกเศร้าเสียใจกับญาติผู้เสียชีวิตกันทั้งนั้น ก็คงไม่มีใครมานั่งตำหนิข้อผิดพลาดทั้งหลายหรอกใช่ไหมคะ?
  8. และที่เห็นมาเยอะ ก็คือ งบประมาณบานปลาย บางคนไปหยิบยืมคนอื่นมาเพื่อจัดงาน กลายเป็นหลังเสร็จงานศพ ก็เป็นหนี้สิน เป็นภาระให้คนเป็นต่อไปอีก...
  9. ทั้งหมดนี้ เป็นเหตุผลและความเห็นส่วนตัวค่ะ เอามาเสนอ เล่าสู่กันฟัง..บางท่านก็ยังคงขัดใจ ขัดหูไปอยู่บ้างล่ะค่ะ เพราะผู้เขียนชอบคิดแบบสวนทางคนอื่นดีนักแลฯ  ....

      เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้แล....

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #งานศพ
หมายเลขบันทึก: 303736เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2009 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

เพื่อนอาตมาคนหนึ่งบวชปีเดียวกันเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๓

ท่านไปงานศพตอนเช้าท่านไม่อยากฉันเช้า คงเพราะนึกถึงคนตายเลยไม่อยากฉันหรือไรก็ลืมเหตุ-ผลที่เขาให้ไว้

แต่เดี่ยวนี้ งานศพเป็นงานที่ต้องกินเลี้ยงกันไม่แพ้งานบวช งานแต่งเลยทีเดียว

เข้าข้างเพี้ยน หรือไม่ก็อาจเลยเถิดไปอย่างสุดกู่

ต้องชวนกันสังคายนา ปรับปรุงแก้ไข ก่อนที่จะเลอะเทอะมากกว่านี้

เจริญพร

นมัสการค่ะ

กราบขอบพระคุณท่านพระมหาแลเป็นอย่างยิ่งค่ะ

ที่เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นค่ะ...เห็นด้วยจริงๆค่ะ

อยากเห็นงานศพที่ปลอดเหล้า เลี้ยงข้าวปลาอาหารแบบง่าย ไม่ยุ่งยากกับเจ้าภาพ

ไม่อยากให้มีเหล้า เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ในงานศพเลยคะ

ขอบคุณ คุณประกายค่ะ

ที่ร่วมแสดงความเห็น...แนนก็เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ

เห็นงานศพทุกงาน ต้องมีขี้เหล้าเมาแปล้ทุกที...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท