ใส่กรอบชนบท


 

เอาชนบทมาใส่กรอบ

แล้วส่งมอบให้ผู้ใหญ่

ท่านที่มีหน้าที่พัฒนาไทย

เขากินอยู่อย่างไรออกไปดู

----------

521007/บางทราย/ดงหลวง

คำสำคัญ (Tags): #ชนบทไทย
หมายเลขบันทึก: 303763เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2009 00:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • ...ช่วงนี้ยุ่ง กำลังมุ่ง แก้ตัวบทฯ
  • เวลาหมดครั้งหน้าจะมาไม่ได้
  • คนชนบท รอหน่อย นะกรอยใจ
  • แล้วเอาไว้ โอกาส(ชาติ)หน้า ค่อยว่ากัน
  • ...อิอิ

สิงห์ครับ พี่ก็แซวนักการเมืองไทย น่ะครับ หรือนักบริหารราชการระดับสูงๆที่..อิอิ รู้ๆกันนะ

น้องสิงห์กับพี่ลุยชนบทมานานเรารู้ดีว่านักการเมืองและนักบริหารระดับสูงๆนั้น พูดจาหวานๆ กับชาวบ้านแต่การทำจริง การสนับสนุนจริงๆอีกเรื่องหนึ่ง แม้ว่าเราจะรู้ว่าเงื่อนไขที่จะทำอะไรนั้นมันก้ไม่ง่ายอย่างพูด  แต่อย่าหลอกชาวบ้าน หรือไม่เดินเข้าไปคุยไปฟังชาวบ้านเขาบ้าง

สวัสดีค่ะพี่บางทราย

อ่านแล้วยิ้ม....เลยค่ะ

พี่ชายเข้าใจทำ... ว่าแต่จะเอาชนบทไปใส่กรอบ...ส่งมอบให้ "ผู้ใหญ่" เกรงว่าเขาจะรับ...แต่ไม่เคยรู้ว่า ... เราหมายถึง "อะไร" น่ะสิคะ

มิยิ่งยุ่ง...ทำให้เกิดวัฒนธรรม "ส่งมอบ" อีกหรือ

พี่สบายดีนะคะ

รักษาสุขภาพด้วยค่ะ

(^___^)

ภาพที่เคยนำไปฝาก พี่ เป็นภาพบนยอดเขาคิชฌกูฐ จ.จันทบุรีค่ะ

สวัสดีจ่ะน้องสาว ใครบอกไม่มีราก รากยาวเชียวหละ อิอิ

เอาชนบทไปใส่กรอบให้ท่าน จะได้นึกถึงคำมั่นสัญญาที่ไปพูดไว้บ้าง ไม่ใช่ใช้เวลาหมดไปกับเรื่องอื่นจนไม่มีเวลาให้กับยายไฮคนที่ 2 ถึงยายไฮคนที่หมื่น คนที่แสน  อิอิ แซวน่ะน้องสาว

พี่เคยไปเขาแห่งนี้มานานแล้ว ไม่ไม่เห็นมุมมนี้ครับ มีญาติเขาศรัทธาที่นี่มากครับมาเป็นประจำเลยครับ  พี่สบายดีครับ ขอบคุณครับ

อ่านบันทึกพี่แล้วพาลนึกไปถึงเรื่องนี้ครับ

เอามาเล่าให้พี่ฟัง (แต่ เอ พี่น่าจะเคยได้ยินแล้วนะ...)

 ...

แวะมาเยี่ยมครับ

...

สมัยนึงผมเป็นนักพัฒนาทำงานในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง

หมู่บ้านอยู่ห่างจากตัวเมืองไม่มาก ผมจึงใช้มอเตอร์ไซด์ขับไป-กลับ ระหว่างที่พักกับหมู่บ้าน จะเรียกว่านักพัฒนาแบบไปเช้าเย็นกลับก็ได้

ตามสูตรของนักพัฒนา เมื่อเข้าหมู่บ้านก็ต้องไปค้นหาปัญหาของหมู่บ้านให้พบเพื่อทำการแก้ไข ผมก็ทำตามนั้น...

เข้าหมู่บ้านไปก็รู้จักกับลุงคนนึง อัธยาศัยดี ก็เข้าไปคุยกะแกและก็ถามว่า

"ในฐานะที่ลุงเป็นลูกบ้านหมู่บ้านนี้ ลุงมีปัญหาอะไรบ้าง"

แกนั่งคิดพักใหญ่ก็ยังหาคำตอบไม่ได้

ลุงคิดออกหรือยัง ผมถามลุงหลังจากลงเรือนแกไปพักใหญ่เพื่อไปคุยกับชาวบ้านคนอื่น

แกส่ายหัวบอกคิดไม่ออก ตอบไม่ได้ว่าปัญหาของแกคืออะไร

เย็นแล้วผมต้องออกจากหมู่บ้าน เพราะมีนัดดริ้งในเมือง ก็บอกแกว่า งั้นฝากลุงคิดหน่อยนะ เดี๋ยวพรุ่งนี้ผมจะเข้ามาเอาคำตอบ

รุ่งขึ้นผมเข้าหมู่บ้านสายเกือบเที่ยง เพราะเมื่อคืนหนักไปหน่อย

ถึงหมู่บ้านก็ตรงรี่ไปบ้านลุง ว่าไงลุงคิดออกหรือยัง ผมถามลุงหลังจากทักทายเสร็จ สีหน้าก็หม่น ๆ พิกลแล้วส่ายหัวเหมือนเมื่อวาน

"คิดไม่ออกหวะไอ้หนุ่ม..." แกว่างั้น ผมก็ใจเย็น เลยบอกกะแกว่า ไม่เป็นไร ผมฝากลุงคิดเป็นการบ้านอีกวันละกัน พรุ่งนี้ผมจะมาใหม่ พรุ่งนี้ให้ได้คำตอบนะลุงนะ...

ว่าแล้วผมก็ขับรถออกจากหมู่บ้านเพื่อพักผ่อนเพราะมีอาการกำเริบจากเมื่อคืน

รุ่งขึ้นผมเข้าหมู่บ้านแต่เช้า เห็นลุงนั่งอยู่หน้าบ้าน เหมือนว่าจะรอผม

วันนี้ลุงดูอิดโรยเหมือนคนไม่ได้นอน ผมถามแกว่า ลุงคิดออกหรือยัง

เออ! ไอ้หนุ่มลุงคิดออกแล้ว ผมยิ้ม นึกในใจว่า ได้คำตอบแล้ว จะได้เริ่มทำงานซะที

อะไรหละลุง ผมถาม

"...กูรู้แล้วปัญหากูคืออะไร ปัญหาของกูก็มึงนี่แหละ ไอ้ห่าทำกูนอนไม่หลับมาสองคืนแล้ว มึงนี่แหละตัวปัญหา..."

จ๊ากสสสส์  น้องหนาน......

เรื่องเล่าชนบทมีมากมาย ทั้งที่เกิดจากตัวนักพัฒนาเอง ซึ่งมักเป็นคนภายนอกที่มีความอยากทำงานกับชาวบ้าน อย่างพี่..

อาจารย์ อคินจึงเขียนความรู้เรื่อง "คนนอก" น่าสนใจมากนะครับ

พี่ก็มีเรื่อง..ที่น้องหนานอาจจะฟังมาแล้วก็ได้ คือ

นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยมีชื่อแห่งหนึ่งเข้าไปศึกษาชาวบ้านเพื่อทำวิทยานิพนธ์ มหาบัญทิต ในประเด็นที่ว่า ชาวบ้านมีวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องลึกซึ้งกับศาสนา จึงไปศึกษาว่าชาวบ้านมีความเข้าใจมากน้อยแค่ไหน

 

ก็ทำแบบสอบถามหนามากไปสัมภาษณ์ชาวบ้าน

นักศึกษาคนนั้นท่าทางนอบน้อม เดินไปหาชาวบ้านเป้าหมาย

เจ้าของบ้านเป็นยายก็เชิญนักศึกษาขึ้นบ้าน..แล้วก็คุยกันว่ามาทำไม..ทำอะไร..ฯ

นักศึกษาก็พยายามอธิบายวัตถุประสงค์ที่มา....

แล้วเริ่มสัมภาษณ์คุณยายว่า

นักศึกษา: คุณยายรู้จักคำว่าเมตตาไหม ลองอธิบายให้ผมฟังหน่อยซิว่าแปลว่าอะไรครับ

คุณยาย: ทำท่าทาง งง งง.. แล้วก็พูดพึมพำอะไรนักศึกษาฟังไม่รู้เรื่อง  ระหว่างนั้น คุณยายก็เรียกเด็กๆในบ้านให้เอาน้ำมาให้นักศึกษาดื่ม..

นักศึกษา: งั้นถามใหม่ครับคุณยาย.. คุณยายเข้าใจคำว่า กรุณาไหม  ช่วยอธิบายให้ผมฟังหน่อย....

คุณยาย: แสดง อาการ งง  งง...

นักศึกษา: คุณยายเข้าใจว่าอย่างไรก็อธิบายไปเลยครับ ตรงๆ

คุณยาย: หลังจากที่คุยเรื่องอื่นๆมามากแล้ว แต่ประเด็นที่นักศึกษาถามแกไม่ได้ตอบ แต่กลับเรียกเด็กๆมาบอกว่า ...ลูกเอ้ย..นี่ก็เที่ยงแล้ว หาข้าวหาปลามาให้พ่อหนุ่มกินเถิด..เดี๋ยวจะหิวเป็นลมเป็นแล้งไป...

นักศึกษาไม่ได้คำตอบตรงๆจากปากคุณยาย.. แถมอิ่มข้าวอิ่มน้ำไปเรียบร้อยก่อนเดินลงจากบ้านไปแล้วไปสัมภาษณ์ชาวบ้านคนอื่นๆต่อไป แล้วไปนั่งสรุปว่า

คนชนบทยัง "ไม่เข้าใจหลักพุทธศาสตรอย่างแท้จริง มีแต่พิธีกรรมที่ทำกันต่อๆกันมา..."

บทสรุปนี้ไปเข้าหูคนในหมู่บ้านนั้น..

แล้วคุณยายก็เปรยกับคนในบ้านว่า...

ไอ้หนุ่มผู้มีการศึกษาเอ้ย...ไอ้..เมตตา กรุณา...อะไรนั่นน่ะ ยายอธิบายเป็นภาษาของเองไม่ถูกหรอก 

แต่ "น้ำที่เองดื่ม ข้าวที่เองกินอิ่มไปนั่นน่ะ มันไม่ใช่เมตตา กรุณาหรอกหรือ...?"

โธ่ โธ่เวรกรรมประเทศชาติ ที่มีพวกมีความรู้แบบนี้ขึ้นไปปกครองบ้านเมือง...

โห...

พี่ได้ใจมาก ขอยืมไปใช้ต่อนะครับ...

ผมคิดว่าผมก็น่าจะเคยเปิ่นแบบนักศึกษาคนนี้เมื่อคราวไปทำวิจัยที่บ้านหนองเต่า กับพ่อหลวงจอนิครับ

น้องหนาน  คนทำงานกับชาวบ้านมานานก็ไม่ใช่ว่าจะร้อยเปอร์เซนต์ ผิดพลาดก็บ่อยไป..แต่คุยบ่อยๆ ฟังบ่อยๆ ใกล้ชิดบ่อยๆ เราก็เข้าใจการกระทำมากกว่าคำอธิบายอีกครับ ข้อสรุปที่ใครๆพูดถึงว่า ชาวบ้านเขาเป็น practical เราซิเป็น intellectual

คนที่มีกระบวนวิธีเข้าใจชาวบ้านมากๆคือพวกนักมานุษยวิทยา ในฐานะที่เราเป็นคนนอก แล้วไปทำงานกับชนบท พี่จึงพยายามศึกษาเรื่องราวของเขา แต่ก็ไม่ถึงแก่นในสุด เพราะเรายังเป็นคน สามโลก คือโลกเมือง โลกชนบท และโลกในอุดมคติ อิอิ

เพียงแต่ศรัทธาที่จะทำงานกับชนบทเท่านั้น

น้องหนานเป็นชนเผ่าย่อมเข้าใจเรื่องราวของชนเผ่ามากกว่าคนนอกมากมายนัก

พ่อหลวงจินอนี่สุดยอดจริงๆ

ขอบคุณนะคะ ที่แบ่งปัน

ที่บ้านจะเป็นแบบวิถีกึ่งเมืองกึ่งชนบทนะคะ ยังชอบใจอยู่คะ

น้องประกายคนเก่ง  คนที่มีภูมิหลังแบบกึ่งเมืองกึ่งชนบทนั้นจะได้เปรียบในมุมมองและรากเหง้า เราผ่านชนบทเป็นเบ้าหลอมและเมื่อเรามาอยู่ที่ปัจจุบันโลกทัศน์เราก็กว้างกว่าคนที่ไม่มีเบ้าหลอมแบบนี้น่ะครับ

ไม้ไผ่ที่ชาวไทโซ่เอามาขัดสานเป็นฝาบ้านนั้นเป็นไม้ไผ้พิเศษ ที่ดงหลวงเรียก "ไผ่เฮี้ย" ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษในการใช้เอามาสาน และหายากมากแล้วในปัจจุบัน ที่ดงหลวงจะมีที่ยอดเขา ตามชายแดนต้องนำเข้ามาจากลาว ทราบว่ากรมป่าไม้กำลังศึกษาและขยายพันธุ์ไม้ไผ่ชนิดนี้อยู่ครับ

 

ในใจอยากอยู่ไนชนบท อยากทำงานกับชาวบ้าน แต่ไม่มีโอกาส เพราะตอนเด็กอยู่ในชนบทตลอด อิจฉาพี่ๆ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท