การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย งานวิจัยในชั้นเรียนที่ตกสำรวจ


สายของวันนี้ผมมีโอกาสพลิกดูแฟ้มสะสมงานที่ผ่านมาในอดีต ได้พบกับบทความชิ้นนี้ของผมที่เขียนไว้นานแล้ว..เมื่อสิบปีที่ผ่านมา

มีคนขอให้ผมเขียนบทความเกี่ยวกับการเรียนการสอนให้ไปลงในวารสาร ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งผมก็เลยเขียนเรื่องนี้ส่งไป..ผลก็คือเขาส่งต้นฉบับกลับ..ไม่ได้รับการตีพิมพ์..ก็เลยเก็บงานชิ้นนี้ไว้ในแฟ้ม..โชคดีที่พิมพ์ต้นฉบับไว้จึงนำมาเขียนใหม่..ใส่เรื่องของหลักสูตรปี 2544 เข้าไป ผสมปนเปกันพอได้ข้อคิดและประสบการณ์..ไว้ให้กับเพื่อนครูที่สนใจทำงานวิจัยกันได้บ้าง..

เรื่องนี้ต้องขอบคุณนวัตกรรม Blog ที่ทำให้ผมได้มีโอกาสเป็นบรรณาธิการวารสารทาง
วิชาการเป็นส่วนตัว..หยิบเรื่องเก่านำมาเล่าใหม่ใน Go to know ขอบคุณจริง ๆ

   

         การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย

              การจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและมีพฤติกรรมประชาธิปไตย  เป็นจุดประสงค์ที่สำคัญของหลักสูตรและแผนการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมฉบับปัจจุบัน ที่มีจุดประสงค์ให้มีการจัดการเรียนการสอน  มุ่งเน้นบรรยากาศและกิจกรรมสร้างลักษณะนิสัย  พฤติกรรมประชาธิปไตยในชีวิตประจำวัน

              หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ได้กำหนดจุดหมายซึ่งเป็นมาตรฐานการเรียนรู้  ให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เกี่ยวกับประชาธิปไตย  การเป็นพลเมืองดี การยึดมั่นในวิถีชีวิตประชาธิปไตยในสาระที่ 2ของสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ไว้ว่า

            “ ปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี ตามกฎหมาย ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข เข้าใจระบบการเมืองการปกครอง ในสังคมปัจจุบัน  ยึดมั่น ศรัทธาและธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย  อันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข “

 แนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตย

            ประชาธิปไตยในแง่ของการเมืองการปกครองนั้น  จรูญ  สุภาพ ได้ให้ความหมาย ไว้ว่าเป็นระบบการเมืองที่ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง  เพื่อให้เกิดการปกครองของประชาชน  โดยประชาชนเพื่อประชาชน

            หลักการของระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย  มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้

  1. หลักความเสมอภาค หมายถึง ความเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์และเท่าเทียมกันในฐานะคน  เป็นสมาชิกของสังคมเช่นเดียวกัน
  2. หลักสิทธิเสรีภาพและหน้าที่  หมายถึง อำนาจหรือประโยชน์ของบุคคลซึ่งกฎหมายรับรองและคุ้มครองให้บุคคลที่เป็นประชากรของรัฐ  โดยที่สิทธิเสรีภาพและหน้าที่เป็นของคู่กัน
  3. หลักนิติธรรม หมายถึง การยึดถือกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ กติกา ของประเทศ
  4. หลักการยอมรับเสียงข้างมาก  โดยใช้เสียงข้างมากในการตัดสินปัญหาแต่จะต้องไม่ละเมิดสิทธิเสียงส่วนน้อย
  5. หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน  หมายถึง การปกครองต้องได้รับความยินยอมจากประชาชน
  6. หลักแห่งการใช้เหตุผล หมายถึง การอาศัยหลักความเชื่อว่ามนุษย์มีความเชื่อว่ามนุษย์มีความสามารถและสติปัญญาในการปกครองดูแลตนเอง

             ปรีชา  หงษ์ไกรเลิศ  ได้กล่าวถึง การสร้างประชาธิปไตยให้เกิดกับประชาชนไว้ว่า

            “ ความเชื่อความสำนึกทางด้านการเมืองของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะถ้าประชาชน ขาดความสำนึกทางด้านการเมืองแล้วย่อมนำไปสู่การทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้เสื่อมสลายไปได้  ความรู้สำนึกทางการเมืองในที่นี้หมายถึง ความสนใจ การติดตาม  การมีส่วนร่วม ตลอดจนการปฏิบัติตามหน้าที่พลเมือง  ซึ่งประชาชนจะมีความสำนึกทางการเมืองได้ก็เนื่องมาจากอุดมการณ์นั่นเอง”

            นักวิชาการส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า ประสบการณ์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตยเป็นกระบวนการทางสังคม   ดังนั้นการอบรมกล่อมเกลาทางด้านการเมืองที่ดีที่สุดก็คือ อาศัยวิธีการทางด้านปฏิบัติ คือ การให้ประชาชนค่อยเรียนรู้โดยมีส่วนร่วมทางด้านการเมือง  การวิพากษ์วิจารณ์การดำเนินงานของรัฐบาล  ตลอดจนการติดตามการปฏิบัติงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาล

          ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศที่เจริญแล้ว  ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทางด้านการเมือง  โดยมีความคิดว่า  สิ่งสำคัญของการจัดการศึกษาคือ การนำเด็กเข้าสู่ความรับผิดชอบต่อสังคม  พัฒนาทักษะและความเข้าใจในการมีส่วนร่วมทางสังคม  ตระหนักในปัญหาสังคมและชุมชน (สุรศักดิ์  หลาบมาลา 2533 : 19)

 ขั้นตอนในการดำเนินงาน

             การพัฒนาเจตคติประชาธิปไตยในครั้งนี้  ได้ดำเนินงาน ดังนี้

          

                  ปีการศึกษา 2541                           ปีการศึกษา 2542

                  การวิเคราะห์ข้อมูล                           ออกแบบพัฒนา

                  พื้นฐานทางด้าน                              พัฒนาผู้เรียนและ

                  ประชาธิปไตยของ                            นำไปใช้ รวมทั้ง

                  นักเรียน                                            ประเมินผล

  

  1. ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียน  ในปีการศึกษา  2541 ผู้สอนได้ทำการประเมินสภาพพื้นฐานพฤติกรรมของนักเรียน  โดยทำการสุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนวิชา ส 032 การปกครองไทยจำนวน 55 ตัวอย่าง  เพื่อทำการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสภาพการจัดบรรยากาศประชาธิปไตยของโรงเรียนและการเข้าร่วมกิจกรรมประชาธิปไตย  พบว่า มีการจัดบรรยากาศเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย  แหล่งค้นคว้า ข่าวสารทางด้านการเมืองอยู่ในระดับปานกลางนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมทางด้านประชาธิปไตยอยู่ในระดับปานกลาง (ดูรายละเอียดในตารางที่ 1)

 ตารางที่ 1 แสดงการมีส่วนร่วมกิจกรรมประชาธิปไตยของนักเรียน

 

 

                รายการ

 

 

มาก

 

ปานกลาง

 

น้อย

 

น้อยมาก

  1. การติดตามข่าวสารต่าง ๆ ทางด้านการเมืองของประเทศ
  2. การติดตามข่าวสารของจังหวัด พชรบุรีและท้องถิ่น
  3. มีความรู้เกี่ยวกับการเมืองภายในประเทศ
  4. ความสนใจการเลือกตั้งคณะกรรมการนักเรียน
  5. ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของนักเรียน
  6. ปฏิบัติตนตามหน้าที่พลเมืองที่ดี
  7. ปฏิบัติตนตามข้อตกลงร่วมกันของกลุ่มและที่ประชุมร่วมกันของสมาชิก
  8. ความสนใจในการไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งการเมืองในระดับต่าง ๆ
  9. ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมของห้องเรียนและโรงเรียน
  10. ความร่วมมือกับชุมชนและท้องถิ่น

 

 3.63
 3.63 
1.81
20.00
25.45
36.36
60.00

94.54

49.09
 7.27

89.09
63.63
81.81
63.63
72.72
56.36
32.72

  5.45

 50.09
65.45

 9.09
32.72 
16.36 
16.36   1.81  7.27  7.27

   -

   - 
20.00

    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
   
    -
   
    -
 7.27

 

2.  กำหนดพฤติกรรมประชาธิปไตยที่ต้องการ   ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชา

ส 031 การปกครองของไทย  ผู้สอนได้กำหนดพฤติกรรมประชาธิปไตยที่ต้องการพัฒนา ได้แก่เจตคติประชาธิปไตย   ซึ่งหมายถึง  ความรู้สึกเชื่อ ศรัทธาต่อการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย  พร้อมที่จะมีวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย

3. การเลือกกิจกรรมสร้างเสริมพฤติกรรมประชาธิปไตย  ในการเลือกกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมเจตคติประชาธิปไตย  ผู้สอนได้วิเคราะห์ออกมาเป็นการจัดกิจกรรมได้ ดังนี้

                3.1 การติดตามข่าวสารทางด้านด้านการเมือง

                3.2 การศึกษาชุมชน

                3.3 การอภิปรายกลุ่ม

                3.5 การจำลองสถานการณ์

                3.6 การจัดกิจกรรมรณรงค์ประชาธิปไตย

                3.7 การมีส่วนร่วมสังเกตการเลือกตั้ง

4.      ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผน  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามที่กำหนดไว้ในแผนการเรียนการสอนตามความเหมาะสม   ด้วยกระบวนการคิดและกระบวนการกลุ่ม

5.      การประเมินผล  เพื่อให้ทราบผลการพัฒนาพฤติกรรมประชาธิปไตย  ผู้สอนได้สร้างแบบวัดเจตคติประชาธิปไตย  เป็นแบบสอบถามประมาณค่า (rating scale)  จำนวน 30 ข้อ  โดยกลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนที่เรียนวิชา 031 การปกครองของไทย จำนวน 20 ตัวอย่าง โดยทำการวัดก่อนการสอนแล้วเปรียบเทียบผลหลังการสอน ตามแบบแผนการวิจัยแบบOne – Group Pretest – Posttest  Design  ผลการศึกษาพบว่า  นักเรียนมีเจตคติประชาธิปไตยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ดังตารางที่ 2

             ตารางที่ 2 เปรียบเทียบเจตคติประชาธิปไตยของนักเรียนก่อนและหลังการเรียน

 

การทดสอบ

X

S.D.

t

ก่อนการเรียนการสอน

 

หลังการเรียนการสอน

113.05

 

121.20

5.277

 

6.423

 

5.831**

 

            **   มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 สรุป

จากการพัฒนาจะเห็นได้ว่า  การจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียน  ควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่มและมีส่วนร่วมในการศึกษาวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย  เข้าร่วมกิจกรรมประชาธิปไตย  ซึ่งสอดคล้องกับหลักการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองแบบประชาธิปไตย

 

เอกสารอ้างอิง

 

ปรีชา  หงษ์ไกรเลิศ. “ความสำนักทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย” แนวทาง

            ประชาธิปไตย. เอกสารเผยแพร่ข้อมูลความรู้เพื่อเสริมสร้างอุดมการประชา-

            ธิปไตย. กรุงเทพมหานคร,2524”

วิชาการ. กรม, คู่มือการเรียนการสอนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ระดับ

ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2541.

            สุรศักดิ์  หลาบมาลา. “เขาสอนประชาธิปไตยกันอย่างไร” สารพัฒนาหลักสูตร. 10 (100) : 29 – 32 กรกฏาคม 2533.

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 304599เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2009 21:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณ go to know ที่เปิดพื้นที่ให้ผม นำเรื่องเก่าในอดีตมาเล่าสู่กันฟังครับ

ขออภัยตารางที่ 1 ก่อน save พิมพ์ตัวเลขตรงครับ..แต่พอ save..เคลื่อน....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท