สุขภาพ; มิติใน พรบ.สุขภาพแห่งชาติ


สวัสดีทุกท่าน

ดีใจจังเลย อย่างน้อยก็มีการแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นแล้ว Theme การประชุมของเราจะชัดขึ้นเรื่อยๆ หากสมาชิกได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างทั่วถึง กว้างขวาง

ตอนนี้ อยและลองวิเคราะห์ากให้พวกเราลองทบทวน พระราชบัญญัติ สุขภาพแห่งชาติ และธรรมนูญ ที่เพิ่งผ่าน ครม มาศึกษาดู ใหชัดเจนว่า

ก. โดยนัยของ พรบ สุขภาพ นั้น คำว่า "สุขภาพ" กินความกว้างแค่ไหนอย่างไร?

ข. ลองวิเคราะห์ มิติต่างๆ ของสุขภาพ

ค. ทำ Mind Map เพื่อแจกแจงดูว่า การที่จะบรรลุสุขภาพตามความหมายที่ระบุ ใน พรบ จะต้องมีระบบรองรับอย่างไร?

ง. ในระบบรองรับที่จะขับเคลื่อนประชากรสู่สุขภาพที่คาดหวังนั้น มีองค์ประกอบอะไรบ้าง และองค์ประกอบนั้นสัมพันธ์กันอย่างไร? มีใคร(หมายรี่วมทั้งระดับปัจเจก ระดับกลุ่ม ระดับองค์กร หรือระดับสถาบัน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมถึงภาคประชาชนที่มีบทบาทเกี่ยวข้อง) ลองแจกแจงออกมาดู และ

จ. โยงให้เห็นความสัมพันธ์ขององค์ประกอบเหล่านนั้นในเชิงระบบ พร้อมทั้งระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ลองคิดดูนะครับ พอเราได้กรอบแนวคิดกว้างๆนี้แล้ว เราลองนำไปวิเคราะห์สถานการณ์ในพื้นที่ที่เรารับผิดชอบแล้วเราจะได้เห็นถึงระบบสุขภาพชุมชน ในบริบทของเราเอง ค่อ ยๆ ดูไป วิเคราะห์ไป แล้ว เรามาจัดเวทีสังเหคระห์บทเรียนร่วมกันเป็นระยะๆ

อีกเรื่องหนึ่ง ใครที่สามารถ Search พลงประกอบภาพยนต์เรื่อง สิบห้าค่ำเดือนสิบเอ็ด ลองดาวน์โหลดมาฟังดู แล้วคิดอีกนิดหนึ่งว่า Theme ของเพลงนั้น เกี่ยวข้องกับกระบวนการแก้ปัญหา หรือไม่ อย่างไร และในเนื้อหาของเพลงนั้นมีข้อคิดใดที่เราควรนำมาใช้ และมีข้อคิดใดที่อาจไม่เหมาะสมกับกระบวนการคิดแก้ปัญหาในสถานการณ์โลกาภิวัตน์

ชนินทร์

หมายเลขบันทึก: 304682เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2009 07:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

5555 ไม่มีเสียงตอบรับเลย คงยุ่งกันอยู่ ว่างๆช่วยแสดงความคิดเห็นกันหน่อยนะครับ เหล่าสมาชิก ส.ม

ตอนนี้ประเด็นร้อนอีกเรื่องหนึ่ง คือปัญหาที่เกี่ยวกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ที่ทำให้เกิดความกังขาในกลุ่มนักลงทุน เพราะคำสั่งศาลปกครอง ทำให้ 76 โครงการที่มาบตาพุดต้องชงักงัน ซึ่งหากไม่มีการแก้ไข อาจมีผลต่อ อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จุดสมดุลของการพัฒนากับการใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้มีผลดีต่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนส่วนใหญ่ เป็นเรื่องสำคัญ และเราต้องแสวงหาทางออกร่วมกัน พวกเราน่าจะได้ศึกษาบทความของ คุณหมอ อำพน จินดาวัฒนะ ที่เขียนลงมติชนเมื่อสองสามวันก่อน ไว้ให้อาจารย์กิตติพงศ์ ได้เอาLink บทความนั้นให้พวกเราอ่านกันต่อไป ได้เรียนให้ คุณหมออำพน ทราบเบื้องต้นแล้ว ว่าจะเชิญท่านมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับพวกเรา พอเราจัดการเรื่อง เวป คอนเฟอเรนซ์ เรียบร้อย ผมจะได้ประสานงานเพื่อจัดเวลาและเรียนเชิญคุณหมออำพน มาพบพวกเราทางเวป คอนเฟอเรนซ์ และ/หรือ มาร่วมวงสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์กับพวกเราต่อไป

ผลกระทบจากการปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรอย่างไม่ระมัดระวัง จะมีผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชากรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ประเด็นปัญหาเหล่านี้ Jefferey D. Sachs ได้เขียนหนังสือ เรื่อง Economics for a Crowded Planet: Common Wealth และเสนอทางออกไว้ ซึ่งพวกเราน่าจะได้อ่านและนำไปศึกษาร่วมกันด้วย ลอง Search ในเน็ต จะมีบทสรุป วิจารณ์หนังสือไว้พอควร

ชนินทร์

เป็นเวที่ที่ดีและสะดวกมากในการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้

แต่วันนี้ยังไม่ต้องการแสดงความคิดเห็นครับ ขอหาเอกสาร พรบ.มาอ่านทบทวนอีกทีแล้วค่อยเข้ามาแสดงความคิเห็นใหม่ครับ

เมื่อวันที่ 7 ต.ค. ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสไปประชุมรับฟังแนวทางการดำเนินงานของโรงพยาบาลชุมชน ให้ผู้อำนวยการ รพ.ชุมชน ได้เข้าใจทิศทางสำหรับการทำงาน ผมได้ฟังการบรรยายของ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ที่เล่าถึงเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ ที่น่าสนใจ และได้โอกาสมาอภิปรายแลกเปลี่ยนใน blog ดังนี้ครับ จาก พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 และ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 ได้ให้ความหมายของสุขภาพที่มีความครอบคลุมมากขึ้น ว่าเป็นภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคมเชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล ซึ่งนั่นหมายถึงว่าสุขภาพไม่ได้หมายถึงการไม่มีโรคเท่านั้น แต่มีความหมายถึงการถึงพร้อมของความสุข หรือที่อาจเรียกว่า สุขภาวะ และอาจจะมีความหมายลึกซึ้งเข้าไปอีกว่าแม้ว่าอาจจะมีโรคแต่คนเราก็อาจมีสุขภาวะได้ ถ้ามีการยอมรับ ปรับตัว และเข้าสู่สมดุล นั่นเท่ากับว่ามีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์(Paradigm) จากสุขภาพที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับโรค มาเป็น สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะ คือต้องมีการคำนึงถึง มิติต่าง ๆ ได้แก่ ทางร่างกายที่เดิมให้ความสำคัญมาก แต่ก็ยังคงต้องเป็นพื้นฐานของสุขภาพ โดยที่ให้ความสำคัญเชื่อมโยงไปยังมิติของด้านจิตใจที่แสดงถึงการรับรู้ของตนเอง มิติด้านสังคมที่แสดงถึงการรับรู้ของผู้อื่น และมิติทางปัญญาเป็นการรวมศูนย์ด้านสุขภาพที่เกี่ยวโยงกับมิติด้านอื่น ๆ โดยที่สุขภาพมีสิ่งที่เอื้ออำนวยหรือปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดขึ้น ได้แก่ ระบบสุขภาพที่ดี(Good system) สิ่งแวดล้อมที่ดี(Good environment and community) การรับรู้และปฏิบัติ(ของบุคคล)ที่ดี(Good perception and behavior) โดยที่ระบบเหล่านี้ต้องเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกระดับ เช่น ต้องมีนโยบายที่ดี มีการวางระบบหรือแผนแม่บทสำหรับพัฒนาระบบบริการ การมีระบบเศรษฐกิจที่ดี การมีระบบการติดต่อสื่อสาร คมนาคมที่ดี การเข้าถึงข้อมูลการได้รับการศึกษาที่ดี โดยที่มีการวัดผลกระทบ(Impact) ที่เกิดขึ้นนำเสนอให้ประชาชนได้รับรู้เพื่อลดปัญหาการขัดแย้ง ที่นำไปสู่กระบวนการยุติธรรม ซี่งผลที่ตามมาอาจทำให้เกิดความเสียหายได้ในระยะยาว ขออนุญาตแลกเปลี่ยนแค่นี้ก่อนนะครับ ส่วนเรื่องเพลงและหนังสือที่ อ.ชนินทร์ แนะนำผมจะพยายาม Search มาเพื่อศึกษาและแลกเปลี่ยนต่อไปครับ

นพ.กสิวัฒน์ ศรีประดิษฐ์

เรียนคุณหมอกสิวัฒน์

ขอบคุณสำหรับข้อคิดเห็น หวังว่าเพื่อนๆ คงจะได้มาอ่านและแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น ดีที่ได้รับฟังความคิดเห็นจากคุณหมออำพนเองโดยตรง เราคงจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับหมออำพนร่วมกันอีกครั้ง

หันกลับมาดูประเด็นความหมายของสุขภาพ ที่กินความมากกว่า "ความไม่เป็นโรค" ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร หากเราย้อนไปถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ท่านสอนว่า "ความไม่เป็นโรค เป็นลาภอันประเสริฐ" และจากที่พระพุทธองค์ทรงเห็นว่า "เกิด แก่ เจ็บ ตาย" เป็นทุกข์ ซึ่งเป็นเหตุให้พระพุทธองค์ ทรงสละทางโลก ออกแสวงหาทางแห่งการบำบัดทุกข์ ใช้กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ เช่นการทำทุกขกริยา ซึ่งเป็นวิถีที่โยคีใช้ จนมาตรัสรู้อริยสัจจสี่ ทำให้เราได้หลักและกระบวนการคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ และหากเราวิเคราะห์บทธรรมะ ที่ทรงสอน จะเห็นว่า จะมีผลต่อสุขภาพ โดยตรง หรือโดยอ้อม ทั้งสิ้น ยุคแรกของการเผยแพร่ พระพุทธองค์ใช้หลักธรรม สอนให้คนปฏิบัติ เพื่อการพ้นทุกข์โดยเฉพาะจากเหตุความเจ็บป่วยที่ทำให้เกิดการตายก่อนวัยอันควร ทำให้จุดเน้นสุขภาพ อยู่ที่ "ความไม่เป็นโรค" เพราะในสมัยนั้น โรคติดเชื้อเป็นปัญหาสำคัญ และแพร่เร็ว "เหมือนไฟลามทุ่ง"

แต่หากเราลองศึกษาหลักธรรมะให้มากไปกว่าการศึกษา พุทธประวัติ เอาแค่ลองวิเคราะห์คำ "แผ่เมตตา" ทั้งแผ่ให้ผู้อื่น และ แผ่ให้ตัวเอง จะเห็นได้ว่า พระพุทธองค์ได้สอนให้เรามองทั้งทุขภาวะ และสุขภาวะ (ลองไปพิเคราะห์ดูเอง) ทั้งยังทรงสอนแนวทางไว้ด้วย จะเห็นได้จากวรรคสุดท้ายของการแผ่เมตตาให้ตนเอง ที่ว่า "ขอให้ตัวข้าพเจ้า จงมีความสุข ปราศจากทุกข์ ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความเดือดร้อน ไม่มีความลำบาก ปราศจากโรคภัย รักษาตนอยู่เถิด" คำว่า รักษาตนอยู่เถิด นั้น เป็นเรื่องที่เราต้องทำเอง ท่าน ว. วชิรเมธี พูดในรายการ วูดดี้ เกิดมาคุย ไว้ว่า ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่เน้นการทำเอง พึ่งตนเอง ไม่ใช่การขอ ดังที่พระพุทธเจ้าสอนว่า "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน"

สถานการณ์สุขภาพประชากรตอนนี้ มีลักษณะเป็นทวิภาระโรค ประกอบกับความซับซ้อนของสถานการณ์จากโลกาภิวัตน์ ทำให้ ปัญหาและกระบวนการแก้ปัญหาสุขภาพ จะต้องปรับเปลี่ยนจากการขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยี มาเป็นการขับเคลื่อนโดยประขาขนและชุมชน (Community Driven Development) ที่มาที่ไปของแนวคิดและวิธีการ เราจะได้แลกเปลี่ยนกันระหว่างการปฐมนิเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การทบทวนสมรรถนะของตนเอง เพื่อจะสามารถทำหน้าที่ ตามบทบาทที่สำคัญของการสาธารณสุขใหม่ (Essential Public Health Functions)

วันนี้ขอแลกเปลี่ยนแค่นี้ก่อน แล้วเจอกัน 16-18 ต.ค นี้

ชนินทร์

http://daraoke.gmember.com/idxplaymv.do?mv_id=0200374201

 

  


รวมศิลปิน

 

 

 

 

จะสั่งอะไรกินจะบินไปเที่ยวไหน 

 

จะออกกำลังกายหรือนอนสบายในห้องแอร์

 

จะเลือกเล่นดนตรีเล่นเจทสกีหรือทอดแห

 

อะไรก็แล้วแต่ขอให้เชื่อในสิ่งที่ทำ

 

ทำแล้วได้ดีชีวีจะแจ่มใสจะเลือกเชียร์ข้างไหน

 

ก็แล้วแต่ใจจะศรัทธาไม่พร้อมจะรักกัน

 

เลื่อนวันเป็นปีหน้าอะไรก็เข้าท่า

 

ขอให้เชื่อในสิ่งที่ทำเชื่อในสิ่งที่ทำ

 

ทำในสิ่งที่เชื่ออย่างอื่นที่เหลือ

 

ก็แล้วแต่ฟ้าจะพาไปสิบห้าค่ำเดือนสิบเอ็ด

 

การบ้านไม่เสร็จอยากดูบั้งไฟ

 

อะไรไม่เสียหายเลือกทำกันได้ถ้าเชื่อว่าดี

 

จะสั่งอะไรกินจะบินไปเที่ยวไหน

 

จะออกกำลังกายหรือนอนสบายในห้องแอร์

 

จะเลือกเล่นดนตรีเล่นเจทสกีหรือทอดแห

 

อะไรก็แล้วแต่ขอให้เชื่อในสิ่งที่ทำ

 

ทำแล้วได้ดีชีวีจะแจ่มใสจะเลือกเชียร์ข้างไหน

 

ก็แล้วแต่ใจจะศรัทธาไม่พร้อมจะรักกัน

 

เลื่อนวันเป็นปีหน้าอะไรก็เข้าท่า

 

ขอให้เชื่อในสิ่งที่ทำเชื่อในสิ่งที่ทำ

 

ทำในสิ่งที่เชื่ออย่างอื่นที่เหลือ

 

ก็แล้วแต่ฟ้าจะพาไปสิบห้าค่ำเดือนสิบเอ็ด

 

การบ้านไม่เสร็จอยากดูบั้งไฟ

 

อะไรไม่เสียหายเลือกทำกันได้ถ้าเชื่อว่าดี

 

ทำแล้วได้ดีชีวีจะแจ่มใสจะเลือกเชียร์ข้างไหน

 

ก็แล้วแต่ใจจะศรัทธาไม่พร้อมจะรักกัน

 

เลื่อนวันเป็นปีหน้าอะไรก็เข้าท่า

 

ขอให้เชื่อในสิ่งที่ทำเชื่อในสิ่งที่ทำ

 

ทำในสิ่งที่เชื่ออย่างอื่นที่เหลือ

 

ก็แล้วแต่ฟ้าจะพาไปสิบห้าค่ำเดือนสิบเอ็ด

 

การบ้านไม่เสร็จอยากดูบั้งไฟ

 

อะไรไม่เสียหายเลือกทำกันได้ถ้าเชื่อว่าดี

 

เชื่อในสิ่งที่ทำทำในสิ่งที่เชื่อ

 

อย่างอื่นที่เหลือก็แล้วแต่ฟ้าจะพาไป

 

สิบห้าค่ำเดือนสิบเอ็ดการบ้านไม่เสร็จ

 

อยากดูบั้งไฟอะไรไม่เสียหาย

 

เลือกทำกันได้ถ้าเชื่อว่าดีเชื่อในสิ่งที่ทำ

 

ทำในสิ่งที่เชื่อเชื่อในสิ่งที่ทำ

 

อย่างอื่นที่เหลือก็แล้วแต่ฟ้าจะพาไป

   

 

http://daraoke.gmember.com/idxplaymv.do?mv_id=0200374201

 

  


รวมศิลปิน

 

 

 

 

จะสั่งอะไรกินจะบินไปเที่ยวไหน 

 

จะออกกำลังกายหรือนอนสบายในห้องแอร์

 

จะเลือกเล่นดนตรีเล่นเจทสกีหรือทอดแห

 

อะไรก็แล้วแต่ขอให้เชื่อในสิ่งที่ทำ

 

ทำแล้วได้ดีชีวีจะแจ่มใสจะเลือกเชียร์ข้างไหน

 

ก็แล้วแต่ใจจะศรัทธาไม่พร้อมจะรักกัน

 

เลื่อนวันเป็นปีหน้าอะไรก็เข้าท่า

 

ขอให้เชื่อในสิ่งที่ทำเชื่อในสิ่งที่ทำ

 

ทำในสิ่งที่เชื่ออย่างอื่นที่เหลือ

 

ก็แล้วแต่ฟ้าจะพาไปสิบห้าค่ำเดือนสิบเอ็ด

 

การบ้านไม่เสร็จอยากดูบั้งไฟ

 

อะไรไม่เสียหายเลือกทำกันได้ถ้าเชื่อว่าดี

 

จะสั่งอะไรกินจะบินไปเที่ยวไหน

 

จะออกกำลังกายหรือนอนสบายในห้องแอร์

 

จะเลือกเล่นดนตรีเล่นเจทสกีหรือทอดแห

 

อะไรก็แล้วแต่ขอให้เชื่อในสิ่งที่ทำ

 

ทำแล้วได้ดีชีวีจะแจ่มใสจะเลือกเชียร์ข้างไหน

 

ก็แล้วแต่ใจจะศรัทธาไม่พร้อมจะรักกัน

 

เลื่อนวันเป็นปีหน้าอะไรก็เข้าท่า

 

ขอให้เชื่อในสิ่งที่ทำเชื่อในสิ่งที่ทำ

 

ทำในสิ่งที่เชื่ออย่างอื่นที่เหลือ

 

ก็แล้วแต่ฟ้าจะพาไปสิบห้าค่ำเดือนสิบเอ็ด

 

การบ้านไม่เสร็จอยากดูบั้งไฟ

 

อะไรไม่เสียหายเลือกทำกันได้ถ้าเชื่อว่าดี

 

ทำแล้วได้ดีชีวีจะแจ่มใสจะเลือกเชียร์ข้างไหน

 

ก็แล้วแต่ใจจะศรัทธาไม่พร้อมจะรักกัน

 

เลื่อนวันเป็นปีหน้าอะไรก็เข้าท่า

 

ขอให้เชื่อในสิ่งที่ทำเชื่อในสิ่งที่ทำ

 

ทำในสิ่งที่เชื่ออย่างอื่นที่เหลือ

 

ก็แล้วแต่ฟ้าจะพาไปสิบห้าค่ำเดือนสิบเอ็ด

 

การบ้านไม่เสร็จอยากดูบั้งไฟ

 

อะไรไม่เสียหายเลือกทำกันได้ถ้าเชื่อว่าดี

 

เชื่อในสิ่งที่ทำทำในสิ่งที่เชื่อ

 

อย่างอื่นที่เหลือก็แล้วแต่ฟ้าจะพาไป

 

สิบห้าค่ำเดือนสิบเอ็ดการบ้านไม่เสร็จ

 

อยากดูบั้งไฟอะไรไม่เสียหาย

 

เลือกทำกันได้ถ้าเชื่อว่าดีเชื่อในสิ่งที่ทำ

 

ทำในสิ่งที่เชื่อเชื่อในสิ่งที่ทำ

 

อย่างอื่นที่เหลือก็แล้วแต่ฟ้าจะพาไป

   

 

ประเสริฐ ตั้งจิตธรรม

ก. โดยนัยของ พรบ สุขภาพ นั้น คำว่า "สุขภาพ" รวมถึงความสมบรูณ์ของ กาย จิต ปัญญา และสังคม เชื่อมโยงอย่างสมดุล

ข. มิติต่างๆ ของสุขภาพ

กาย ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย

จิต ความสามารถของบุคคลที่จะปรับตัวให้มีความสุข อยู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ดี มีสัมพันธภาพอันดีงามกับบุคคลอื่น และดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสมดุลอย่างสุขสบาย รวมทั้งสนองตอบความต้องการของตนเองในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงได้ โดยไม่มีข้อขัดแย้งภายในจิตใจ ไม่เจ็บป่วย

ปัญญา ความรู้ ความเข้าใจ การมีเหตุ/ผล แยกแยะดี/ชั่ว

สังคม กลุ่มคนที่อยู่รวมกัน มีความสัมพันธ์กัน พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีระเบียบกฎเกณฑ์ และความเชื่อถือที่สำคัญๆ ร่วมกัน ตลอดจนมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกันเอง และระหว่างบุคคลกับกลุ่มสังคม

ค. การที่จะบรรลุสุขภาพตามความหมายที่ระบุ ใน พรบ จะต้องมีระบบรองรับ

1.การจัดให้มีหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ

2.การสร้างเสริมสุขภาพ

3.การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ

4.การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ

5.การส่งเสริม สนับสนุน การใช้และการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ

6.การคุ้มครองผู้บริโภค

7.การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ

8.การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ

9.การสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข

10.การเงินการคลังด้านสุขภาพ

เรียน อ.ชนินทร์ ที่เคารพ

ผมขอแลกเปลี่ยนประเด็นแนวความคิดเกี่ยวกับ พรบ. สุขภาพแห่งชาติ ดังนี้ครับ

1.)โดยนัยยะของ พรบ. สุขภาพนั้น คำว่าสุขภาพกินความกว้างมากกว่าเดิมซึ่งเดิมนั้นสุขภาพว่าด้วยเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บ ดูแลโดยเจ้าหน้าทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข เปลี่ยนมาเป็น สุขภาพว่าด้วยสุขภาวะ ซึ่งสุขภาพ หมายถึง ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล จะเห็นว่ามีทางปัญญาเข้ามาเกี่ยวข้อง และผู้ที่เกี่ยวข้องนั้นก็ไม่ใช่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างเดียว เป็น

หลายภาคส่วน

2.)มิติสุขภาพมี 4 มิติ

1.ทางกาย หมายถึงมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน

2.ทางจิต หมายถึง มีสุขภาพจิตที่ดี (Mental Health)

3.ทางปัญญา หมายถึง ความรู้ทั่ว รู้เท่าทันและความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผลแห่งความดี

ความชั่ว

4.ทางสังคม มีความเป็นอยู่ทางสังคมที่ดี

ระบบสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคม และเป็นส่วนหนึ่งของระบบป้องกันประเทศ 3.) ทำ My Maps การที่จะบรรลุสุขภาพดีนั้นต้องประกอบด้วย 1..... ปัจเจกบุคคล ซึ่งประกอบด้วย

1.กรรมพันธุ์

2.พฤติกรรม

3.ความเชื่อ

4.จิตวิญญาณ

5.วิถีชีวิต

2....สภาพแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย

1.กายภาพ/ชีวภาพ

2.นโยบายสาธารณะ

3.เศรษฐกิจ/การเมือง

4.วัฒนธรรม/ศาสนา

5.ประชากร/การศึกษา

6.ความมั่นคง

7.การสื่อสาร/คมนาคม

8.เทคโนโลยี/องค์ความรู้

และ3....ระบบบริการสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย

1.การจัดให้มีหลักประกันและความคุ้มครองให้เกิดสุขภาพ

2.การสร้างเสริมสุขภาพ

3.การป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ

4.การบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ

5.การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ

6.การคุ้มครองผู้บริโภค

7.การสร้างและเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพ

8.การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ

9.การสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข

10.การเงินการคลังด้านสุขภาพ

4.) ผมฟังเพลง 15 ค่ำ เดือน 11 แล้วจับประเด็นได้เพียงแค่ เชื่อในสิ่งที่ทำ ทำในสิ่งที่เชื่อ ซึ่งความเชื่อนั้นเป็นส่วนหนึ่งของปัจเจกบุคคล ซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพดีหรือไม่ดีก็ได้ บังเอิญผมเคยดูหนังเรื่องนี้มาก่อน ผมคิดว่าคนสร้างหนังอาจจะมีความคิดที่ดูถูกความเชื่อของคนอีสานลุ่มน้ำโขง (ช่วงนั้นมีการเดินขบวนต่อต้านหนังเรื่องนี้ด้วยครับที่หนองคาย)

5.)ผมขอแลกเปลี่ยนประเด็นของ Jeffrey Sachs ที่เขียนเรื่อง Common Wealth; Economics for a Crowded Planet เนื้อหามี 5 หมวด และ 14 บท เกี่ยวกับการจัดการปัญหาของโลกอันแออัด ในแง่มุมของสภาพแวดล้อม ประชากร ความยากจน รวมถึงนโยบายโลกต่างๆ รู้สึกเห็นด้วยกับผู้เขียน เพราะโลกเราทุกวันนี้ก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ยังอยากให้โลกนี้ย้อนกลับไปเป็นเหมือนสมัยก่อน ไม่ว่าจะเป็นชีวิตความเป็นอยู่ การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง การอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติอย่างเหมาะสม การเป็นโลกเกษตรกรรม (แบบดั้งเดิม) แทนที่จะเป็นโลกอุตสาหกรรม การใช้ชีวิตอย่างคนชนบท มีความเป็นอยู่ที่พอเพียง มีการเข้าถึงหลักธรรมคำสอนของศาสนา มีการเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ เห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ถ้าทำได้อย่างนี้โลกคงจะมีความสุขนะครับ นพ.สุพัฒน์ ธาตุเพชร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท