วิพากษ์ระบบของโรงพยาบาลไทย


คิดต่าง ทำต่าง มันอ้างว้าง

แนวคิดใหม่ในการบริบาลผู้ป่วยว่าด้วยระบบยา และระบบการรักษาพยาบาล

ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอม[1] 

 

ยุคนี้ ถือว่าเป็นยุคในการยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง       ทุกโรงพยาบาล  ในประเทศไทย  หรืออาจรวมไปถึงสถานีอนามัย  ผู้ป่วยยังถือว่ามีความสำคัญเสมอ  แต่อย่างไรก็ตาม ภาพการทำงานในการบริบาลผู้ป่วยนั้น   ยังมีความพร่าเบลอ  ไม่ชัดเจน อีกไม่น้อย   โดยเฉพาะการจัดการระบบยาในโรงพยาบาล   ที่จุดเน้น  จะอยู่ที่การดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพ   การจัดการยาที่มีความเสี่ยงสูง การรายงาน ADR หรือ แนวคิดใหม่ล่าสุด Medication Reconciliation[2] ในขณะนี้ ตามโรงพยาบาลต่างๆ    จะมีการทำงานเหล่านี้     กันอย่างเข้มแข็ง หากอยากผ่าน HA แต่อย่างๆไรก็ตาม กิจกรรมทั้งหลายเหล่ายังเป็น Drug oriented เช่นเดิม ยังไม่ใช่ การยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง หรือไม่ได้ใกล้เคียงกับการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมแม้แต่น้อย

การรักษาแบบฉาบฉวยของระบบโรงพยาบาลไทย 

 

การดูแลผู้ป่วยในปัจจุบัน  จะเป็นการดูแลแบบตามเหตุการณ์เฉพาะหน้า  หรืออาจเรียกให้โก้ๆ ว่า   การดูแลแบบ Counter attack คือมีผู้ป่วยมาหาเราก็ให้บริการ (attack)ไป  ตามหน้าที่  ตาม job  หากป่วยหนักก็ให้นอนโรงพยาบาล    ภาวะฉุกเฉินก็รักษากันไป   จ่ายยาให้ไป   นัดครั้งหน้าหากไม่มีอะไรเกิดขึ้นวันนัดค่อยมาเจอกัน   เหมือนกับว่าคนไข้มาเราก็รักษาไป  ซึ่งภาพเหตุการณ์แบบนี้ก็คือ การทำเก้าอี้รอ... ให้ว่าง  นี่มันไม่ใช่การบริบาลผู้ป่วย  แต่เป็นการบริการลูกค้าต่างหาก ซึ่งแนวคิด วิธีการนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง    โดยเฉพาะหากเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่รุนแรง เช่นโรคหัวใจวาย  หัวใจขาดเลือด ลิ้นหัวใจพิการ  ตับแข็ง  ไตวาย ฯลฯ   การจ่ายยาให้ไป แล้วให้คนไข้กลับบ้านไปดูแลตนเอง   นัดครั้งหน้า            ค่อยมาหาหมอใหม่    การให้การรักษาแบบนี้  ผู้เขียนให้ชื่อว่า  การรักษาแบบสุดแท้แต่วาสนา  ส่วนที่ขาดหายไปในการดูแลผู้ป่วยของ

     ระบบโรงพยาบาลก็คือ   ความต่อเนื่อง  ความรับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยเฉพาะราย     ระบบงานจะแบ่งเป็น งานผู้ป่วยนอก  งานผู้ป่วยใน  งานเวชปฎิบัติชุมชน   ทั้งๆ  ที่ก็เป็นผู้ป่วยคนเดียวกันนั้นเอง   มาหาหมอตามนัดก็เป็นผู้ป่วยนอก  พอป่วยหนักนอนโรงพยาบาลก็เป็นผู้ป่วยใน   พออยู่บ้านกลายเป็น งานเวชปฎิบัติชุมชน ระบบงานแบบนี้ขาดความต่อเนื่อง  ไม่มีเจ้าของเคสผู้ป่วยที่แท้จริง

นอกจากนี้  วัฒธรรมการทำงานของระบบราชการยังเน้นรูปแบบ ทำกิจกรรมมากมาย  มีการสร้างภาพ  มีการประชาสัมพันธ์ผลงาน       

         ระบบราชการแบบนี้เองที่ทำให้เกิดปัญหา  เนื่องจากงานที่ทำไม่สามารถประเมินผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจน     ดังนั้นโรงพยาบาลที่โด่งดังมีชื่อเสียงอาจไม่แน่ว่า  จะมีผลลัพธ์ในการทำงานที่ดี     เนื่องจากเน้นกิจกรรมประชาสัมพันธ์กันมากเกินงาม  และยังทำกิจกรรมตามกระแสนิยม   ซึ่งไม่อาจคาดหวังว่าจะได้ผลลัพธ์การรักษาที่ดี เด็ดขาด หากจะทำกิจกรรมให้ได้ผลลัพธ์การรักษาที่ดี   ต้องทำกิจกรรมที่ตอบสนองต่อปัญหาสำคัญของผู้ป่วย   กิจกรรมเหล่านั้น  จึงจะทำให้เกิดผลลัพธ์สุขภาพที่ดี ได้     

ความวังเวงทางวิชาการ 

 

 ซึ่งจุดนี้เองก็เป็นปัญหามากๆในระบบสาธารณสุขไทยเนื่องจาก   ระบบของประเทศไทยมีความวังเวงทางวิชาการ[3] มากๆ.... สืบเนื่องมากจากระบบการศึกษาของไทย  มีปัญหามาช้านานมาก  คนไทยเรียนรู้จากการท่องจำ  คิดเอง  ประยุกต์เองไม่ค่อยเป็น   และที่สำคัญไทยอ่านหนังสือน้อย  และไม่รักการเรียนรู้     ดังนั้นเจ้าหน้าในระบบสาธารณสุขเกือบทั้งหมดอ่านงานวิชาการภาษาอังกฤษไม่เป็น     หรือบางคนอ่านเป็นก็ไม่ยอมอ่าน และสุดท้าย  การทำวิจัยในระบบสาธารณสุขมีการทำกันน้อยมาก   และคุณภาพทางวิชาการของงานวิจัยก็ยังมีปัญหาอีกด้วย

     การทำงานที่เน้นกิจกรรมของงาน  หรือกระบวนการทำงานที่ดี    ฟังดูอาจจะหรูและเร้าใจแต่อย่างไรก็ตาม   การมีกิจกรรมต่างๆมากมาย  อาจไร้ค่า  หากมันไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด และที่สำคัญในระบบโรงพยาบาลประเทศไทย    การประเมินผลงานผ่านผลลัพธ์ของการรักษายังมีอยู่น้อยมากๆ      การประเมินผลงานเหล่านี้   มักพบในการประเมินโรคติดต่อ   หรือประเมินงานอนามัยแม่และเด็กเท่านั้น   ทั้งที่ในปัจจุบันโรคไม่ติดต่อ      ต่างหากที่เป็นปัญหาสำคัญในระบบสาธารณสุขไทย[i]    ดังนั้นการมุ่งเน้นแต่รับรองกระบวนการ(ที่มีงานวิชาการสนับสนุนน้อย)      อาจไม่ทำให้เกิดคุณภาพงานอย่างที่เข้าใจกันก็ได้            ในต่างประเทศเริ่มมีการประเมินผลงานของ โรงพยาบาลผ่านอัตราการเสียชีวิตผู้ป่วย  จำนวนวันนอน      และอัตราการ Admitted ซ้ำกันแล้วกว่า 10 ปี ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยที่ยังไม่มีการประเมินในจุดนี้

      แต่อย่างไรก็ตาม   การประเมินรับรองคุณภาพโรงพยาบาลก็ยังมีความหวังเมื่อผู้เยี่ยมสำรวจเริ่มจะสนใจผลลัพธ์การรักษากันมากแล้ว   และผู้เยี่ยมสำรวจหลายคนเปิดใจกว้างรับกระบวนการที่หลากหลายเพื่อการพัฒนาคุณภาพ   มากขึ้นนั่นเอง     นอกจากนี้ การพัฒนางานวิชาการในโรงพยาบาลเริ่มมีความหวังเนื่องจาก   กระแสความนิยม R2R[4] เริ่มมีมากขึ้น   การวิจัยกับงานประจำนั้นเกื้อหนุนกันได้เป็นอย่างดี   แต่มีหลายคนหลงทางคิดว่า งาน R2R คืองานวิจัยชั้นสอง   คือ      คิดง่ายๆ  ว่าแค่เก็บข้อมูลจากงานประจำ  ก็เป็นงานวิจัย R2R แล้ว   การคิดแบบนี้อันตรายมากๆ    ต่อการพัฒนาคุณภาพของระบบโรงพยาบาลไทย   เนื่องจากเป็นการลดทอนคุณค่าของงานวิจัย   มาให้เทียบเท่ากับงานประจำพื้นๆ        ทั้งที่ความจริงแล้วการทำงานวิจัยไม่ใช่เรื่องยาก   หากได้รับการฝึกฝนอย่างเพียงพอ    การวิจัยที่ดี  ต้องได้องค์ความรู้ใหม่   และมีประโยชน์ต่องานสาธารณสุข


[1] ฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาลอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น  e mail: [email protected]

[2] Medication Reconciliation คือความสอดคล้องต่อเนื่องของรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับ   หากไม่ตรงกันอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้

[3] อ้างโดย นายแพทย์ประเวศ วะสี

[4] R2R คือ Routine to research  คือการพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ


[i] พินิจ ฟ้าอำนวยผล, ณรงค์ กษิติประดิษฐ์, อรพิน ทรัพย์ล้น. อัตราตายระดับจังหวัด พ.ศ.2547. สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย, พ.ศ.2549. 2(11).

หมายเลขบันทึก: 305116เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2009 08:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 23:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ขอแค่การบริการที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส ก็แทบจะหายไข้แล้วครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาชื่นชมบันทึกดี ๆ "คิดต่าง ทำต่าง มันอ้างว้าง"
  • มาปรับมุงมองเป็น ขัดแย้งไม่ใช่ขัดใจ  คิดต่างไม่ใช่ศัตรู เน้นย้ำกับตัวเองทุก ๆ ครั้ง องค์กรจะเข้มแข็งได้เพราะความรัก ความสามัคคี และการทำงานเป็นทีม แต่พวกเรามีเป้าหมายเดียวกัน คือ ทำหน้าที่ที่ตัวเองรับผิดชอบให้ดีที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้ผู้รับบริการพึงพอใจและได้รับผลประโยชน์สูงสุด   "ไม่ทราบว่าพอได้หรือเปล่า"

สวัสดีครับ

การบริการเชิงรุก การป้องกันก่อนเกิด การให้ความรู้ทางสาธารณสุข เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพัฒนาแก้ไข

ทำไมรายการทีวี... เจอคนยากจน คนไม่สบาย ก่อน... ที่บุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแล หรือให้ความช่วยเหลือ จะไปพบเอง บ่อยครั้ง

ถึง อ.ต้อม

คนยากจน คนเจ็บป่วย มีมากมายครับ

บางที รายการทีวีไม่ได้เจอก่อนครับ

แต่คนทุกข์ คนยาก เหล่านี้ งาน ในระบบราชการ ช่วยพวกเขายากครับ

เพราะระบบมันไม่เอื้อ จะช่วยคนทุกข์ยาก

ยกตัวอย่าง เด็กตับแข็ง ระยะสุดท้าย ที่ผมไปดูอยู่

หากสื่อ ไม่ช่วย ตายแน่ครับ

ถ้าไปหมอในโรงพยาบาล หมอนัดให้มาตรวจนอกเวลา เสียค่านอกเวลาเองนะ.....สั่งให้นอนในโรงพยาบาล หมอได้ค่าสั่งรายละ 50 บาท แล้วสั่งจ่ายยาให้ผู้ป่วยแบบฟุ่มเฟือย...หมอได้อะไรจากดีเทลยาล่ะ..สงสัยนะ...แล้วที่หมอบอกว่ารักษาตามอาการนะ....หมายความว่า....วินิจฉัยโรคไม่ถูก....จริงไหมเอ่ย.....มองโลกในแง่ร้ายไปหรือเปล่าเนี่ย....อิ..อิ

ถึงคุณ

 

P

ปริมปราง

ผมเห็นด้วย หลายประเด็น ครับ

 

ว่า การแพทย์ ไม่ควร เป็นพาณิชย์

หากไม่ฟุ่มเฟือย เงินเดือน และเบี้ยเลี้ยงก็พออยู่ได้

แพทย์ อยู่สบาย เภสัชกร ลำบากหน่้อย

ผมเอง เงินเดือน ไม่พอใช้ ก็ ปลูกมะนาวแก้จนเอาครับ 555

 

ถึงคุณ นายศุภรักษ์ ศุภเอม

         พูดถึงรายได้ของเภสัชกรโรงพยาบาลชุมชนว่าน้อย  คงไม่จริงกระมังค่ะ  ถ่อมตัวไปหรือเปล่าค่ะ   เงินเดือน + เงินช่วย+พตส.+ค่าไม่เปิดร้าน  5000 + ค่าเวร + ค่าเหมาจ่ายเวร   รวมแล้วขนาดบรรจุใหม่ในปีนั้น   รายได้ไม่ต่ำกว่า  22,000 - 25,000   บาท   ข้าราชการอื่นๆ   ไม่ถึง 10,000   บาทเลยค่ะ

บังเอิญ ทำงานคนเดียวครับ

ภรรยาเป็นแม่บ้าน

มีรายได้เดือนละเกือบ 3 หมื่นบาท

ก็ลำบากนิดหน่อยครับ

"การรักษาสุดแท้แต่วาสนา" ข้อคิดนี้เห็นด้วยอย่างยิ่งคะ

ค่าเวร + ค่าเหมาจ่ายเวร เภสัชกร

ไม่มี รายรับที่ว่านี้ครับ 555

P

เวียงฟ้า

 

ข้าราชการ มี กฎระเบียบมากมาย

 

แต่ไม่มีกฎ ระเบียบมาบังคับ ให้ โรงพยาบาล

 

รักษาโรค ตาม แนวทางการรักษามาตราฐานเลยครับ

 

เรียกว่า รักษา กันตามอัธยาศัย ถูกผิดไม่รู้

 

 

อยากมีเรื่อง ค่อยฟ้องศาล 555

 

โดยเฉพาะ โรคไต โรคหัวใจ มั่วมาก เต็มๆ ครับ

 

แต่ชาวบ้าน คนจนๆ  จะมีปัญญา รู้ ว่ารักษามั่วหรือไม่?

 

ถึง รู้ ก็ไม่มี แรงกำลังไปฟ้องศาลครับ

ระบบศึกษาของอังกฤษที่เราใช้อยู่ พวกตะวันตกเป็นคนคิด พวกนี้เป็นพวกกินเนื้อ กินอะดรีนาลีนจากเนื้อสัตว์ พวกนี้จะชอบผจญภัย ค้นคว้า และมีความคิดสร้างสรรค์ แต่ใช้กับคนไทยที่เป็นฝั่งตะวันออก ซึ่งเป็นพวกกินพืช กินผัก มีอุปนิสัย เนิบช้า นุ่มนวล ไม่ adventure ทำให้เราได้แต่เพียงท่องจำ ทำเป็นเหมือนว่าเรียนเข้าใจ สอบผ่านไปแล้วไม่นำมาใช้

พอทำงานก็ไม่ค่อยต่างจากตอนเรียนเท่าไหร่ จึงเน้นต้องประชาสัมพันธ์ช่วย จนบางที ชื่อเสียงเกินความสามารถจริง ไปซะอย่างงั้น

ขอบคุณ

นาย ธิติ ปราบ ณ ศักดิ์

สำหรับ ความเห้นดีๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท