day 3 : วางแผนการทำงาน


วันนี้หลังทานข้าวต้มอิ่มแล้วพวกเราก็มาช่วยกันเรียบเรียงข้อมูลจาก family folder ส่วนใหญ่จะมีเพียงรายชื่อ ของแต่ละครอบครัว บางส่วนเท่านั้นที่มีโรคประจำตัวบันทึกไว้ คิดว่าตอนลงชุมชน น่าจะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ช่วยให้รู้จักชุมชนของเราได้ แต่ิอย่างไรก็คงต้องทำงานหนัก เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ

สายๆ ก็ไปพบพี่หนู (ประธานอสม.) ขอความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนงานการสำรวจชุมชนของพวกเรา ที่ได้ร่วมกัน concensuss กันเมื่อคืนนี้ค่ะ ขอท้าวความไปถึงเมื่อคืนกันก่อน

สำหรับกระบวนการทำงานของพวกเรา
ตอนนี้อยู่ที่ขั้นตอนการศึกษาข้อมูลปัญหาของชุมชนที่ต้องการแก้ไข

ซึ่งข้อมูลของชุมชนที่พวกเรารวบรวมมาได้ ณ ตอนนี้ ก็คือ
1. ข้อมูลพื้นฐานสาธารณสุข จากสถานีอนามัย
2.จากการพูดคุยกับพี่ๆ อสม.
3. จากการสังเกตของพวกเราเอง ในช่วงเวลา 3 วันที่ผ่านมา

ในตอนแรกเพื่อนๆในกลุ่ม มีความคิดเห็น สอง แบบ คือ

กลุ่มแรก : คิดว่าปัญหาที่ได้จาก พี่ๆ อสม เพียงพอแล้ว เพราะว่าเป็นตัวแทนประชากรของหมู่บ้าน ซึ่งวิธีนี้
มีข้อดี คือ ประหยัดเวลาในการทำงาน เนื่องจาก พวกเรามีเวลาในการทำงานจริง แค่ประมาณ 3 อาทิตย์เท่านั้น
แต่มีข้อด้อย คือ อาจจะพลาดปัญหาบางอย่างในชุมชนที่่พี่ๆ อสม. ยังไม่เคยทราบมาก่อน เช่น ปัญหาที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องสาธารณะสุข


กลุ่มที่สอง : คิดว่าอยากได้ปัญหาที่มาจากความต้องการของประชากรกลุ่มใหญ่จริงๆ
มีข้อดี คือ ทราบถึงสิ่งที่ปัญหาที่ชุมชนห่วงใยและอยากแก้ปัญหาจริงๆ นอกจากนี้ยัง สามารถค้นหาปัญหาที่ซ่อนอยู่ในชุมชนเพิ่มเติมได้ อีกทั้งยังเป็นการ make relationship ที่ดีกับชุมชนอีกด้วย
ส่วนข้อด้อยของวิธีนี้ ก็คือ เวลา และกำลังคนของเราที่มีอยู่จำกัด

จึงมีการคุยกัน ถกประเด็น ถึงข้อดี ข้อเสีย อธิบายรายละเอียดของแต่ละวิธีการ เหตุผลของแต่ละคน หลายครั้งในกลุ่มต้องย้อนกลับมาถามตัวเองว่า เป้าหมายของการทำงานครั้งนี้คืออะไร และข้อจำกัดของเรา คืออะไร

ในกลุ่มคิดว่าอยากจะลงไปสำรวจชุมชนในทุกๆบ้าน จึงมี plan ไปขอคำแนะนำจาก พี่หนู หัวหน้า อสม.ของพวกเรา ว่าวิธีนี้จะมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับเวลาที่พวกเรามีอยู่

จากนั้น เราก็มาประชุมตั้งเป้าหมายของการลงชุมชนในครั้งนี้ให้ตรงกัน ได้แก่

1. ค้นหาปัญหาของชุมชนเพิ่มเติมนอกจากข้อมูลที่ได้จากสถานีอนามัยและพี่ๆ อสม.
2. สามารถนำข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการจัด
ลำดับความสำคัญของปัญหา

ซึ่งพี่หนูก็ Ok คิดว่าน่าจะทำได้ และจะทำการนัดพี่ๆ อสม คนอื่นๆให้ด้วย เราจึงตกลงกันว่า พรุ่งนี้เราจะไปลงชุมชนกันจริงๆเสียที ตื่นเต้นจัง ^ ^ 


 

คำสำคัญ (Tags): #บ้านไร่#วางแผน
หมายเลขบันทึก: 305608เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2009 18:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 21:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

"make relationship ที่ดีกับชุมชน"

ชอบคำนี้จัง

มาถูกทางแล้ว

งานยังอยู่อีกเยอะ

ร่งมือหน่อยนะ

สู้ สู้ จ๊ะ

ได้อ่านกระบวนการทำงานของกลุ่มแล้ว น่าชื่นใจจัง

ขอให้ได้รับประสบการณ์ที่ดีในการลงชุมชนพรุ่งนี้นะคะ

จะได้รับฟังเสียงจากชุมชน ได้เห็นสภาพทั่วไปของชุมชนอย่างเต็มตาในทุกจังหวะที่เดิน

ระวังวันกลับมานำเสนอใส่ชุดนิสิตไม่ได้นะ

ขอบพระคุณสำหรับ comment นะคะ อ่านแล้วทุกๆคนรู้สึกมีกำลังใจมากๆเลย วันนี้สนุกมาก ได้เห็นชุมชนเต็มตาอย่างที่ อจ. บอกจริงๆค่ะ ^ ^

ปล.โชคดีด้วยค่ะ วันนี้อากาศดีมาก ฝนไม่ตกเลย (พอฝนไม่ตกก็ร้อนแบบสุดๆไปเลยค่ะ)

พรุ่งนี้เตรียมข้อมูลที่ได้มาคุยกันนะคะ พร้อมกับมะขามป้อม

เวลาในแต่ละวัน มันผ่านไปเร็วนะจ๊ะ

พยายามศึกษา และหาประสบการณ์กันให้มากๆ นะ

เอาใจช่วย...

we alway sometimes love to find weakness and problems.Somehow, the community problems usually solve by their own intelligents .

What is the community strange of this communities?

How they solve their problems?

What do you think about your role in this community (may be in the future that u granduate to be doctor their)?

I come to this blog by ajan temsak recommend.

sorry...What is the community strength of this communities?

น่าชื่นชมมากเลยนะครับ

  • ถูกต้องแล้วที่ลงสำรวจชุมชน เทียบกับ physical exam ชุมชน ย่นเวลาโดยมุ่งไปที่ affected part โดยใช้ข้อมูลจาก อสม เป็น history taking
  • รายงานข่าวละเอียดดี แม้กระทั่งอาหารเช้า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท