วัฒนธรรมโลงไม้ หรือโลงผีแมน


"ผีแมน" เป็นคำภาษาไทใหญ่ที่หมายถึง "โผล่ขึ้นมา"

หน้าหนาว  ปาย  ปางมะผ้า  เป็นสถานที่ซึ่งได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวชาวกรุง  แต่มีใครกี่คนที่สนใจอยากรู้ความหมายของสถานที่หรือสิ่งของที่ได้ท่านได้เห็น...

วัฒนธรรมโลงไม้  หรือ โลงผีแมน

 วัฒนธรรมโลงไม้”  คือ  ลักษณะเฉพาะของการปลงศพที่พบในพื้นที่สูงอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน  การปลงศพมีความโดดเด่นอยู่ตรงที่ประกอบด้วยโลงไม้ซึ่งมักจะทำจากไม้สักผ่าครึ่งและขุดส่วนกลางออก  ส่วนปลายทั้งสองด้านมีการแกะสลักเป็นรูปต่างๆ  ไม้ที่ผ่าครึ่งจะประกบกันเป็นคู่  และวางบนเสาไม้จำนวน 4-6 เสา  หรือวางไว้บนคานภายในถ้ำ  ซึ่งมักจะตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เกือบจะยอดของเทือกเขาหินปูนในภูมิประเทศแบบคาสต์   โบราณวัตถุที่พบร่วมกับโลงไม้  ได้แก่ชิ้นส่วนกระดูกคน   หม้อและเศษภาชนะดินเผาเนื้อดินรมควันลายเชือกทาบ  ลูกปัดแก้ว  เครื่องมือสำริด  และเครื่องมือเหล็ก

โลงผีแมน  เป็นคำพื้นเมืองที่ชาวบ้านท้องถิ่นเรียกโลงไม้ที่พบตามถ้ำต่างๆ ในอำเภอปางมะผ้า “ผีแมน” เป็นภาษาไทยใหญ่หมายถึง “ผีที่โผล่ขึ้นมา”

หมายเลขบันทึก: 306199เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2009 20:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2013 20:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น่าสนใจมากๆ ค่ะ โลงผีแมน ... เคยเพียงได้ยินเรื่อง ถ้ำผีแมน

คราวหน้าถ้าไปเยือนเมืองสามหมอก ต้องไปดู โลงผีแมนซะแล้วค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

ค่ะ ถ้ามีโอกาสก็แวะไปดูที่ถ้ำลางจันทร์ ใกล้โรงพยาบาลจะเห็นชัดหน่อย สิ่งที่เราเห็นคือความรู้เกี่ยวกับเรื่องของฮวงจุ้ย การเลือกพื้นที่ฝังศพ ความรู้เรื่องงานไม้ การเลือกไม้ทำโลง มีการกานไม้ให้ตายก่อนเป็นปีแล้วจึงตัดมาแกะสลักหัวโลง เมื่อเห็นเราแทบจะไม่เชื่อว่าโลงเหล่านี้อายุหลายพันปี นึกว่าเป็นโลงที่ทำขึ้นใหม่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท