รามเกียรติ์พม่า


รามเกียรติ์พม่า

สวัสดีครับ..

  เริ่มเปิดบล็อกใหม่ผมเลยขอถือโอกาสฉลองพื้นที่แห่งความรู้แห่งนี้ ด้วยการเล่าเรื่องรามเกิยรติ์ของพม่า ที่ผมบังเอิญได้อ่านพบในเอกสารของพม่า ก็เลยถือโอกาสเรียบเรียงมาอภินันทนาการให้แก่ทุกท่านที่สนใจในความสัมพันธ์ทางด้านศิลปวัฒนธรรมระหว่างไทยและพม่า กับประเทศเพื่อนบ้านในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้.ว่ามันมีอะไรหลายๆอย่างที่เชื่อมโยงกันอยู่ ก็หวังว่าประชาคมอุษาคเนย์ของเราจะเข้าใจกันและกันฉันท์มิตรมากขึ้นนะครับ.อย่างงั้นผมขอตั้งชื่อบทความสั้นของผมว่า

สังเขปรามเกียรติ์พม่า(๑) 

สิทธิพร เนตรนิยม

 ขอเล่าเรื่องเลยนะครับ

  ชาวพม่ารู้จักเรื่องราวของรามเกียรติ์ในนามว่า “ยามะซัตด่อ” ซึ่งแปลว่า "ชาติ คือกำเนิดเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ของพระราม" วรรณกรรมดังกล่าวในพม่าได้ปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่สมัยพุกาม และยังมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน ด้วยเหตุที่มีความสำคัญต่อศิลปวัฒนธรรมหลายๆแขนงของพม่าไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรม  ศิลปะ การดนตรี และการแสดง ซึ่งบางส่วนก็ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทย           ละตะเมง(๑๙๙๘:๑๒)ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์รามเกียรติพม่าได้กล่าวว่าในวัฒนธรรมพม่านั้นได้จัดแบ่งเรื่องราวของรามเกียรติ์ออกไว้เป็น ๓ ชนิด จากกำเนิดที่มาของเรื่อง ได้แก่

                ๑.ต้นเรื่องกำเนิดรามชาติจากชาดกในพุทธศาสนา เรื่อง “ทสรฐชาดก” ที่มี "รามโพธิสัตวิ์" ซึ่งพม่าเรียกว่า “อลองด่อยามะ” เป็นตัวเอก

                ๒. ต้นเรื่องกำเนิดรามชาติที่ได้รับการดัดแปลงเรื่องราวมาจากไทย และรามชาติของฤษีวาลมิกิจากอินเดีย อันมีแบบแผนชัดเจนซึ่งพม่าเรียกรามเกียรติ์ชนิดนี้ว่า “ปงด่อยามะ”  และ

                ๓. ต้นเรื่องรามชาติที่มาจากตำนานการนับถือเทพเจ้าในฝ่ายศาสนาพราหมณ์ วิษณุนิกาย ที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้าต่างๆ เช่น รามพิสสนุราม  พิสสณูราม ซึ่งพม่าเรียกรามเกียรติ์ชนิดนี้ว่า “ปชูยามะ”

                ในบรรดารามชาติทั้ง ๓ ชนิดนี้ รามชาติในหมวด ๒ และ ๓  นั้นความใกล้เคียงกันในส่วนของตัวบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งรามชาติในหมวดที่ ๒ นั้นได้รับการพัฒนาให้มีความโดดเด่นเป็นพิเศษทั้งในแง่ของวรรณศิลป์  ดนตรี และการแสดง

ภาพการแสดงหุ่นพม่าเรื่องรามเกียรติ์ ภาพโดย  Garrett Kam

    เอาละครับ ขอลองเล่าเรื่องรามเกียรติ์พม่าไว้เท่านี้ก่อนครับ แล้วบันทึกครั้งต่อไปผมจะนำรายละเอียดเรื่องราวของรามเกียรติ์ทั้ง ๓ ประเภทของพม่ามาเรียนเสนอให้ท่านผู้สนใจให้ได้พิจาณากันอีกนะครับ  สวัสดีครับ

เอกสารอ้างอิง : ๑. ละตะเมง,เมียนม่ารามยาณะ,๑๙๙๘ พิมพ์ครั้งที่ ๑ ย่างกุ้ง

                     ๒. orias.berkeley.edu/SEArama/imagelibrary.htm

 

หมายเลขบันทึก: 306324เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2009 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สรุปรามเกียรตินี่คงเป็นเรื่องที่แพร่หลาย

ในหลายประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี่เลยหรือเปล่านะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท