มาร่วมกัน..หาต้นเหตุของการเกิดภัยจากธรรมชาติกันเถอะ


มาร่วมกัน..หาต้นเหตุของการเกิดภัยธรรมชาติ

     เมื่อเดือนที่ผ่านมา หนูมานีเห็นข่าวหนังสือพิมพ์ที่ลงกันเกือบทุกฉบับเกี่ยวกับอุทกภัยดินถล่มทั่วโลก  ประเทศไทยเราก็โดนด้วยเห็นแล้วรู้สึกเศร้าใจ สงสารชาวบ้านที่โดนน้ำท่วมที่ต้องรีบขนข้าวขนของขึ้นบนที่สูง เฝ้ารอการช่วยเหลือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ส่วนใหญ่ข่าวออกมาให้เห็นถึงการช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐที่มีเหล่าทหารของเราพายเรือนำข้าวของเครื่องใช้หรือเรียกให้สวยหรูคือ “ถุงยังชีพ” ไปแจกจ่าย แต่เคยคิดย้อนในมุมกลับบ้างไหมว่า..ถุงยังชีพจะช่วยอะไรได้บ้าง? จะช่วยเขาที่อยู่ในสภาพน้ำท่วมไร่นาเสียหายได้สักกี่วัน เขาเจอคนที่ไปแจกของ(เพื่อเอาหน้า) แค่วันแรกที่ข่าวลงครึกโครมแล้วก็หายไปพร้อมกับสายน้ำที่แห้งเหือด  คนที่ไม่เคยเจอสภาพน้ำท่วมจะไม่เคยรู้เลย รู้แต่ว่าให้ของไปแล้วน่าจะพอ หรือไม่ก็ของบประมาณออกมาช่วยเหลือเพิ่มเติม 

     แต่หนูมานีอยากจะถามว่า..งบประมาณหลายร้อยล้านที่อนุมัติออกมา จะช่วยได้มากน้อยแค่ไหนกับการช่วยเหลือเป็นครั้งคราวแค่ไปบรรเทาทุกข์แก้ไขกันที่กลางเหตุ และปลายเหตุ  แต่ไม่เคยเหลียวไปมองที่ต้นเหตุกันเลย ซึ่งในหลายปีที่ผ่านมาพอเจออุทกภัยทีก็อนุมัติที (เหมือนแก้ผ้าเอาหน้ารอดไปวันๆ) ทำไมถึงไม่พยายามแก้ที่ต้นเหตุที่ทำให้เกิดเหตุร้าย หนูมานีพยายามจะทำความเข้าใจเองว่า ที่ไม่ได้แก้อาจจะไม่รู้ว่าต้นเหตุมันคืออะไร เลยแก้ไม่ถูกจุด หรืออีกนัยหนึ่งคือรู้(อยู่เต็มอก)ว่าต้นเหตุคืออะไรแต่ไม่ทำเพราะตอเยอะ..เลยสะดุดบ่อย..(นี่อาจจะเป็นเพราะรีบตัด..แต่ลืมถอนรากถอนโคน..เลยเหลือแต่ตอประจานคนทำ)

     หนูมานีค้นข้อมูลเจอแนวคิดหนึ่ง ที่ถ้าท่านๆ พิจารณาแล้วอาจจะโต้แย้งบ้าง แนะนำเพิ่มเติมบ้าง แต่อย่างน้อยหนูมานีก็เชื่อว่าแนวคิดนี้น่าจะถูกหยิบยกมาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ ไม่ใช่แค่อนุมัติงบประมาณเพื่อมาแก้ไขที่กลางหรือปลายเหตุ หรือเพื่อให้พวกเรือดไร หากำรี้กำไรกับสิ่งของบริจาคบรรเทาทุกข์ชาวบ้านที่เดือดร้อนจริงๆ   หนูมานีหยิบยกมาย่อหน้าหนึ่งจากแนวคิดทั้งหมด 11 แผ่นค่ะ

     “ในปัจจุบันเราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงจากภาวะอากาศและฤดูกาลเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดปัญหาอุทกภัย  ดินโคลนถล่มอย่างรุนแรง ติดตามด้วยภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำ   ภัยพิบัตินี้มีความรุนแรงและมีความถี่มากขึ้นเรื่อยๆ  แต่การบุกรุกแผ้วถางทรัพยากรป่าไม้และพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเหมือนเงาตามตัวโดยไม่มีทีท่าว่าจะหยุดยั้งได้  ในขณะที่การบริหารจัดการในการคุ้มครองป้องกันฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารยังไม่มีการบูรณาการทั้งระบบที่จะทำให้การแก้ปัญหาเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริง”

อ่านแนวคิด แผนยุทธศาสตร์การฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธารแห่งชาติเพิ่มเติม ได้ที่นี่ค่ะ 

หมายเลขบันทึก: 306547เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2009 14:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มันอาจเป็นวิวัฒนาการของโลก ที่ภาวะธรรมชาติต่างเสื่อมคุณภาพ ดิน หินทราย น้ำ ที่เป็นส่วนประกอบของโลกเริ่มผุกร่อน ประกอบกับการทำลายของมวลมนุษย์ ดังคำกล่าวที่ว่า "มนุษย์ทำลายธรรมชาติ สุดท้ายธรรมชาติจะทำลายมนุษย์" ครับ

ค่ะ..เหมือนอย่างที่คุณประสิทธิ์กล่าวไว้ค่ะ นั่นเป็นเพราะเราลงมือทำลายเขาก่อน ผลเลยย้อนกลับมาทำร้ายเรา เหมือนมุมเมอแรงที่ยิ่งขว้างแรงเท่าไหร่ก็จะยิ่งกลับมาเร็วเท่านั้น

ขอบคุณคะ

อย่างที่ทุกคนพูดนั่นแหละ

ใช่ค่ะ

แต่เมื่อไหร่เราจะเริ่มจะงอนิ้วชี้มาชี้ที่ตัวเราหล่ะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท