สรุปการปฐมนิเทศ และสาระ ประเด็นที่พึงพิจารณา


ที่ประชุมได้รับฟังคำชี้แจงเกี่ยวกับหลักสูตร การจัดการเรียนสอน การประมินผล การสนับสนุน การจัดองค์กรนักศึกษา ฯลฯ นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาแผนการสอนและการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอน และการจัดการ ซึ่งสรุปได้ดังนี้

ในรายวิชา Public Health Skill Development

  • ได้แจกแบบประเมินสมรรถนะตนเองในการแสดงบทบาทหน้าที่การสาธารณสุขที่สำคัญ (Essential Public Health Functions) ซึ่งจะใช้ประกอบกับกรอบแนวคิดและกระบวนทัศน์ด้านการสาธรณสุขใหม่ ที่นำเสนอ โดยการบรรยายและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ของนักศึกษา และ นพ. นิวัติ จี้กังวาฬ ซึ่งนักศึกษาสามารถนำมาเป็นกรอบในการประเมินสมรรถนะตนเองในแต่ละมิติ แบบประเมินตนเอง จึงเป็นเสมือนแบบเรียน (Learning Tool) เพื่อการเรียนรู้ด้วนตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การระบุความจำเป็นของสมรรถนะที่สำคัญ (Core Competencies) ในการทำหน้าที่บทบาทที่สำคัญของการสาธารณสุข (EPHFs)
  • จากข้อเสนอองค์ประกอบที่จำเป็นในการปฏิรูประบบการสาธารณสุขมูลฐาน ในรายงาน World Health Report 2008 ได้มีการแลกเปลี่ยนถึงขอบเขต ความจำเป็นและแนวทางการปฏิรูปในระดับการปฏิบัติ ตลอดจนความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทั้ง 4 ซึ่งในการวิเคราะห์องค์ประกอบที่จำเป็นต่อการปฏิรูปนั้น จะสามารถทำได้ชัดเจนขึ้น หากเราทำความเข้าใจในระบบสุขภาพชุมชน (Community Health System) ในพื้นที่ที่เรารับผิดชอบ
  • ได้มีการนำเสนอประเด็นด้านสุขภาพ (Health) สาธารณสุข ( Health) และ ประเด็นพิจารณาด้านสุขภาพประชากร (Population Health) เราได้ใช้เวลาในการอภิปรายนัยยะของคำว่า “สุขภาพ” ที่เป็น สถานะ (State) กับการมองสุขภาพในฐานะที่เป็นศักยภาพ (Capacity) และทรัพยาร (Resource) ซึ่งมีนัยยะที่แตกต่างกันและมีผลต่อการพัฒนาและการกำหนดยุทธศาสตร์พัฒนาที่แตกต่างกันด้วย ในอดีต สถานการณ์สุขภาพของประชากร ส่วนใหญ่มีผลมาจากปัญหาโรคติดเชื้อ (Infectious Diseases) ซึ่งเราต้องเร่งจำกัดขนาดของปัญหาให้น้อยลงให้มากที่สุด และด้วยเหตุที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ ที่มีประสิทธิผล (Effectiveness) และ ประสิทธิภาพ (Efficiency) ซึ่งนักวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขใช้เทคโนโลยีเป็นเสมือนกระสุนวิเศษ (Magic Bullet) ในการแก้ปัญหาและขับเคลื่อนการยกระดับสถานะทางสุขภาพของประชากร ในขณะที่ปัจจุบัน ประชากรส่วนใหญ่ เผชิญกับสถานการณ์ปัญหาสุขภาพ ที่มีลักษณะเป็น ทวิภาระโรค (Double Burden of Disease) ซึ่งแบบแผนปัญหาของโรค มีทั้งที่เป็นโรคติดเชื้อและโรคไม่ติดต่อ และสถานการณ์ของปัญหามีความซับซ้อนมากขึ้นตามสถานการณ์ของสังคมโลกาภิวัตน์ ทำให้การแก้ปัญหาสุขภาพโดยเน้นการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างเดียว ไม่อาจมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลดังเช่นในอดีต ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ป่วยหรือเป็นโรคแล้ว ก็อาจมีผลิตภาพ (Productivity) และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ด้วยดี หากสามารถดูแลตนเองอย่างเหมาะสม ดังนั้น มุมมองสุขภาพ จึงปรับปรับเปลี่ยนสู่ การมองสุขภาพในฐานะที่เป็นศักยภาพ (Capacity) หรือ ทรัพยากร (Resource) ซึ่งเป็นทุนมนุษย์ (Human Capital) ที่มีมาจากต้นกำเนิด (Innate) ที่ได้จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากบิดามารดา และสามารถได้มา (Acquired) จากกระบวนการเลี้ยงดูและการเพิ่มพูนตลอดช่วงชีวิต ซึ่งหากได้รับการดูแลเหมาะสม ก็จะสามารถดำรงตนอยู่ได้อย่างมีดุลยภาพในระบบนิเวศ แต่หากเลือกกินเลือกอยู่ไม่ถูกต้อง ก็เกิดภาวะเสี่ยงโรค และนำไปสู่ความเจ็บป่วย การตาย หรือความพิการ การที่จะเอื้อให้คนเราสามารถเลือกกิน เลือกอยู่ได้อย่างมีสุขภาวะ เราจึงต้องปรับมุมมอง “สุขภาพ เป็น ศักยภาพหรือทรัพยากร” มากกว่าการเป็น “สถานะ” และกระบวนการขับเคลื่อนในการสร้างเสริมศักยภาพของมนุษย์ จะต้องใช้ กระบวนการขับเคลื่อนโดยชุมชน (Community Driven) โดยมีคนเป็นศูนย์กลาง (People-centered)
  • การสาธารณสุขในปัจจุบัน ได้ปรับมุมมองจากการต่อสู้กับโรค (Disease) สู่การสร้างเสริมสุขภาพ (Well-being) และเน้นด้านสุขภาพประชากร (Population Health) ที่ให้ความสำคัญต่อประเด็นด้านความเป็นธรรมทางสุขภาพ (Equitable Health) มากขึ้น อะไรคือความเป็นธรรม เป็นเรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญมากขึ้น เพราะการที่คนเราจะมีความเป็นอยู่ที่ดีได้นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกิดขึ้นสองช่วง ปัจจัยแรกคือสิ่งที่ได้มาจากบรรพบุรุษนั้น คือพันธุกรรม (Heredity)และวัฒนธรรม (Culture) และอีกส่วนหนึ่งจะได้มาภายหลังจากการคลอด ซึ่งเป็นทุนมนุษย์ ที่ได้จากแสวงหา (Acquired) เช่นได้จากการขัดเกลา (Socialization) ได้จากการศึกษาทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ และได้จากประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตที่สั่งสม (Accumulation) ตลอดช่วงอายุที่เจริญวัยขึ้นถึงบั้นปลายชีวิต ซึ่งจะเป็นทั้งปัจจัยเสี่ยง (Risk factors) และปัจจัยปกป้อง (Protective Factors) ที่จะมีผลต่อความเป็นอยู่ที่ดี (Wellness) ความเจ็บป่วย (Sickness) และการเป็นโรค (Disease)
  • จะเห็นได้ว่า การที่คนเราจะมีโอกาสพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพเพื่อนำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีนั้น จึงขึ้นอยู่กับตำแหน่งแห่งหน ของตนในสังคม (Social Position) เพราะความแตกต่างในสถานะทางสังคม จะนำไปสู่ความแตกต่างในโอกาการสมผัสกับปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยปกป้องที่แตกต่างกัน และแน่นอนจะนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพของประชากรด้วย
  • คนเราจะมีโอกาสในการเคลื่อนย้ายทางสังคม (Social Mobility) ซึ่งหมายถึงการปรับเปลี่ยนสถานะทางสังคม แตกต่างกันไป เช่นจากการพัฒนาความก้าวหน้าของตนในอาชีพ ทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงจากฐานะคนทำงานกลางแจ้ง (Blue Collar) เป็นผู้ทำงานในสำนักงาน (White collar)  ดังนั้น กลุ่มที่อยู่ในตำแหน่งทางสังคมที่ด้อยโอกาสกว่า ก็ยากที่จะเคลื่อนย้ายอกจากตำแหน่งแห่งหนของตนในสังคมได้  ในสังคมที่มีช่องว่างระหว่างกลุ่มรายได้สูงกับกลุ่มรายได้ต่ำ (Income Gap) มีมาก ตำแหน่งแห่งหนของคนเหล่านนี้ ในสังคมแตกต่างกันมาก และสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงหรือปัจจัยปกป้องแตกต่างกันออกไป ในกลุ่มคนยากจน ก็ยังมีคนที่จนที่สุด (Poorest of the poor) ที่นอกจากจะยากจนมากแล้ว ด้วยเหตุที่ขาดโอกาสทางเศรษฐกิจ และโอกาสทางสังคม ทำให้ด้อยทั้งความรู้และสุขภาพ พวกนี้จึงเปรียบเสมือนตกอยู่ในกับดักของความยากจน (Poverty Trap) ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นลำดับต้น เพื่อให้เขาได้พ้นจากกับดักของความยากจน และสามารถสร้างโอกาสในการพัฒนาตน ให้เต็มศักยภาพ
  • มุมมองสุขภาพในฐานะที่เป็น “ศักยภาพและทรัพยากร” จึงเป็นมุมมองที่สำคัญ ของกระบวนทัศน์การพัฒนามนุษย์ (Human Development)
  • การพัฒนามนุษย์ หมายถึงกระบวนการการขยายทางเลือกของบุคคล ให้สามารถบรรลุศักยภาพความสามารถที่พึงมี เช่น ความมีเสรีภาพในการเลือกลีลาการดำเนินชีวิตที่เอื้อต่อสุขภาพ
  • และความยากจนของมนุษย์ (Human Poverty) หมายถึงการขาดหายจากปัจจัยที่พึงมีที่นำไปสู่การเสริมสร้างศักยภาพให้เต็มขีดความสามารถ เช่นการเช่น การเข้าถึงบริการสุขภาพในเชิงกายภาพ และปัจจัยที่พื้นฐานที่ร่วมที่พึงปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดการเข้าถึงบริการในเชิงสังคม (นั่นคือความยากจนของมนุษย์ ยังหมายรวมถึงการขาดหายปัจจัยที่เอให้เกิดการพัฒนาเต็มศักยภาพของมนุษย์ เช่น การไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพทั้งในเชิงกายภาพ เช่นอยู่ห่างไกล หรือปัจจัยร่วมที่ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพเนื่องจากปัจจัยเชิงสังคม ที่ต้องปรับเปลี่ยนเช่น การจัดสิ่งอำนวนความสะดวกเพื่อการประกอบศาสนากิจสำหรับผู้ป่วยมุสลิม และญาติ  ซึ่งต้องจัดให้เหมาะสม ตามความจำเป็น

 ลองอ่านกันดูนะครับ และช่วยแสดงความคิดเห็นด้วย

ชนินทร์

หมายเลขบันทึก: 307107เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2009 10:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

1.สุขภาพ=สุขภาวะ= ภาวะปกติสุข ของ รา่งกาย(ไม่บาดเจ็บ,ไม่มีโรค)+จิดใจ(ไม่เครียด,ไม่เศร้า)+สังคม(ครอบครัวมั่นคง,ชุมชนเข็มแข็ง,สิ่งแวดล้อมดี+ปัญญา(ความรู้,ทักษะ การดูแลสุขภาพตนเองและสังคม)

2.สุขภาพ จึงเกิดจาก

ความรู้และทักษะด้านสุขภาพ(บุคลลทั่วไป+บุคลกรสาธารสุข+ผู้ปกครองสังคมทั้งภาครัฐและเอกชน)

เทคโนโลยี่(ทางการแพทย์,ทางเภสัชกรรม,ทางการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค,การสื่อสาร)

ระบบการจัดการ(ท้องถิ่น,หน่วยบริการ,หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง)

นโยบาย(สร้างความรู้,สร้างเสริมสุขภาพ,สร้างบริการ,สร้าง โอกาศและปัจจัยเอื้อต่อสุขภาำพ,ลดสาเหตุ/ปัจจัยกระทบ ต่อสุขภาพ)

3. ทุกคนมีส่วนเกียวข้องและบทบาทสำคัญต่อการมีสุขภาวะ

จะทำอย่างไรให้ ทุกคน รู้และทำ บทบาทหน้าที่ของตัวเอง

เรา(บุคลากรสาธารณสุขระดับต่าง) รู้และเข้าใจ มีทักษะความสามารถ แค่ไหนอย่างไร

คำตอบสุดท้ายคือ.....

ประเด็นของ Human capital มีอยู่แล้วในทุกคน ผมว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต คนบางกลุ่มได้ ที่มีตัวอย่างเห็นได้ชัด เช่น ผู้พิการ บางคนต้อง นอนอยู่กับบ้านรอการดูแลจากญาติๆ บางคนออกขอทาน ขณะที่บางคนทำมาหาเลี้ยงตัวเองได้ และบางคนถึงขนาดได้รับการยกย่องให้เป็น หัวหน้าของคนซึ่งร่างกายปกติ เช่นผู้พิการที่อยู่ในอำเภอผมคนนึงแกทำงานก่อสร้างปีนเสา ปีนตึกได้เท่าคนปกติ แต่ที่แกมีมากกว่าคนอื่นคือเป็นคนซื่อสัตย์ไม่เอาเปรียบคนจึงถูกยกย่องให้เป็นหัวหน้า มีหน้าที่ไปรับงานก่อสร้างตามหมู่บ้านแล้วมาแบ่งให้ลูกน้องซึ่งเป็นคนร่างกายปกติ แต่ผมว่ายังไงมันก็เสี่ยงกว่าคนปกติอยู่นั่นแหละ เลยขอร้องให้แกเลิกทำงานในที่สูงที่มันเสี่ยง ซึ่งแกก็ยังไม่ยอม สุดท้ายก็เลยชวนแกมาทำงานในโรงพยาบาล ให้ทำงานเป็นช่างซ่อมรถเข็น อุปกรณ์ของผู้พิการ ผมว่าแกเป็น ยิ่งกว่าซุปเปอร์แมน

ส่วนประเด็นHuman poverty ผมว่าหาคนไทยได้นำวิธีคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ผมว่าจะช่วยได้เยอะเลยและเป็นไปได้จริงๆด้วย แต่ที่เป็นปัญหาทุกวันนี้คือ การพอเพียงแบบครึ่งๆกลางๆ(ภาษาอีสานเรียกว่า พอกะเทิน)คือเวลาทำงานก็ทำน้อย ซึ่งไม่ได้หมายถึงขี้เกียจเพียงอย่างเดียว บางคนขยันแต่ก็ไม่รู้จะทำอะไรก็เลยเกิด productivityน้อย แต่พอเวลาจะใช้จ่ายก็อยากจะมีเหมือนกับคนอื่น ยิ่งเจอช่วงที่ผ่านมามีนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจ แปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน(หนี้) ยิ่งไปกันใหญ่ บางที่ก็ไปได้ดีบางที่ ก็กู่ไม่กลับ กลายเป็นหนี้ซ้ำซาก ไม่ทราบว่าจะใช้คำ poverty trap ได้หรือเปล่าครับ แต่เอาเถอะบางคนมีเงินถึง7หมื่นล้านก็ยังจนอยู่ ก็มีให้เห็นเพราะไม่เข้าใจคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง แต่ระยะหลังกลับมีการหากินกับคำว่าพอเพียง เลยมีวลีว่า โกงแบบพอเพียงให้เห็นอีก อนิจจา..

. " คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

• คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้

• ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

• ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

• การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

• เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

• เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

• เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต "

(ข้อมูลส่วนหลัง จาก คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง)

สิ่งที่รู้สึกในฐานะของผู้บริหาร CUP คือ การเพิ่มสมรรถนะในเชิงบริหาร เดิมเป็นการแก้ปัญหา รายบุคคล(Individual Approach) ก็เป็นเพียงแค่การ Fix and go ภาระการจัดการสุขภาพเป็นภาคผู้ให้บริการเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาแนวคิดในการจัดการดูแลสุขภาพในมิติใหม่ ที่เน้นการสร้างนำการซ่อม ซึ่งน่าจะยังเร็วไปสำหรับการเปลี่ยนแปลงในภาคประชาชน เหมือนการกลับหลังหันทันทีทันใด ผู้บริหาร CUP ส่วนใหญ่ก็ปรับตัวไม่ทัน การพัฒนาทักษะในการดูแลสุขภาพในชุมชนเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการบรรลุเป้าหมายในการดูแลสุขภาพ ในชุมชน จะพยายามแลกเปลี่ยนและพัฒนาทักษะร่วมกับเพื่อน ๆ และอาจารย์ครับ

กสิวัฒน์

-ถ้ามองสุขภาพ ใน มุม ของ ศักยภาพและทรัพยากร = ความสามารถในการดูแลตนเอง(ความรู้และทักษะในการเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงหรือสร้างปัจจัยปกป้อง)+โอกาสการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม

-อุปสรรคใหญ่ ของสุขภาพดีในมุมมองนี้ น่าจะเป็น

1.การศึกษา(ความสามารถในการเรียนรู้และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร)-->ทำให้ขาดศักยภาพ

2.เศรษฐกิฐ(รวมถึง ลักษณะงาน,ความมั่นคงในอาชีพ,รายได้)-->ไม่สามารถพัฒนาศักยภาพและเสียโอกาสเข้าถึงบริการ

3.การกระจายของสถานบริการคุณภาพ --> เสียโอกาสเข้าถึงบริการ

-ระบบสุขภาพของสังคมไทยปัจจุบัน

1. มีระบบประกันสุขภาพ(UC+ประกันสังคม+สวัสดิการราชการ) ได้ให้โอกาสการเข้าถึงบริการอย่างทั่วถึง ช่วยแก้ปัญหาการเข้าถึงบริการสุขภาพที่ไม่เท่าเทียมได้มาก ถือเป็นจุดแข็งที่สำคัญ แต่ก็ยังมี ปัญหาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ ของ กลุ่มผู้ยากจน ขาดคนดูแล (เช่น ส่งต่อ รพ.จังหวัด ไม่มีเงิน ไม่มีคนพาหรือ ไม่สามารถลางานได้จนอาการหนัก)

2. มีระบบการพัฒนา คุณภาพสถานบริการ และปัจจัยเอื้อหรือกระแสกดดัน อย่างต่อเนือง ถึงแม้จะยังไม่สามารถพูดได้ว่ามีสถานบริการคุณภาพอย่างทั่วถึง แต่ต้องยอมรับว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดผลในทางที่ดีมาก และมีโอกาสดีขึนอย่างต่อเนื่อง

3. เริ่ม ให้ความสำคัญกับ การสร้างเสริมสุขภาพ และกิจกรรมเชิงรุกเพื่อการป้องกันโรคมากขึ้น แต่ตรงนี้ ยังไม่ลงถึงการพัฒนาความรู้และการเรียนรู้ อย่างเป็นระบบ ยังต้องพึงพา สถารบริการและเป็นการรับบริการมากกว่า (เช่นโครงการตรวจสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของสปสช)

4. เริ่ม พัฒนาบริการปฐมภูมิ ซึงถือเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญทีจะ ช่วยให้เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพอย่างเป้นระบบได้ สามารถดูแลต่อเนื่องได้อย่างใกล้ชิด และสามารถพัฒนาศักยภาพ ความสามารถในการดูแลตนเอง การดูแลซึงกันและกันของชุมชน

- ข้อ 1และ 2 มีระบบและทิศทางที่จัดเจน พวกเราช่วยกันสนับสนุน พัฒนาและแก้ปัญหาในกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นเสาหลักของระบบสุขภาพที่มั่นคง

-ข้อ 3และข้อ 4 แม้ทิศทางจะค่อนข้างชัด แต่แนวทางยังแกว่งมาก และยังขาดความพร้อมในเกือบทุกพื้นที่ จึงเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมให้มาก(สนับสนุน สปสช.ลงทุนแบบนี้อย่างต่อเนื่อง) จนกว่าจะตกผลึกได้แนวทางที่จัด ผู้ปฏิบัติตามไม่สับสน ไม่เช่นนั้น ถึงแม้ทรัพยากร(งบประมาณและบุคลากร)พร้อม ก็ไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์(สุขภาพดี)ที่ถูกต้องได้ เช่น รพ.สต.ที่กำลัง implement ในปัจจุบันนี้ ภาพรวมพวกเรามั่นใจแค่ไหน....? ในมือเรา เราจะช่วยได้มากแค่ไหน... ?

หมอเอก

เรียน อ.ชนินทร์ ที่เคารพ

ผมมองว่า“สุขภาพ” ที่เป็น สถานะ (State) กับการมองสุขภาพในฐานะที่เป็นศักยภาพ (Capacity) และทรัพยากร (Resource) มีนัยยะที่แตกต่างกันและมีผลต่อการพัฒนาและการกำหนดยุทธศาสตร์พัฒนาที่แตกต่างกันด้วย เพราะถ้ามองว่า“สุขภาพ” เป็น สถานะ (State)ย่อมมองแต่เพียงว่าเราจะทำให้สุขภาพดีขึ้นได้อย่างไร เป็นการมองภาพแค่ภาพเดียว หรือแค่จุดเดียว แต่ถ้ามองสุขภาพในฐานะที่เป็นศักยภาพ (Capacity) และทรัพยากร (Resource) จะเป็นการมองแบบหลายมิติ จะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น จะมองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่มีพลังในตัวเอง มีความสามารถในการพัฒนาหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัจเจกบุคคลหรือในเชิงสังคมก็ตาม และยิ่งถ้ามองสุขภาพเป็นทรัพยากรด้วยแล้ว คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า สามารถพัฒนาได้ สามารถทำให้มีสุขภาพดีขึ้นมาได้ การมองเช่นนี้ น่าจะทำให้ภาพของสุขภาพชัดเจนขึ้นและสมบูรณ์ขึ้นครับ

นพ.สุพัฒน์ ธาตุเพชร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท